Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/about.php | ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย รวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์มาสรุปสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยา โดยมีการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่เรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตัวเอง เทียบเคียงกับชื่อเรียกโดยคนอื่น และเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น |
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | http://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ | ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งถิ่นฐาน สภาพภายในหมู่บ้าน ลักษณะบ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ โดยใช้ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่คนในใช้เรียกตัวเองหรือต้องการให้สังคมเรียกในชื่อนี้ รวมถึงการค้นคว้าเนื้อหาที่แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สาธารณะมีความรับรู้และเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น |
ศูนย์จีนศึกษา (Chinese Studies Center) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ไม่ระบุไ | ไม่ระบุ | http://www.ias.chula.ac.th/ias/th/Chinese-Studies-Center.php http://www.csc.ias.chula.ac.th/ | ศูนย์จีนศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับจีนในลักษณะสหสาขาวิชา ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม วัฒนธรรมและภาษา รมทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชาวจีนโพ้นทะเล โดยมุ่งหวังเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ สร้างฐานข้อมูลและองค์ความรู้เรื่องจีนศึกษาที่มีคุณภาพเป็นบริการให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนินความสัมพันธืกับจีนในระดับต่างๆ และเพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านจีนศึกษากับนักวิชาการทั่วโลก |
|
"เต้าหมิง" โรงเรียนจีนแห่งเมืองตะกั่วป่า | อภิญญา นนท์นาท | ไม่ระบุ | วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 44, ฉบับที่ 2 (เม.ย./มิ.ย. 2561), หน้า 54-66 | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068791 | โรงเรียนจีนเป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เป็นสถานที่หล่อหลอมและส่งเสริมอัตลักษณ์ให้แก่ลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเลให้มีความผูกพันกับแผ่นดินแม่และไม่ลืมวัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษ นอกจากนั้นยังมีการสอนภาษาจีน การบัญชี และความรู้ต่างๆ เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนมีทักษะในการประกอบกิจการค้าขาย ช่วยเหลืองานของครอบครัวได้ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาถือเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีผู้อพยพชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนฮกเกี้ยน มีโรงเรียน “เต้าหมิง” เป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกในอำเภอ โดยปรากฎหลักฐานในแบบแจ้งความจำนงตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2463 การก่อตั้งโรงเรียนจีนในชุมชนดังกล่าวจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต บทบาททางเศรษฐกิจและสังคมของชาวจีนที่อยู่ในสังคม ผู้เขียนได้ค้นคว้าข้อมูลทั้งที่เป็นเอกสาร ภาพถ่าย และคำบอกเล่าเกี่ยวกับโรงเรียนเต้าหมิง เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในอำเภอตะกั่วป่าในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน |
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้...ถึงคนจีนเซี่ยงไฮ้ในกรุงเทพฯ | สุดารา สุจฉายา | ไม่ระบุ | สารคดี. ปีที่ 30, ฉบับที่ 354 (ส.ค. 2557), หน้า 148-149 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00088245 | บทความนี้เขียนโดยผู้แต่งที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนเซี่ยงไฮ้ เขียนในรูปแบบเรื่องเล่าจากประสบการณ์ชีวิตส่วนตัวและจากการสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใน “ตรอกเซี่ยงไฮ้” ซึ่งเป็นชุมชนเก่าในกรุงเทพฯ ที่ชาวจีนเซี่ยงไฮ้เคยอยู่อาศัย ชาวจีนเซี่ยงไฮ้ที่อพยพมายังประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกมาจากตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นปัญญาชนที่มีการศึกษาเดินทางมาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ส่วนอีกกลุ่มมาจากเมืองหลินโป ส่วนใหญ่มีฝีมือในการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในตรอกเซี่ยงไฮ้นั่นเอง ผู้เขียนยังได้บรรยายเกี่ยวกับอาหารเซี่ยงไฮ้ดั้งเดิมซึ่งอาจไม่คุ้นตาคนไทยในปัจจุบันมากนัก และได้ทิ้งท้ายเกี่ยวกับชาวจีนเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบันว่ามีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์กันไปมากแล้ว ที่เป็นชาวจีนเซี่ยงไฮ้แท้ๆ ก็มีเพียงกลุ่มที่เพิ่งอพยพย้ายถิ่นเข้ามาใหม่นั่นเอง |
Belonging to the nation: generational change, identity and the Chinese diaspora | Gregor Benton and Edmund Terence Gomez | ไม่ระบุ | Ethnic and racial studies. vol. 37, no. 7 (Jun. 2014), p.1157-1171 | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063475 | บทความนี้ศึกษาพัฒนาการของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และเอกลักษณ์ประจำชาติในกลุ่มทายาทผู้อพยพชาวจีน โดยมีการตั้งคำถามถึงการที่ชนกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติ ดังที่จะเห็นได้จากอัตราการเกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวจีนซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยกับชนส่วนใหญ่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งๆ ที่ทั่วโลกต่างมีการถกเถียงในประเด็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การถูกกีดกัน และสิทธิพลเมืองของชาวจีนพลัดถิ่นมาโดยตลอด |
กรุงเทพฯ/สำเพ็ง : หนึ่งเมืองสองนครา เชื้อชาติ สถาปัตยกรรม และชาตินิยมในกรุงเทพฯ ต้นศตวรรษที่ 20 | ลอเรณศ์ ฉั่ว | ไม่ระบุ | อ่าน. ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ก.ค.-ธ.ค. 2556), หน้า 154-173 | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063814 | บทความเรื่องนี้ถูกนำเสนอในงานสัมมนา “การเมืองของการวิจารณ์ในเมืองไทย : ศิลปะและวารสารอ่าน” (The politics of criticism in Thailand : Arts and Aan”) จัดโดยโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนล ในปี พ.ศ.2555 ผู้เขียนซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและการพัฒนาชุมชนเมือง ได้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมกรุงเทพฯ สมัยต้นศตวรรษที่ 20 ที่ถูกทำให้เหมือนกับว่ามีเมืองสองเมืองซ้อนกัน คือเมืองของชาวจีนอพยพในย่านสำเพ็ง และเมืองของคนไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านเหตุกาณ์สำคัญที่เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวจีนและรัฐไทย การสร้างถนนตัดใหม่ที่มีผลกระทบต่อชุมชนชาวจีนในสำเพ็ง การใช้สถาปัตยกรรมเพื่อแบ่งแยกและแสดงความแตกต่างทางเชื้อชาติ และแนวคิดชาตินิยมของรัฐไทยในสมัยนั้น |
กิจการเหมืองแร่ของชาวจีนในมณฑลภูเก็ต พ.ศ. 2400-2474 | พวงทิพย์ เกียรติสหกุล | ไม่ระบุ | วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 19, ฉบับที่ 1-2 (2539-2540), หน้า 71-91 | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00061437 | บทความนี้ปรับปรุงมาจากส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของชาวจีนและชาวตะวันตกต่อกิจการเหมืองแร่ดีบุกของมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 – พ.ศ.2474” การทำเหมืองแร่ดีบุกนับเป็นกิจการที่สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณเมืองฝั่งทะเลตะวันตกหรือที่เรียกว่ามณฑลภูเก็ตในขณะนั้น ซึ่งการทำเหมืองส่วนมากในยุคแรกล้วนแต่เป็นของผู้ว่าราชการเมือง บทบาทของชาวจีนในกิจการเหมืองแร่ก็เริ่มจากการเป็นผู้ใช้แรงงาน จากนั้นจึงพัฒนามาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ว่าราชการเมือง และเป็นผู้ประกอบการในที่สุด |
ศาลเจ้าและวัดจีนในกรุงเทพฯ | พรพรรณ จันทโรนานนท์ | ไม่ระบุ | รวมบทความประวัติศาสตร์. ฉบับที่ 8 (ก.พ. 2529), หน้า 195-216 | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065349 | บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาของชาวจีนโพ้นทะเลในกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นเรื่องของวัดจีนและศาลเจ้า เริ่มตั้งแต่เหตุแห่งการสร้างศาลเจ้าและความสำคัญของศาลเจ้าที่มีต่อชุมชนทั้งในประเทศจีนและในเมืองไทย โดยจะเห็นได้ว่าศาลเจ้ามีบทบาทต่อชุมชนทั้งด้านสังคม การศึกษา และการบันเทิง สิ่งที่น่าสนใจอีกประการในบทความนี้คือมีการให้รายละเอียดลักษณะทางสถาปัตยกรรมจีนซึ่งเป็นแบบอย่างสำคัญต่อการสร้างศาสนสถาน รวมทั้งมีประวัติศาลเจ้าเก่าแก่ของชาวจีนแต่ละภาษาในกรุงเทพฯ อีกด้วย |
ตัวตนคนแต้จิ๋ว | เสี่ยวจิว | กรุงเทพฯ : มติชน, 2554 | DS570.จ6ส75 2554 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073540 | หนังสือเล่มนี้แต่งโดยนักเขียนชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วที่มีความสนใจในรากเหง้าของตนเอง มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลของชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทย และลงพื้นที่ภาคสนามในเมืองแต้จิ๋ว ประเทศจีน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน อีกทั้งยังใช้ประสบการณ์ชีวิตของตนเองมาผสมผสานและถ่ายทอดเรื่องราวของชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน วิถีปฏิบัติที่ชาวแต้จิ๋วมีต่อบรรพชน ความเชื่อเรื่องเทพเจ้า รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บ่งบอกถึงตัวตนของคนแต้จิ๋วได้เป็นอย่างดี |
ตำนานลูกหลานมังกรในแผ่นดินสยาม | กิตติ โล่ห์เพชรัตน์ | กรุงเทพฯ : ลูกบาศก์ห้าสิบสี่, 2560 | DS570.จ6 ก632 2560 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095212 | หนังสือเล่มนี้บอกเล่าประวัติความเป็นมาของชาวจีนที่อพยพเข้ามายังประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยเรียงร้อยเข้ากับเรื่องราวของพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีต่อชาวจีน และบางพระองค์ก็ทรงมีเชื้อสายมาจากชาวจีนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของชุมชนชาวจีนในประเทศไทยที่สำคัญได้แก่สำเพ็ง และเยาวราช ซึ่งทั้งสองชุมชนนี้ถือเป็นแหล่งประวัติศาสตร์และย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยมาจนถึงปัจจุบัน ชาวจีนขึ้นชื่อว่าเป็นเชื้อชาติที่ไม่ว่าจะอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ที่ใด ก็จะยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อทางศาสนาไว้ได้อย่างมั่นคง มีการจัดตั้งสมาคม มูลนิธิ ศาสนสถาน รวมทั้งโรงเรียน เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีจีนให้ได้ส่งต่อไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ดังที่จะปรากฎรายละเอียดในช่วงท้ายของหนังสือเล่มนี้ |
สำเพ็ง : ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพฯ | สุภางค์ จันทวานิช | กรุงเทพฯ : ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | DS570.จ6 ส63 2559 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091594 | นังสือรวมบทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับย่านชุมชนเก่าที่ชาวจีนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.2325 ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “สำเพ็ง” ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนใหม่ผ่านสำเพ็งในช่วงปี พ.ศ.2435-2443 ได้มีการพระราชทานชื่อถนนใหม่นี้ว่า “เยาวราช” ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นหูทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในปัจจุบัน นอกจากเรื่องประวัติความเป็นมาของย่านสำเพ็ง ชาวจีน และชาวไทยเชื้อสายจีนแล้ว หนังสือยังได้กล่าวถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ในย่านนี้ทั้งที่เป็นศาสนสถาน โรงเรียน และร้านค้าที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังมีการเพิ่มบทความใหม่เมื่อครั้งตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 อีก 1 บทความชื่อว่า “ชวนชิมในเยาวราช” ซึ่งรวมร้านอาหารอร่อยที่มีชื่อเสียงและเปิดขายมาอย่างยาวนานในย่านเยาวราชนี้เอง |
ศิลปกรรมรัตนโกสินทร์และภาพสะท้อนความเชื่อของชาวจีนโพ้นทะเล ใน การบรรยายวิชาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน เรื่อง "ศิลปกรรมรัต | อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2558 | Audio Visual Materials SAC 000800 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00088963 | ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์ทางการค้าและความสัมพันธ์ทางการฑูตที่สืบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และยังมีหลักฐานความสัมพันธ์ทางศิลปกรรมที่ยาวนานกว่า 2,000 ปี ในการบรรยายทางวิชาการนี้ ผู้บรรยายมุ่งประเด็นด้านความสัมพันธ์ทางศิลปกรรมระหว่างสองประเทศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สะท้อนวัฒนธรรมของชาวจีนแต่ละกลุ่ม ได้แก่ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ไหหลำ แคะ และกวางตุ้ง ตัวอย่างเช่น ศาลเจ้า ที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นศิลปกรรมของชาวจีนในท้องถิ่นใด รวมทั้งวัดพุทธมหายาน และวัดพุทธเถรวาท ที่มีสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมที่สะท้อนถึงอิทธิพลของชาวจีนหลากหลายกลุ่มที่เข้ามายังประเทศไทย |
เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ | ถาวร สิกขโกศล | กรุงเทพฯ : มติชน, 2557 | DS721.ถ65 2557 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00082016 | บทความในหนังสือ “เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้” ส่วนหนึ่งมาจากบทความที่ได้ตีพิมพ์ลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรมในปี พ.ศ.2549 เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารทั้งไทยและจีนมากกว่า 50 เล่ม และได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมกิจกรรมในเทศกาลสำคัญหลายเทศกาลร่วมกับญาติมิตรที่เมืองแต้จิ๋ว ประเทศจีน จนได้นำความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นจากการศึกษาและประสบการณ์นี้เขียนเรื่องราวเทศกาลจีนที่น่าสนใจมากกว่า 20 เทศกาล ซึ่งเทศกาลทั้งหลายอาจมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่นหรือยุคสมัย ไม่มีข้อกำหนดความถูกผิดที่ชัดเจนแน่นอน |
บันทึกเจริญไชย : คนจีนสยาม | เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ และศิริณี อุรุนานนท์ | กรุงเทพฯ : กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเจริญไชย, 2556 | DS570.จ6บ63 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081088 | หนังสือเล่มนี้บอกเล่าประวัติศาสตร์ของย่านเจริญไชย ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนในกรุงเทพมหานครที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ในบทที่หนึ่งกล่าวถึงประวัติและการเปลี่ยนแปลงของสังคมชาวจีนในประเทศไทยในภาพรวม ขณะที่บทที่สองเน้นเรื่องคุณค่าของย่านเจริญไชยในมิติต่างๆ และความพยายามที่จะต่อสู้กับการพัฒนาสังคมเมืองที่ไม่เป็นธรรมต่อชุมชน บทที่สามเป็นการนำเสนอประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษของแต่ละครอบครัวในชุมชน โดยเฉพาะด้านการประกอบอาชีพทำกระดาษไหว้เจ้าที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งมีเฉพาะในย่านเจริญไชยเท่านั้น บทสุดท้ายเป็นเสียงสะท้อนจากบุคคลภายนอกชุมชนที่เคยได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตและคุณค่าของย่านเจริญไชย ความสำคัญอีกประการของหนังสือเล่มนี้คือการมีส่วนร่วมของคนเจริญไชยในกระบวนการทำงานผลิตหนังสือ ทั้งในขั้นตอนการวางโครงร่างเนื้อหา การสัมภาษณ์สมาชิกชุมชน การเขียน การถ่ายภาพ ตลอดจนการหาเงินทุนเพื่อตีพิมพ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพิเศษและความเข้มแข็งของชุมชนในย่านเจริญไชยอย่างแท้จริง |
ที่เรียกว่าแต้จิ๋ว | เสี่ยวจิว | กรุงเทพฯ : มติชน, 2556 | DS570.จ6ส85 2556 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078408 | หนังสือ “ที่เรียกว่า แต้จิ๋ว” ฉบับนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและรวบรวมข้อมูลที่ได้รับอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความชำนาญเรื่องจีนแต้จิ๋ว มาเรียงร้อยและขยายความให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย มีจุดเด่นที่มีการเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันเป็นคำภาษาจีนที่มีความหมายสอดคล้องกับเนื้อหาในตอนนั้นๆ ช่วงต้นของหนังสือกล่าวถึงลักษณะวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อน และการลงทุนทางการเงินในหมู่เพื่อนฝูงของชาวแต้จิ๋ว ต่อมากล่าวถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว คำสอน มารยาทและวิถีปฏิบัติบางอย่างที่ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น ในช่วงสุดท้ายเป็นเรื่องของการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีแบบแต้จิ๋วทั้งในแง่การแสดงพื้นบ้านและกิจกรรมทางศาสนา |
กบฏจีนจน : บนถนนพลับพลาไชย | สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ | กรุงเทพฯ : มติชน, 2556 | DS570.จ6ส735 2555 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078408 | ความรู้เกี่ยวกับชาวจีนในสังคมไทยโดยมากจะอยู่ในกรอบวิธีคิดที่ว่า คนจีนอพยพหนีความยากลำบากมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทำมาค้าขายจนสามารถยกฐานะตนเอง จนกระทั่งมีลูกหลานและตั้งรกรากถาวรอยู่ในประเทศไทย กรอบความคิดเช่นนี้ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากงานเขียนเกี่ยวกับชาวจีนชิ้นสำคัญของ จี. วิลเลียม สกินเนอร์ เรื่อง “สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์” แต่ผู้เขียนเห็นว่าแท้จริงแล้วเรื่องราวของสังคมชาวจีนในแผ่นดินไทยยังมีข้อสังเกตที่แตกต่างและน่าสนใจอีกมาก จึงได้ศึกษาชีวิตของชาวจีนระดับล่างในช่วงทศวรรษ 2500-2510 ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลื่อนฐานะทางสังคมจากชาวจีนเสื่อผืนหมอนใบไปสู่การเป็นเจ้าสัวได้ อีกทั้งช่วงเวลานี้ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์จีนในประเทศไทยในหลายๆ ด้าน จนมาถึงจุดที่เกิดเหตุการณ์ “จลาจลพลับพลาไชย พ.ศ.2517” ในที่สุด |
ต้นตำนานลูกหลานจีนในสยาม | กิตติ โล่ห์เพชรัตน์ | กรุงเทพฯ : ก้าวแรก, 2554 | DS570.จ6ก63 2554 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078808 | หนังสือเล่มนี้บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยให้ความสำคัญกับพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีต่อคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเสมอมา นอกจากนี้ยังมีประวัติของคนจีนทีมีบทบาทสำคัญในประเทศไทย ย่านชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนซึ่งได้แก่สำเพ็งและเยาวราชที่ขึ้นชื่อว่าเป็นไชน่าทาวน์เมืองไทย เป็นชุมชนที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย |
แต้จิ๋ว : จีนกลุ่มน้อยที่ยิ่งใหญ่ | ถาวร สิกขโกศล | กรุงเทพฯ : มติชน, 2554 | DS570.จ6ถ64 2554 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073568 | หนังสือ “แต้จิ๋ว : จีนกลุ่มน้อยที่ยิ่งใหญ่” ปรับปรุงจากบทความที่ผู้เขียนเคยตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม โดยปรับให้สั้นและไม่เป็นวิชาการมากเกินไป ผู้เขียนได้บรรยายถึงชาวจีนแต้จิ๋วในแง่ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในประเทศจีน แต่กลับมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก เนื่องด้วยเป็นชนชาติที่มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาปราดเปรื่องเป็นอย่างมาก และยังมีจำนวนประชากรมากที่สุดในบรรดาชาวจีนทุกกลุ่มในประเทศไทย ภายในหนังสือเล่มนี้นำเสนออัตลักษณ์ของชาวจีนแต้จิ๋ว ทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและสังคม รวมทั้งระบบเครือญาติและภาษาของชาวจีนแต้จิ๋วที่เขียนไว้อย่างละเอียดอีกด้วย |
ศาลเจ้าศาลจีนในกรุงเทพฯ | กุลศิริ อรุณภาคย์ | นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2553 | BF1472.ท9ก74 2553 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071379 | หนังสือรวมศาลเจ้าจีนในกรุงเทพฯ เล่มนี้เล่าเรื่องศาลเจ้าจีนที่สำคัญในกรุงเทพฯ ทั้งหมด 9 แห่ง โดยเท้าความตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของชาวจีนในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย โดยจำแนกกลุ่มชาวจีนออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ แต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน และไหลำ จากนั้นบรรยายถึงความเชื่อและศาสนาของชาวจีน ไปจนถึงรายชื่อศาลเจ้าเก่าแก่ในกรุงเทพฯ มีการแนะนำประวัติการก่อตั้งศาลเจ้า เทพเจ้าองค์สำคัญ สถาปัตยกรรม ตลอดจนพิธีทางศาสนาที่นิยมจัดขึ้นที่ศาลเจ้านั้นๆ |
60 ปีโพ้นทะเล | อู๋จี้เยียะ | กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊กส, 2553 | DS511.อ72 2553 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070118 | อู๋จี้เยียะเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวจีนระดับแนวหน้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสงครามเย็น เจ้าของงานเขียนที่เกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลอันโด่งดังชื่อ “ชีวิตโพ้นทะเล 50 ปี” ในส่วนของหนังสือฉบับนี้เป็นการรวบรวมบทความที่ผู้เขียนได้เขียนและตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ “ซินจงหยวน” ในปีค.ศ.1982 เป็นการถ่ายทอดความทรงจำช่วงศตวรรษที่ 20 ของผู้เขียนที่ได้สัมผัสกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนและชาวจีนโพ้นทะเลในตะวันออกเฉียงใต้ตลอดช่วงทศวรรษนี้ รวมทั้งได้บอกเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากประสบการณ์อันคร่ำหวอดที่จะหาอ่านไม่ได้ในตำราประวัติศาสตร์ทั่วไป |
คนจีนในภูเก็ต | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, 2552 | Audio Visual Materials CDF 000302 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069027 | สารคดี “คนจีนในภูเก็ต” เป็นตอนหนึ่งในสารคดีชุดคนจีนของรายการพันแสงรุ้ง ที่ออกอากาศผ่านช่องโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเมื่อปีพ.ศ.2554 โดยเริ่มเรื่องราวที่พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกของภูเก็ต ปัจจุบันเป็นแหล่งค้นคว้าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวจีนภูเก็ตที่สำคัญ จากบันทึกของนักเดินเรือชาวตะวันตกในสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวไว้ว่าภูเก็ตเป็นเมืองที่มีแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก ในปีพ.ศ.2407 ชาวจีนจากปีนังและจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางเข้ามาสู่มณฑลภูเก็ตมากถึงราว 8,000 คน ทั้ง เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนเกือบ 6,000 คน ส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อทำงานเหมืองแร่ ก่อนที่ธุรกิจเหมืองจะปิดฉากลงหลังปีพ.ศ. 2530 ชาวจีนที่อพยพเข้ามาภูเก็ตอีกส่วนหนึ่งประกอบอาชีพค้าขายและทำประมง ปัจจุบันยังมีชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนที่ยังคงทำประมงพื้นบ้านปรากฎให้เห็นไม่มากที่ชุมชนบางเหนียว จากนั้นสารคดีได้พาผู้ชมไปรู้จักถนนถลางซึ่งเป็นย่านการค้าที่คึกคักและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูเก็ต มีทั้งร้านค้าที่เป็นของชาวมุสลิม ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และยังมีโบสถ์เก่าของศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ให้เห็นอีกด้วย |
คนจีนแคะในสยาม | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, 2552 | Audio Visual Materials CDF 000483 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069027 | สารคดี “คนจีนแคะในสยาม” ถ่ายทอดเรื่องราวของชาวจีนแคะหรือจีนฮากกา ที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวจีนแคะส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อใช้แรงงานฝีมือ เช่น ช่างเย็บผ้าและช่างทำรองเท้า อีกส่วนหนึ่งก็เป็นช่างเครื่อง นักเขียน หรือครูอาจารย์ เนื่องจากตั้งแต่เริ่มย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร ชาวจีนแคะนิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและยึดถือการปฏิบัติตนตามธรรมเนียมประเพณีจีน ดังนั้นผู้จัดทำสารดีจึงได้เริ่มต้นค้นหาร่องรอยของชาวจีนแคะจากศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยวซึ่งเป็นศาลเจ้าที่ก่อตั้งโดยชาวจีนฮากกา และเป็นที่ตั้งแห่งแรกของสมาคมจีนฮากกาแห่งประเทศไทย รวมทั้งโรงเรียนจีนที่อยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนั้นยังได้เดินทางไปยังศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสัมภาษณ์อาจารย์ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “คือฮากกา คือจีนแคะ” เพื่อสอบถามข้อมูลความเป็นมาของชาวจีนแคะในประเทศไทย |
บ๊เบ๊ ความเปลี่ยนแปลงของระบบครอบครัวชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนกับประวัติศาสตร์ | บุญยง ชื่นสุวิมล | กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | DS570.จ6บ73 2551 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070362 | หนังสือนี้มาจากโครงการวิจัยชื่อ “สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร : ระบบครอบครัวและความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนโบ๊เบ๊” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว ความเชื่อ ศาสนา การแต่งงาน การอบรมสั่งสอน การศึกษา การสืบมรดก และระบบแซ่ ของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนโบ๊เบ๊ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบมานุษยวิทยา โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาครอบครัวในชุมชนโบ๊หลายครอบครัวเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจน ผู้เขียนคาดหวังว่างานวิจัยนี้จะต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสถาบันครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวและชุมชนในสังคมไทยได้ต่อไป |
พิธีกรรมและความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา จากอดีตถึงปัจจุบัน | ศุภการ สิริไพศาล และอภิเชษฐ กาญจนดิฐ | สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2550 | Research and Thesis DS568.ต9ศ74 2550 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060775 | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยก่อนรัตนโกสินทร์ เดิมทีมีการสร้างสังคมและคงเอกลักษณ์ของตนตามแบบอย่างบรรพบุรุษ โดยดำเนินไปพร้อมกับการเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น จนถึงยุคที่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคมลุ่มทะเลสาบสงขลา เมื่อประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 ปีพ.ศ.2504 พื้นที่บริเวณหาดใหญ่และสงขลาได้ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าของภาคใต้ มีการพัฒนาพื้นที่ภายใต้ระบบทุนนิยม ชุมชนเมืองขยายตัวอย่างกว้างขวาง มีการสร้างโรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ล้วนดำเนินการร่วมกับเครือข่ายชาวไทยเชื้อสายจีนแทบทั้งสิ้น ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจมีการขยายตัวเป็นอย่างมาก ขนบธรรมเนียมและประเพณีแบบจีนก็ได้มีการปรับเปลี่ยน ผสมผสานไปกับความเชื่อและประเพณีท้องถิ่น พิธีกรรมหรือกิจกรรมทางศาสนาที่จัดขึ้นในปัจจุบัน บางครั้งก็ไม่อาจแยกได้ชัดเจนว่าเป็นกิจกรรมของคนไทยหรือคนจีน อันเนื่องมาจากการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมระหว่างกันมาอย่างยาวนานนั่นเอง |
จีนหาดใหญ่ : ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม | ศุภการ สิริไพศาล | สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2550 | DS570.จ6ศ742 2550 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059144 | หนังสือวิชาการฉบับนี้ปรับปรุงเนื้อหามาจากงานวิจัยเรื่อง “ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนชาวจีนเมืองหาดใหญ่จากอดีตถึงปัจจุบัน” เพื่อนำเสนอสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ช่วงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อรับเหมาสัมปทานสร้างทางรถไฟเชื่อมเส้นทางการค้าระหว่างสยามและอาณานิคมมลายูของอังกฤษ จนกระทั่งเมื่อหาดใหญ่กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคใต้ ก็มีกลุ่มชาวจีนอพยพเข้ามาเพื่อประกอบธุรกิจการค้ามากขึ้น แม้จะต้องประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยที่มีนโยบายกีดกันทางการค้าและลดบทบาทชาวจีนตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและจอมพลป. พิบูลสงคราม แต่สถานการณ์ก็ได้คลี่คลายและทำให้ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนยังคงมีบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญในบริเวณอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลามาจนถึงปัจจุบัน ในตอนท้ายเล่ม ผู้แต่งได้บรรยายสภาพทางภูมิศาสตร์และสังคมของเมืองหาดใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าชาวไทยเชื้อสายจีนสามารถผสานตัวเองให้เข้ากับสังคม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี |
วิถีจีน-ไทยในสังคมสยาม | แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย | กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2550 | DS570.จ6ส82 2550 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00051846 | หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้สื่อความเข้าใจในวิชาความสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย-จีน ที่ผู้เขียนได้สอนแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ทฤษฎีทางวิชาการเพื่อให้มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ช่วงต้นของหนังสือแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และภูมิหลังของชาวจีนที่เข้ามาในประเทศไทย ต่อมาได้กล่าวถึงการผสมผสาน การหลอมรวมทางศิลปวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทยดังที่ปรากฎให้เห็นตามศาสนสถาน หรือเครื่องใช้ในครัวเรือนที่พบเห็นได้ทั่วไป นอกจากเรื่องความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันแล้ว เมื่อชาวจีนมีการขยายอิทธิพลทางสังคมและเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นก็ย่อมเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนชาวจีนและสังคมไทยตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีแก้ปัญหาที่ไทยได้นำมาใช้ในยุคนั้น ในส่วนท้ายของเล่มกล่าวถึงชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน และองค์กรชาวจีนที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมไทย |
จากฮวงโหสู่เจ้าพระยา | ประภัสสร เสวิกุล | กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง, 2548 | DS575.5.จ6ป46 2548 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00051165 | หนังสือเล่มนี้ดำเนินงานโดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงานวิจัย หนังสือ และแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ รวมทั้งมีการศึกษาจากสถานที่จริงทั้งในประเทศไทยและในประเทศจีน เพื่อสะท้อนให้เห็นความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและชาวจีน การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในประเทศไทย การผสมกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีน ที่ทำให้คนไทยและคนจีนอยู่ร่วมกันได้ด้วยดี และยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ไทยมีต่อชาวจีน ซึ่งแตกต่างจากชนชาติอื่นที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย เช่น การที่ชาวจีนได้ถูกจัดให้เป็นกลุ่มคนนอกระบบไพร่ คือได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เล่าถึงประวัติของชาวจีนกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย ได้แก่ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง ไหหลำ และแคะ ไว้อย่างน่าสนใจ ในบทท้ายของเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-จีน และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มุ่งมันเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือบันทึกการเดินทางเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศจีนไว้ถึง 10 เล่ม |
จีนโพ้นทะเลสมัยใหม่ | ภูวดล ทรงประเสริฐ | กรุงเทพฯ : บริษัท แบรนด์เอจ, 2547 | DS523.4.จ63ภ74 2547 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044109 | งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์พัฒนาการด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งถือเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจนเป็นจุดหักเหสำคัญของประวัติศาสตร์จีนโพ้นทะเลร่วมสมัย ผู้เขียนซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านจีนโพ้นทะเลศึกษาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีทั้งในฐานะผู้วิจัยและอาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชานี้ได้พยายามเสนอองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ ของชาวจีนโพ้นทะเลรวมทั้งลูกหลานชาวจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสะท้อนให้เห็นปฏิสัมพันธ์และปัญหาของชาวจีนในแต่ละประเทศ ตลอดจนสถานภาพและบทบาทของผู้มีเชื้อสายจีนที่มีต่อสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก |
กิจกรรมทางการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (ค.ศ. 1906-1939) | เซี่ยกวง | กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | DS570.จ6ซ82 2546 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00039591 | ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาจัดให้มีการเขียนและตีพิมพ์หนังสือฉบับนี้เพื่อเผยให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองของคนจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย ช่วงทศวรรษ 1906-1939 หนังสือฉบับนี้เขียนโดยนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวจีนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้อมูลเกี่ยวกับชาวจีนในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาแง่การเมืองเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติในจีนจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ จากระบอบสาธารณรัฐเป็นคอมมิวนิสต์ และขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 |
The overseas Chinese :ลอดลายมังกรโพ้นทะเล | ภูวดล ทรงประเสริฐ | กรุงเทพฯ : Thaicoon Book, 2545 | DS570.จ6ภ75 2545 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00048301 | หนังสือรวมบทความนี้เขียนโดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านชาวจีนโพ้นทะเล ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าในประเด็นนี้มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 ปี อย่างไรก็ตามบทความต่างๆ ที่เขียนขึ้นก็เพื่อตีพิมพ์ในนิตยสารจึงมีลักษณะสั้นกระชับ ดังนั้นเมื่อมีการรวมเล่มเป็นหนังสือผู้เขียนจึงได้เพิ่มเชิงอรรถและบรรณานุกรมให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าในบางประเด็นให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ดินแดนแถบเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ในยุคที่ชาวตะวันตกออกล่าอาณานิคมเพื่อช่วงชิงเครื่องเทศตั้งแต่หลังคริสต์ศตวรรษที่ 8 จนเป็นผลให้มีการนำเข้าแรงงานจากจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อเป็นแรงงานในภาคเกษตรและกิจการอื่นๆ ของประเทศเจ้าอาณานิคม ต่อมาชาวจีนพ้นทะเลจึงเริ่มตั้งถิ่นฐานตามประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อใช้แรงงาน หรือประกอบธุรกิจจนปลายทศวรรษ 1970 ก็มีการระดมทุนจากชาวจีนโพ้นทะเลเพื่อนำกลับไปใช้ในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย |
สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก | พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร | กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544 | DS570.จ6 พ64 2544 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00029504 | “สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก” ฉบับนี้เล่าเรื่องราวของ “เจ๊ก” หรือชาวจีนที่ตั้งรกรากในกรุงเทพมหานครหรือเมืองบางกอกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า “เจ๊ก” ในที่นี้ไม่ได้มีความหมายเชิงเหยียดหยามดูแคลนแต่เป็นเพียงชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์จีนที่นิยมใช้กันเท่านั้น ผู้เขียนในฐานะที่เป็นลูกหลานชาวจีนในกรุงเทพฯ มีความชื่นชอบในการถ่ายภาพศาสนสถานแบบจีนจนเกิดเป็นความสนใจใคร่รู้ และต้องการที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ สังคม ชุมชนของชาวจีนในอดีตให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการศึกษาประวัติของบุคคลและชุมชนที่มีส่วนในการสร้างศาสนสถานต่างๆ ในเมืองบางกอก ตลอดจนชาวจีนที่มีความสำคัญด้านอื่นๆ ในประวัติศาสตร์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังได้รวบรวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยและภาพถ่ายประกอบเนื้อหามานำเสนอได้อย่างน่าอ่าน |
จากอาสำถึงหยำฉ่า : ตำนานคนกวางตุ้งกรุงสยาม | ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง | กรุงเทพฯ : ร้านนายอินทร์, 2543 | DS570.จ6ย75 2543 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00023817 | หนังสือสารคดีเล่มนี้เล่าเรื่องราวของคนจีนกวางตุ้งซึ่งถือได้ว่าเป็นคนจีนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยเน้นไปที่การประกอบอาชีพต่างๆ ทั้งช่างฝีมือ พ่อครัว อาสำซึ่งหมายถึงคนรับใช้ตามบ้าน และหยำฉ่าซึ่งก็คือหญิงโสเภณีนั่นเอง ถึงแม้คนจีนกวางตุ้งในประเทศไทยจะมีจำนวนไม่มากเท่าคนจีนแต้จิ๋วแต่ก็พอจะมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพและสามารถสร้างชื่อเสียงทางธุรกิจให้ตนเองได้ เรื่องราวของชาวจีนกวางตุ้งและชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งในหนังสือสารคดีนี้ ผู้เขียนได้ใช้ข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารทางประวัติศาสตร์และประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะที่เป็นลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีน มาเล่าสู่กันฟังด้วยสำนวนโวหารที่น่าสนใจชวนอ่าน |
ชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยและในภูมิลำเนาเดิมที่เฉาซันสมัยที่สอง ท่าเรือซ่านโถว (พ.ศ.2403-2492 หรือ ค.ศ.1860-1949) | วรศักดิ์ มหัทธโนบล และสุภางค์ จันทวานิช | กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | DS570.C5ช65 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00007808 | รายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยช่วงปีพ.ศ. 2403 ซึ่งประเทศจีนได้เริ่มเปิดเมืองท่าใหญ่เพื่อการค้าเสรี จนถึงช่วงเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีพ.ศ. 2492 เนื้อหาในรายงานการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกพูดถึงการอยพยพย้ายถิ่นของชาวจีนไปยังต่างประเทศ สาเหตุของการอพยพและบทบาททางเศรษฐกิจของชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทย ส่วนที่สองเน้นเรื่องผลกระทบจากการหลั่งไหลเข้ามาของชาวจีนแต้จิ๋วที่มีต่อสังคมไทย รวมทั้งอิทธิพลของสังคมไทยที่มีต่อผู้อพยพ และในส่วนสุดท้ายเป็นชีวประวัติของชาวจีนแต้จิ๋วในหลากหลายยุคสมัย ผู้เป็นต้นตระกูลที่เป็นที่รู้จักอย่างดีในประเทศไทย |
เจ๊กศักดินา | กฤช สมบัติศิริ | กรุงเทพฯ : แก้วประกาย, 2529 | DS570.จ6ก425 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038512 | หนังสือเรื่อง “เจ๊กศักดินา” มีจุดเริ่มต้นมาจากเกร็ดชีวิตของตัวผู้เขียนเอง เนื่องจากผู้เขียนเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนที่รับราชการและมีครอบครัวที่ประกอบอาชีพค้าขาย จึงสามารถวิเคระห์ข้อมูลและเปรียบเทียบเรื่องราวของชาวไทยเชื้อสายจีนได้ทั้งในเชิงวัฒนธรรมและเชิงเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี บทเริ่มต้นของหนังสือกล่าวถึงต้นกำเนิดของชาวจีนในประเทศไทย ที่มีการติดต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางการค้ามากกว่าการรบพุ่งเหมือนดังชนชาติอื่นๆ และได้มีการอธิบายนิยามของคำว่า “เจ๊ก” ว่าเป็นคำที่คนไทยใช้เรียกคนจีนที่ประกอบอาชีพรับจ้างใช้แรงงาน หรือขายของตามท้องถนน ซึ่งมีความหมายในเชิงลบ ส่วนคำว่า “ศักดินา” ก็หมายถึงระบบศักดินาที่ใช้กับบรรดาขุนนางและข้าราชการของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คำว่า “เจ๊กศักดินา” จึงหมายถึงกลุ่มคนจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนที่มีการปรับเปลี่ยนจากการประกอบอาชีพค้าขายมารับตำแหน่งทางราชการ และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างมาก |
ชาวจีนในประเทศไทย | ขจัดภัย บุรุษพัฒน์ และคนอื่นๆ | [กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2517] | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012753 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012753 | หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความเกี่ยวกับชาวจีนในประเทศไทยโดยผู้เขียนหลายท่าน โดยเริ่มจากการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของชาวจีนในประเทศไทยที่ส่วนใหญ่อพยพมาจากตอนใต้ของจีน ซึ่งในระยะแรกเป็นการเดินทางมาด้วยจุดประสงค์ด้านการค้า และการแสวงหาที่ทำกิน ต่อมาในช่วงปีพ.ศ.1822 เมื่อสิ้นราชวงศ์ซ้องภาคใต้ ก็ได้ปรากฎว่ามีกลุ่มชาวจีนจำนวนมากอพยพมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลทางการเมืองอีกด้วย ถึงแม้ว่าชาวจีนส่วนใหญ่ที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยจะมุ่งเน้นด้านการทำมาค้าขายเป็นหลัก แต่บางช่วงเวลาก็สร้างผลกระทบต่อการเมืองและสังคมไทยได้เช่นกัน เช่นการจัดตั้งสมาคมลับเพื่อดำเนินการในเรื่องที่ขัดต่อกฎหมายเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2390 ซึ่งต่อมาได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ในช่วงท้ายของเล่มได้กล่าวถึงการจัดตั้งโรงเรียนจีนหลายแห่ง เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมจีนให้ลูกหลาน ดังจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าชาวจีนจะอพยพไปอยู่ที่ใดก็จะยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไว้ได้อย่างเข้มแข็ง |
บทบาทชาวจีนในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | พลกูล อังกินันทนท์ | [กรุงเทพฯ] : แผนกวิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร, 2515 | DS570.จ6พ42 2515 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016253 | ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ได้เขียนเรื่องราวของชาวจีนในแง่ของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การศึกษา และการเมือง ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฎว่ามีการรวมกลุ่มเป็นสมาคมลับอั้งยี่ โดยเดิมทีตั้งขึ้นเพื่อปกป้องชาวจีนจากการถูกข่มเหงรังแก ต่อมาได้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนรวมทั้งมีการดำเนินกิจการที่ขัดต่อกฎหมายของไทย เช่น การค้าฝิ่น การเรี่ยไรเงินค่าคุ้มครอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปีพ.ศ.2453 ซึ่งนับเป็นช่วงท้ายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจีนในกรุงเทพฯ ได้มีการนัดหยุดงานครั้งใหญ่ สร้างความตื่นตระหนกและความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจการหลายอย่างที่อยู่ในความครอบครองของชาวจีนได้หยุดชะงักไป ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ด้วยหวังว่าผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะสามารถนำแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดในอดีต มาใช้เป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน |
50 years of the Chinese community in Singapore | Pang Cheng Lian | New Jersey : World Scientific, [2016] | DS610.25.C5 A14 2016 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093445 | หนังสือชุดฉลอง 50 ปีประเทศสิงคโปร์เล่มนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน เนื้อหาส่วนแรกกล่าวถึงองค์กรทางการค้าของชาวจีนในประเทศสิงคโปร์ และการดำเนินงานตลอด 5 ทศวรรษที่ผ่านมา เนื้อหาส่วนที่สองเป็นเรื่องของชุมชนส่วนหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกับชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์ในช่วง 50 ปีแรก โดยรวมถึงวิวัฒนาการของภาษาจีน การผสานเข้ากับกลุ่มผู้อพยพใหม่จากประเทศจีน และอิทธิพลทางศาสนาของชาวจีน ส่วนที่สามเป็นการตามรอยพัฒนาการของศิลปะวัฒนธรรมจีนที่ยังคงได้รับการสืบสานในประเทศสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน ตัวอักษรภาษาจีน ศิลปะการแสดง และดนตรี ในส่วนสุดท้ายของเล่มมุ่งประเด็นไปที่ปฏิสัมพันธ์ของชุมชนชาวจีนกับประเทศสิงคโปร์ และประเทศสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางของชุมชนชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
A history of the Thai Chinese | Jeffery Sng and Pimpraphai Bisalputra | Singapore : Editions Didier Millet, 2015 | DS570.C5P56 2015 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00088245 | ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชาวจีนอพยพมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีการแต่งงานกับสตรีชาวไทยจึงเกิดเป็นครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้เขียนเริ่มช่วงต้นของหนังสือด้วยการลำดับประวัติของราชวงค์จีนและราชอาณาจักรไทย รวมทั้งนำเสนอแผนที่เส้นทางการค้าจากประเทศจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย จากนั้นเป็นเรื่องของชาวไทยเชื้อสายจีนตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีความรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก และประเทศจีนก็ยังเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยในยุคนั้น ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ชาวจีนได้อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมหาศาลและมีอิทธิพลในแทบทุกกิจการของไทย หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการธนาคารโดยได้รับความร่วมมือจากชาวไทยเชื้อสายจีนที่ก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นนำของประเทศ ในยุคปัจจุบันครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมากเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีชื่อเสียง ในขณะที่บางคนเข้ามาทำงานการเมืองและมีบทบาทสำคัญในการบริหารประเทศ |
Great Peranakans : fifty remarkable lives | Alan Chong | Singapore : Asian Civilisations Museum, [2015] | DS610.25.P47G74 2015 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087612 | เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่จัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตของชาวเปรานากันหรือที่ในเมืองไทยเรียกว่าบาบ๋า-ย่าหยา จำนวน 50 คน ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ในอดีต โดยมีบุคคลสำคัญทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ บุคคลในแวดวงวรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรม และสตรีที่มีบทบาทน่าสนใจแต่ไม่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์มากนัก นิทรรศการนี้จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เปอรานากัน ประเทศสิงคโปร์เมื่อปีพ.ศ.2558 ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีประเทศสิงคโปร์ |
Diaspora at war : the Chinese of Singapore between empire and nation, 1937-1945 | Ernest Koh | Leiden; Boston : Brill, 2013 | DS610.25.C5K64 2013 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087549 | หากพูดถึงการเขียนเกี่ยวกับช่วงสงครามในอดีตของสิงคโปร์นั้น โดยมากก็จะหนีไม่พ้นเรื่องการรุกรานและเข้ายึดครองเกาะสิงคโปร์ของประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนจะทำให้เห็นภาพของยุคสงครามที่กว้างออกไปทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และขอบเขตด้านเวลา ทั้งในเรื่องสงครามจีน-ญี่ปุ่นและชาวจีนพลัดถิ่นในดินแดนมลายู ด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากประวัติศาสตร์บอกเล่าและเอกสารจดหมายเหตุจำนวนมาก ผู้เขียนได้ค้นพบมิติใหม่ของความจริงทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนและอยู่ภายใต้ประวัติศาสตร์แห่งชาติที่ไม่ได้รับการเปิดเผย |
'Window's of the Phuket Baba wedding | Pranee Sakulpipatana | Phuket : Thai Peranakan Association, 2010 | DS595.2.C5 P73 2010 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095486 | บาบ๋า-ย่าหยาคือกลุ่มคนรุ่นลูกรุ่นหลานของชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากประเทศจีนและแต่งงานกับคนพื้นเมืองในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และภูเก็ต หากเป็นผู้ชายจะเรียกว่าบาบ่า และหากเป็นผู้หญิงจะเรียกว่าย่าหยา ขณะที่ในประเทศสิงคโปร์จะเรียกลูกหลานชาวจีนกลุ่มนี้ว่าเปอรานากัน ในประเทศไทยปรากฎว่ามีการเรียกทั้ง 2 แบบแต่ก็นิยมเรียกว่าบาบ๋า-ย่าหยาเสียมากกว่า หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมภาพถ่ายพิธีแต่งงานของชาวบาบ๋า-ย่าหยาในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งงานแต่งงงานถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของครอบครัวบาบ๋า-ย่าหยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นชาวบาบ๋า-ย่าหยาจึงให้ความสำคัญกับพิธีแต่งงานและบันทึกภาพถ่ายไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีแต่งงาน ทั้งในเรื่องของพิธีการ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และอาหารที่ใช้จัดเลี้ยงในงานเฉลิมฉลอง รวมทั้งความพยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีแต่งงานแบบบาบ๋า-ย่าหยาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมและกระแสความนิยมแบบยุโรปสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น |
The Chinese Émigrés of Thailand in the twentieth century | Disaphol Chansiri | Youngstown, N.Y. : Cambria Press, c2008 | DS570.C5C43 2008 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072805 | หนังสือเล่มนี้พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของผู้เขียน ที่ได้ศึกษานโยบายท้องถิ่นของไทยที่มีผลกระทบกับชาวจีนในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และนโยบายการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ที่รัฐบาลไทยมีต่อชาวจีนอพยพ หนังสือเล่มนี้ยังได้วิเคราะห์ข้อถกเถียงของ G.William Skinner รวมทั้ง Chan Kwok Bun และ Tong Chee Kiong ในประเด็นเกี่ยวกับการผสมกลมกลืนของชาวจีนอพยพกับสัมคมไทย ซึ่งผู้เขียนสนับสนุนทฤษฎีของ Skinner ที่ว่าลูกหลานชาวจีนอพยพโดยมากในแต่ละรุ่นนั้น จะมีการผสานกลืนเข้ากับผู้คนและสังคมท้องถิ่นของไทย จนไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้ในที่สุด ทฤษฎีนี้ขัดกับข้อสมมุติฐานของ Chan และ Tong ซึ่งยืนยันว่าชาวจีนในประเทศไทยจะสามารถรักษาอัตลักษณ์ของตนเองเอาไว้ได้โดยไม่ถูกกลืนกินไปบทบาทชาวจีนในประเทศไทย |
Sampheng : Bangkok's Chinatown inside out | Edward Van Roy | Bangkok : Chinese Studies Center, Institute of Asian | DS570.C5R69 2007 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00051971 | หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อต้องการอธิบายภาพของไชน่าทาวน์แห่งกรุงเทพมหานครให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวต่างชาติ เพื่อให้เข้าใจถึงวิถีชีวิต พิธีกรรม และความเชื่อของชาวจีนในย่านนี้ว่าไม่ได้เป็นเพียงชุมชนผู้อพยพที่มีวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนเองเท่านั้น แต่ยังมีปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวให้เข้ากับผู้คนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ก่อน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมพื้นที่สำเพ็งและถนนโดยรอบ มีการกล่าวถึงความเป็นอยู่ สถานที่สำคัญ ลักษณะการค้าขายหรือการประกอบอาชีพของคนในย่านนั้นไว้อย่างครบถ้วน |
Chinese overseas : migration, research and documentation | Tan Chee-Beng, Colin Storey, Julia Zimmerman | Hong Kong : Chinese University Press, c2007 | DS732.I564 2007 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00066113 | หนังสือเล่มนี้นำเสนอบทความที่คัดเลือกจากการประชุมนานาชาติ ในประเด็นศึกษาเรื่องชาวจีนโพ้นทะเลในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกาเหนือ รวมทั้งแอฟริกาใต้และประเทศคิวบา เป็นความพยายามในการทำงานร่วมกันของนักวิชาการและบรรณารักษ์ในการพิเคราะห์ข้อมูลโดยการค้นคว้าและเรียบเรียงจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารจดหมายเหตุ และข้อมูลต่างๆ ในห้องสมุด นอกจากนี้ยังนำเสนอเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อการบริหารที่ใช้ในการบริหารจัดการงานวิจัย สิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้อง การอนุรักษ์และเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการวิจัย โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากสถาบันวิจัยต่างๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการทำวิจัยเป็นอย่างมาก |
Beyond Chinatown : new Chinese migration and the global expansion of China | Mette Thun | Copenhagen : NIAS ;Abingdon : Marston [distributor], 2007 | DS732.B49 2007 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057362 | บทความในหนังสือเล่มนี้เป็นเนื้อหาจากการประชุม International Society of Chinese Overseas (ISSCO) ครั้งที่ 5 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในปีพ.ศ.2547 ที่มีการอภิปรายเปรียบเทียบสถานภาพของชาวจีนอพยพทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและในอดีต ช่วงต้นของหนังสือกล่าวถึงลักษณะเฉพาะของชาวจีนโพ้นทะเลที่มีความแตกต่างจากผู้อพยพกลุ่มอื่นๆ ต่อมาได้กล่าวถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อประเทศเจ้าบ้านที่ผู้อพยพชาวจีนอยู่อาศัย และในช่วงท้ายเป็นประเด็นการขยายตัวของผู้อพยพชาวจีนในประเทศต่างๆ การอยู่อาศัยร่วมกันกับประชากรพื้นเมืองของประเทศ ตลอดจนการรักษาอัตลักษณ์ของชาวจีนท่ามกลางกระแสโลกพหุวัฒนธรรม โดยมีการรวบรวมทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ใหม่ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ |
From the Yellow River to the Chao Phraya River | Prapassorn Sevikul | Bangkok, Thailand : Kasikornbank Ltd., 2005 | DS575.5.C5P73 2005 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044985 | หนังสือ “From the Yellow River to the Chao Phraya River” จัดพิมพ์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงมีคุณูปการต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา 2 เมษายน 2548 มีฉบับที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยชื่อว่า “จากฮวงโหสู่เจ้าพระยา” ข้อมูลภายในหนังสือฉบับนี้รวบรวมมาจากหนังสือ เอกสารวิจัย แหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ รวมทั้งการลงพื้นที่ภาคสนามทั้งในประเทศไทยและประเทศจีนของทีมผู้เขียน เนื้อหาภายในเล่มครอบคลุมเรื่องราวพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน วิถีชีวิต ศิลปกรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อที่ได้รับการสืบสานและถ่ายทอดจากแผ่นดินแม่จนถึงชาวจีนในประเทศไทย ซึ่งล้วนมีบทบาทต่อความสำเร็จในการดำรงอยู่ร่วมกันของชาวไทยและชาวจีน |
Chinese overseas : comparative cultural issues | Tan Chee-Beng | Hong Kong : Hong Kong University Press , c2004 | DS539.C5T36 2004 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072541 | ในหนังสือเรื่องชาวจีนโพ้นทะเลเล่มนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบชาวจีนในประเทศมาเลเซีย กับสังคมชาวจีนในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และฝั่งตะวันตก และตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความเหมือน ความแตกต่าง ความพยายามที่จะสืบสานวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลเวลา ซึ่งความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับชุมชนดั้งเดิมถือเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ชาวจีนพลัดถิ่นสามารถเข้าไปอยู่อาศัยในประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ |
Rites of belonging : memory, modernity, and identity in a Malaysian Chinese community | Jean DeBernardi | Stanford, Calif. : Stanford University Press, 2004 | DS595.2.C5D43 2004 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071957 | หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกให้ความสนใจเหตุการณ์สำคัญระหว่างชาวจีนและอังกฤษที่เกิดขึ้นในรัฐอาณานิคมปีนัง ประเทศมาเลเซีย ผู้แต่งได้วิเคราะห์เหตุการณ์ความขัดแย้งและการจราจลที่วัดกวนยิน เมืองจอร์จทาวน์ ในปีค.ศ.1857 ซึ่งนำไปสู่การปราบปรามกลุ่มภราดรภาพที่เป็นสมาคมลับของชาวจีน ด้วยข้อหาทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมายของสหราชอาณาจักรผู้เป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย เนื้อหาส่วนที่สองเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและนโยบายการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวจีนที่มีการปรับเปลี่ยน ผสมผสานไปกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมตะวันตกไปบ้างในยุคสมัยใหม่ของรัฐอาณานิคมปีนัง |
Ethnic relations and nation-building in Southeast Asia : the case of the ethnic Chinese | Leo Suryadinata | Singapore : Singapore Society of Asian Studies : Institute of Southeast Asian Studies, 2004 | DS523.4.C45E84 2004 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040800 | หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์เรื่องราวความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติของกลุ่มชาติพันธุ์จีน ที่มีบทบาทต่อการสร้างชาติในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นการรวมกลุ่มกันของนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้เชี่ยวชาญด้านชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน มาร่วมกันพิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นสำคัญๆ ได้แก่ การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ การสร้างชาติ นโยบายรัฐ และการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ โดยนำเสนอจากหลากหลายมุมมองทางชาติพันธุ์ที่แต่ละคนได้ศึกษามาอย่างยาวนาน นั่นทำให้หนังสือเล่มนี้มีความแตกต่างและน่าสนใจเป็นอย่างมาก |
Don't leave home : migration and the Chinese | Wang Gungwu | DS732.W3462 2001 | Stanford, Calif. : Stanford University Press, 2004 | DS732.W3462 2001 | หนังสือรวมบทความนี้เป็นหนังสือลำดับที่ 1 จากจำนวน 4 เล่มของหนังสือชุด “China and Chinese diaspora” เป็นการรวบรวมบทความเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลของผู้เขียนที่ตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์วิชาการต่างๆ ช่วงทศวรรษ 1990 เนื้อหาโดยรวมของหนังสือกล่าวถึงการอพยพย้ายถิ่นของชาวจีนกว่า 25 ล้านคนไปยังประเทศต่างๆ ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเน้นพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพิเศษ แต่ถึงกระนั้นก็มีการกล่าวถึงชาวจีนที่ไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นของทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือด้วยเช่นกัน ในช่วงท้ายเล่มเป็นการสรุปเรื่องชาวจีนโพ้นทะเลศึกษา ทั้งในด้านประวัติและแนวโน้มในอนาคตของการศึกษาเนื้อหาประเด็นนี้ |
Education, identity construction and national integration in an ethnic community : a case study of Yunnanese Chinese in Ban Tham Santisuk Village, Mae Sai District, Chiang Rai Province | Sachiko Nakayama | Thesis presented to the Graduate School for the degree of Master of Arts in Regional Studies, Chiang Mai University, 2003 | Research and Thesis DS570.C5N35 2003 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036780 | งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้เป็นการศึกษาผลกระทบจากการบูรณาแห่งชาติที่รัฐบาลไทยมีต่อกลุ่มชาติพันธุ์จีนยูนนานในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยศึกษานโยบายและความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มก๊กมินตั๋งยูนนานในอดีต ตลอดจนกระบวนการสร้างตัวตน การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มภายใต้นโยบายรวมชาติของไทย โดยที่โรงเรียนจีนในชุมชนมีบทบาทสำคัญในการรักษาและส่งเสริมให้วัฒนธรรมจีนยูนนานมีความเข้มแข็งในขณะที่ผู้คนก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยเช่นกัน |
A phonological study of the Meixian Hakka dialect in Bangkok, Thailand, in comparsion with Hashimoto's study of the Meixian Hakka dialect in China. | Wandee Saengtummachai | Thesis presented for Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, 2003 | Research and Thesis DS731.H3W36 2003 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033060 | ภาษาฮากกาหรือภาษาจีนแคะเป็นหนึ่งในภาษาท้องถิ่นของจีนที่ยังมีใช้ในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน รวมทั้งในประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ภาษาจีนแคะเหมยเสี้ยนในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ถือว่าเป็นภาษามาตรฐานของชาวจีนแคะ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาจีนแคะเหมยเสี้ยนในประเทศจีนซึ่งฮาชิโมโตเคยได้ศึกษาไว้ กับจีนแคะเหมยเสี้ยนที่ใช้ในกรุงเทพมหานคร ทั้งในเรื่องหน่วยเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และโครงสร้างพยางค์ |
Chinese migrants abroad :cultural, educational, and social dimensions of the Chinese diaspora | Michael W. Charney, Brenda S. A. Yeoh and Tong Chee Kiong | Singapore : Singapore University Press, National | DS732.C45 2003 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032736 | หนังสือเล่มนี้เป็นผลลัพธ์จากการประชุมนานาชาติเรื่องสังคมผู้อพยพและการศึกษาสมัยใหม่ จัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ในปีคริสต์ศักราช 2000 ซึ่งได้แบ่งเนื้อหาภายในเล่มออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงความเป็นคนจีนโพ้นทะเล ลักษณะเฉพาะของชาวจีนและเอกลักษณ์ของชุมชนชาวจีนอพยพในประเทศอื่น รวมทั้งกลุ่มที่เดินทางกลับไปยังฮ่องกง ส่วนที่สองเป็นเรื่องการศึกษาของชาวจีนโพ้นทะเล โดยนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างการศึกษาแบบจีนและการศึกษาแบบตะวันตก ส่วนสุดท้ายกล่าวถึงการผสานวิถีชีวิตของชาวจีนโพ้นทะเลกับสังคมท้องถิ่น ทั้งในเรื่องของภาษา การศึกษา การประกอบอาชีพ รวมทั้งด้านวัฒนธรรม หนังสือเล่มนี้จึงไม่เพียงแค่กล่าวถึงชาวจีนในแง่ของการเป็นผู้อพยพเท่านั้น แต่ยังเจาะลึกเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคมท้องถิ่นที่มีความแตกต่างจากสังคมเดิมของชาวจีนอีกด้วย |
Alternate identities : the Chinese in contemporary Thailand | Tong Chee Kiong and Chan Kwok Bun | Singapore : Times Academic Press ;Boston, MA : Brill, 2001 | DS570.C5A47 2001 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00061736 | หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรกจากหนังสือชุด “Asian social science series” ซึ่งจะตอบคำถามที่ว่าชาวจีนในประเทศไทยคือใคร นักมานุษวิทยาและนักสังคมวิทยาได้มีการถกเถียงกันว่าชาวจีนในประเทศไทย คือกลุ่มคนที่มีการปรับตัวเป็นคนไทย หรือเป็นเพียงแค่ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น โดยมีการพูดถึงประวัติความเป็นมา อัตลักษณ์ของชาวจีนในประเทศไทย การตั้งถิ่นฐาน การสมรสและบทบาทของชาวจีนต่อสังคมไทยสมัยใหม่ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเพณี เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้เผยให้เห็นว่าชาวจีนได้ปรับสถานภาพและอัตลักษณ์ของตนอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงสร้างสังคมของประเทศไทยอย่างไร |
The Chinese vegetarian festival in Phuket : religion, ethnicity and tourism on a Southern Thai Island | Erik Cohen | Bangkok : White Lotus, c2001 | GT2400.C64 2001 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028737 | เทศกาลกินเจภูเก็ตถือเป็นเทศกาลทางศาสนาในภาคใต้ของประเทศไทยที่มีชื่อเสียง ผู้เขียนได้ต่อยอดงานเขียนนี้มาจากการทำงานภาคสนามของตนเองในช่วงทศวรรษ 1990 โดยมุ่งวิเคราะห์ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดงานเทศกาลกินเจ กลุ่มชาติพันธุ์จีนในประเทศไทย และการพัฒนาการท่องเที่ยวของเกาะภูเก็ต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าถึงแม้เทศกาลกินเจจะเป็นที่รู้จักในวงกว้างและมีผู้เข้าร่วมเทศกาลมากมายในปัจจุบันจนดูเหมือนเป็นกิจกรรมทางการค้าหรือการท่องเที่ยว แต่รากฐานสำคัญของตำนานความเชื่อแบบจีนก็ยังคงอยู่ เป็นการแสดงออกทางศาสนาที่ไม่สามารถหาชมได้ที่ไหนแม้กระทั่งในประเทศจีนเอง |
Only connect! : Sino-Malay encounters | Wang Gungwu | Singapore : Times Academic Press, 2001 | DS595.2.C5W35 2001 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00061776 | หนังสือรวมบทความนี้เป็นหนังสือลำดับที่ 2 จากจำนวน 4 เล่มของหนังสือชุด “China and Chinese diaspora” บรรยายถึงความพยายามของกลุ่มชาติพันธุ์จีนในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับชาวมาเลย์ท้องถิ่น ท่ามกลางความแตกต่างทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองจนเป็นผลสำเร็จ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อประเทศจีนมีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างเป็นทางการกับอาณาจักรมลายู |
Chinese populations in contemporary Southeast Asian societies : identities, interdependence, and international influence | M. Jocelyn Armstrong, R. Warwick Armstrong and Kent Mulliner. | Richmond : Curzon, 2001 | DS523.4.C45C45 2001 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031634 | ประชากรชาวจีนที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันมีจำนวนมากถึง 25 ล้านคน นับเป็นร้อยละ 85 ของประชากรจีนที่อยู่นอกประเทศจีนทั้งหมด โดยมีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่เห็นได้ชัดอยู่ในทุกประเทศของภูมิภาคนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่นักวิจัยจะให้ความสนใจศึกษากลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในประเด็นเรื่องสถานภาพทางสังคมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นอย่างมาก ภายในหนังสือได้อธิบายภาพรวมของสถิติประชากร ประวัติศาสตร์ และบริบททางเศรษฐกิจของชาวจีนที่อยู่อาศัยและมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษากลุ่มธุรกิจและองค์กรทางการค้าที่เป็นกิจการของชาวจีน นอกจากนั้นก็ยังได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบในเรื่องของศาสนาและสังคมของชาวจีนกลุ่มย่อย ที่มีผลต่อท้องถิ่นนั้นๆ ไปจนระดับภูมิภาค และระดับโลก |
The encyclopedia of the Chinese overseas | Lynn Pan | Singapore : Archipelago press, 1998 | Reference Books DS732.E53 1998 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015224 | สารานุกรมชาวจีนโพ้นทะเลเล่มนี้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับชาวจีนที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก โดยนักวิชาการและนักเขียนผู้มีชื่อเสียงระดับโลกมากกว่า 50 คน เนื้อหาของสารานุกรมเล่มนี้ครอบคลุมเรื่องราวของชาวจีนพลัดถิ่นตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการอพยพย้ายถิ่นของชาวจีนจากมณฑลต่างๆ ลักษณะของการอพยพ การก่อตั้งองค์กรต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศที่ไปอยู่อาศัยรวมทั้งกับประเทศจีนเอง ส่วนสุดท้ายของเล่มเป็นข้อมูลชุมชนชาวจีนทั่วโลกมากถึง 37 ชุมชน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษารากเหง้าของชาวจีนโพ้นทะเลเป็นอย่างมาก |
Ethnic Chinese in Southeast Asia : Overseas Chinese, Chinese Overseas or Southeast Asians? IN “Ethnic Chinese as Southeast Asians” | Leo Suryadinata | Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, c1997 | DS509.5.C5E85 1997 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016882 | นับตั้งแต่ประเทศจีนมีนโยบายเปิดประตูการค้า ชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้อพยพไปประกอบการค้ายังประเทศต่างๆ ก็มีการกลับมาลงทุนทางการค้าในประเทศจีนอีกครั้ง จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นว่าชาวจีนโพ้นทะเลที่ไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งได้มีการผสานชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมกับสังคมใหม่ไปแล้วนั้น เมื่อกลับมายังจีนแผ่นดินใหญ่แล้วจะมีสถานะทางสังคมอย่างไร จะเป็นชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล หรือเป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้ามาลงทุนทางการค้าในประเทศจีน บทความนี้จะพิเคราะห์สถานะของกลุ่มชาติพันธุ์จีนในประเด็นดังกล่าว ทั้งจากมุมมองที่ชาวจีนโพ้นทะเลมีต่อตนเองและมุมมองของคนท้องถิ่นมีต่อชาวจีน รวมทั้งนโยบายรัฐที่ถูกนำมาใช้กับชาวจีนนั้นประสบปัญหาหรือสร้างโอกาสให้กับชาวจีนโพ้นทะเลในภูมิภาคนี้อย่างไร |
From Siamese-Chinese to Chinese-Thai: Political Conditions and Identity Shifts among the Chinese in Thailand IN “Ethnic Chinese as Southeast Asians” | Supang Chantavanich | Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, c1997 | DS509.5.C5E85 1997 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016882 | “จีนสยาม” หรือ “เซียนหัว” เป็นชื่อที่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยใช้เรียกกลุ่มของตนเอง โดยปรากฎให้เห็นในนิตยสารจีนสยาม (Hua Sian Sin Po) ที่มีนักวิชาการชาวจีนเป็นบรรณาธิการ ถึงแม้ว่าชาวจีนโพ้นทะเลจะเริ่มเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยา แต่กระบวนการปรับตัวเพื่ออยู่อาศัยร่วมกันนั้นก็มิได้ราบรื่นเสมอไป โดยเฉพาะช่วงระหว่างปี ค.ศ.1908-1941 นโยบายชาตินิยมของไทยก็สร้างความยุ่งยากและเกิดการเผชิญหน้าระหว่างชาวจีนกับรัฐไทยไม่น้อย นโยบายทางการเมืองเช่นนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่เร่งให้เกิดการผสมกลมกลืนทางเชื้อชาติของชาวจีนโพ้นทะเล บทความนี้ได้วิเคราะห์เงื่อนไขทางการเมืองดังกล่าว รวมทั้งเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาตินิยมจีนที่ต้องการต่อต้านการถูกผสมกลมกลืนทางเชื้อชาติ และอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย |
Poeykwan : the remittance among overseas Chinese in Thailand | Suchada Tantasuralerk | Bangkok, Thailand : Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, 1992 | HG3978.S864 1992 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00017317 | เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้บรรยายถึงบทบาท และพัฒนาการของธุรกิจ “โพยก๊วน” (Poeykwan) ในหมู่ชุมชนชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โพยก๊วนคือวิธีการที่ชาวจีนส่งเงินที่ได้จากการทำงานหรือการค้าขายกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีนโดยการแนบเงินไปกับจดหมายที่เรียกว่า Poey Later ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของการโอนเงินระหว่างประเทศก็ว่าได้ ต่อมาเมื่อเกิดระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นในปี ค.ศ.1942 คำว่าโพยก๊วนจึงใช้สำหรับเรียกธุรกิจบริการขายตั๋วแลกเงินที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยน ผ่านธนาคารหรือตัวแทนที่ได้รับอนุญาตในประเทศปลายทาง ต่อมาภายหลังระบบโพยก๊วนได้ถูกลดบทบาทลงภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย |
Rethinking of problem of Chinese in Thai society | Churi Vichit-Vadakan | Bangkok : The Siam Society Under Royal Patronage, 1991 | Audio Visual MaterialsVT 001156 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062695 | บันทึกเสียงการบรรยายทางวิชาการเรื่อง “Rethinking of problem of Chinese in Thai society”นี้จัดขึ้นในปีพ.ศ.2534 โดยสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เพื่อที่จะทำความเข้าใจชาวจีนในสังคมไทยในปัจจุบัน ในช่วงเริ่มต้นผู้บรรยายได้ปูพื้นฐานความเป็นมาของชาวจีนที่เข้ามายังประเทศไทยในอดีต ต่อเนื่องไปสู่ยุคเฟื่องฟูของชาวจีน จนถึงช่วงที่รัฐไทยมีนโยบายลดบทบาทชาวจีนลงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้บรรยายได้จำแนกชาวจีนในประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่มตามฐานะทางสังคม ได้แก่ กลุ่มชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจประกอบอาชีพและมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ต่างกัน ดังนั้นการที่จะทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชาวจีนในประเทศไทยจึงต้องศึกษาลึกลงไปตามกลุ่มชนชั้นทางสังคมที่ต่างกันด้วย เช่นเดียวกับการศึกษาเรื่องการผสมกลมกลืนของชาวจีนในสังคมไทยที่ไม่สามารถมองเพียงมุมใดมุมหนึ่ง แต่ควรแยกประเด็นออกเป็นการผสมกลมกลืนทางการเมืองการปกครอง ทางวัฒนธรรม และทางสังคม เนื่องจากแต่ละประเด็นก็เกิดการผสมกลมกลืนในระดับที่แตกต่างกัน |
The research of the Chinese Muslim society in Northern Thailand | Seiji Imanaga | Research presented to Hiroshima University, 1990 | Research and Thesis DS570.M85I43 1990 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058791 | งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของชาวจีนฮ่อมุสลิมที่อพยพจากเมืองยูนนาน ประเทศจีน มาอาศัยและก่อตั้งเป็นชุมชนต่างๆ ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยให้ข้อมูลทั้งด้านจำนวนประชากร การประกอบอาชีพ การนับถือศาสนา และพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ งานวิจัยนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลไทยโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ โดยผู้เขียนได้ลงพื้นที่วิจัยภาคสนามในช่วงปี ค.ศ.1988-1989 |
The Chinese community in Bangkok : continuity and changes | Pensri Duke and Piyanart Bunnag | Research presented to the Institute of Thai Studies, Academic Affairs, Chulalongkorn University, 1986 | Research and Thesis DS570.C5P45 1986 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018458 | งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากภาคเอกชนในปี ค.ศ.1982 เนื่องด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มชาวจีนช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นชนชาติที่มีการอพยพเข้ามาในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุดในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยชุมชนชาวจีนกลุ่มแรกที่เข้ามากรุงเทพฯ ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณท่าเตียนและพระบรมมหาราชวัง สถานะทางสังคมของชาวจีนอพยพในยุคนั้นถือว่าค่อนข้างลำบาก ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและไม่ได้รับการศึกษา จะมีเพียงส่วนน้อยที่ค่อนข้างมั่งคั่งและมีการศึกษาสูง งานวิจัยได้จำแนกกลุ่มชาวจีนที่ศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ชนชั้นนำที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ชนชั้นกลางได้แก่พ่อค้าและแรงงานมีผีมือ และกลุ่มชนชั้นล่างคือผู้ใช้แรงงานที่หวังเพียงเข้ามาขายแรงงานเพื่อเก็บเงินเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น จากนั้นจึงขยายความเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และบทบาททางเศรษฐกิจของชาวจีนแต่ละกลุ่มในยุคสมัยนั้น โดยที่งานวิจัยไม่ได้แบ่งแยกเนื้อหาออกเป็นตอนหรือเป็นบทอย่างชัดเจน |
Ritual and Chinese ethnicity in Mahachai, Thailand | Gove G. Elder | Dissertation presented to the Faculty of the University of North Carolina at Chapel Hill in degree of Doctorate of Philosophy in the Department of Anthropology, 1982 | Research and Thesis DS570.C5E43 1982 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00067545 | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์จีนในอำเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งผู้วิจัยใช้เวลาร่วม 10 ปี ในการทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น จนเกิดเป็นงานวิจัยชิ้นนี้ในปีค.ศ.1982 เนื้อหาการวิจัยครอบคลุมเรื่องภูมิหลังของชาวจีนในมหาชัย ทั้งด้านประวัติศาสตร์สังคม ประเพณี ความเป็นอยู่และพิธีกรรมที่สำคัญ ผู้วิจัยเห็นว่าการวิจัยเกี่ยวกับชาวจีนในประเทศไทยที่ผ่านมานั้น โดยมากแล้วจะครอบคลุมพื้นที่วิจัยที่ค่อนข้างใหญ่หรือเป็นสังคมเมือง ในงานเขียนชิ้นนี้ผู้เขียนจึงต้องการมุ่งเน้นการวิจัยในสังคมชนบทและมีพื้นที่วิจัยที่แคบลงมา เพื่ออธิบายสภาพความเป็นอยู่ของชาวจีนอพยพในบริบทสังคมที่ต่างออกไป |
Not too high and not too low : a comparative study of Thai and Chinese middle-class life in Bangkok, Thailand | Juree Namsirichai Vichit-Vadakan | Thesis presented to the graduate division of the University of California, 1979 | Research and Thesis HT690.T5J87 1979 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071477 | วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาชนชั้นกลางในสังคมเมืองของประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพ่อค้าชาวจีนโดยยกตัวอย่างชาวจีนในตลาดกลาง กรุงเทพมหานคร กับลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรภาครัฐชาวไทย ทั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นเนื้อหาใน 4 ประเด็นใหญ่ได้แก่ ชาติพันธุ์วิทยา การประกอบอาชีพ ลักษณะที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิต นอกจากนั้นยังให้รายละเอียดเรื่องความแตกต่างของโครงสร้างครอบครัว การมีปฏิสัมพันธ์และฐานะทางสังคมของคนทั้ง 2 กลุ่มด้วยเช่นกัน |
Baba and Nyonya : a study of the ethnic identity of the Chinese Peranakan in Malacca | Chee Beng Tan | Thesis presented to the Faculty of the Graduate School of Cornell University, 1979 | Research and Thesis DS595.2.C5T36 1979 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00065064 | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยทางมานุษยวิทยาในเรื่องราวของชาว “บาบ๋า” หรือชาว “เปอรานากัน” ในภาษามาเลย์ ซึ่งผู้เขียนได้เริ่มวิจัยภาคสนามในประเทศมาเลเซียช่วงปี ค.ศ.1977 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ “บาบ๋า” ซึ่งเป็นชาติพันธุ์จีนกลุ่มย่อยในประเทศมาเลเซีย ด้วยมุมมองด้านการปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นกรอบคิดสำคัญในงานมานุษยวิทยา เนื่องด้วยในงานวิจัยชิ้นนี้มีการถ่ายทอดคำจากภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาบาฮาซา มาเลเซีย ผู้เขียนจึงได้อธิบายหลักภาษาศาสตร์และการออกเสียงชื่อเฉพาะต่างๆ เพื่อความเข้าใจตรงกันไว้อย่างชัดเจน |
Chinese churches in Thailand | Carl Edwin Blanford | Bangkok : Suriyaban, [1977?] | BR1195.B4 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038682 | หนังสือเล่มนี้เขียนโดยมิชชันนารีที่เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยในปี ค.ศ.1951 ผู้เขียนได้ให้ข้อสังเกตว่าคริสตศาสนาในประเทศไทยมีการเติบโตและขยายตัวในกลุ่มชาวจีนมากกว่าชาวไทยอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังน้อยกว่าในชาวจีนกลุ่มเดียวกันที่อพยพไปอยู่อาศัยในประเทศไต้หวัน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซียและอินโดนีเซีย มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนกลุ่มแรกเดินทางมายังประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ.1828 หลังจากนั้นองค์กรต่างๆ ก็ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มเติม โดยในปี ค.ศ.1837 ได้มีการก่อตั้งโบสคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์โดยชาวตะวันตกและชาวจีนขึ้นเป็นครั้งแรก มีสมาชิกเมื่อเริ่มก่อตั้งจำนวน 11 คน ผู้เขียนได้บรรยายให้เห็นความก้าวหน้าของการก่อตั้งโบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ทั่วประเทศไทย และในบทสุดท้ายกล่าวถึงการเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยที่เกิดขึ้นราวปี ค.ศ.1975 เมื่ออิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้ามาประชิดประเทศไทย เกิดสงครามในภูมิภาคซึ่งส่งผลกับความมั่นคงและการดำรงอยู่ของโบสต์โปรเตสแตนต์ที่มีสมาชิกเป็นชาวจีนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก |
Chinese-Thai differential assimilation in Bangkok : an exploratory study | Boonsanong Punyodyana | Ithaca, N.Y. : Southeast Asia Program, Cornell University, c1971 | DS589.B2B66 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016491 | การศึกษาเรื่องการผสมกลมกลืนทางสังคมของชาวจีนและชาวไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและธนบุรีในหนังสือเล่มนี้เป็นโครงการวิจัยเพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยของบุญสนอง บุณโยทยาน เพื่อตอบข้อสงสัยในเรื่องความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างชาวจีนและชาวไทยในประเทศไทย ที่โดยมากจะถูกนำเสนอในแง่ของความสัมพันธ์อันราบรื่นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างสองเชื้อชาติที่ยังไม่ถูกพูดถึงมากนักให้ศึกษาต่อเนื่องไปได้อีก ทั้งด้านภาษา การศึกษา พิธีกรรมทางศาสนา และการแต่งงานข้ามเชื้อชาติซึ่งเป็นอีกสถานการณ์หนึ่งที่ทำให้เกิดการผสานวัฒนธรรมระหว่างสองครอบครัว |
Chinese society in Thailand : an analytical history | G. William Skinner | Ithaca, New York : Cornell University Press, 1962 | DS570.C5S45 1962 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016432 | หนังสือเล่มนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่า “สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์” เป็นผลงานชิ้นสำคัญของ จี. วิลเลียม สกินเนอร์ ที่ศึกษาบทบาทของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ งานเขียนชิ้นนี้พยายามแสดงให้เห็นบทบาทและความสัมพันธ์ที่ชาวจีนอพยพมีต่อประเทศไทยในทุกมิติ ทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งงาน การศึกษา ตลอดจนบทบาททางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจซึ่งถือว่าชาวจีนมีอิทธิพลเป็นอย่างสูงในขณะนั้น ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้ศึกษาเรื่องชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้าใจพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชาวจีนมาอย่างยาวนาน หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นคัมถีร์เกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยที่สำคัญเล่มหนึ่ง |
Double identity: the Chinese in modern Thailand | Richard J Coughlin | [Hong Kong] : Hong Kong University Press, 1960 | DS570.C5C6 1960 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036751 | หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการวิจัยภาคสนามของผู้เขียนในปี ค.ศ. 1951-1952 เพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกในปี ค.ศ.1953 ในขณะเดียวกันผู้เขียนก็ตัดสินใจที่จะเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ให้มีเนื้อหาที่เข้าใจง่ายไม่เป็นทฤษฎีวิชาการมากนัก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในวงกว้าง หลักใหญ่ใจความของหนังสือเล่มนี้คือเรื่องของกลุ่มชาวจีนในยุคสมัยใหม่ของประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เริ่มมีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจนเกิดเป็นชุมชนที่มีการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และการนับถือศาสนาแบบจีน รวมทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมืองและเศรษฐกิจ จนเกิดเป็นองค์กรทางธุรกิจต่างๆ มากมาย |
The Chinese in Bangkok A Study of Cultural Persistence | Richard J. Coughlin | Dissertation presented to the Faculty of the Graduate School of Yale University, 1953 | Research and Thesis DS570.C5C61 1953 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00025280 | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เขียนจากการศึกษาภาคสนามในช่วงปีค.ศ.1951-1952 ของนักศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเรื่องของผู้อพยพชาวจีนในกรุงเทพฯ โดยมุ่งประเด็นเกี่ยวกับการปรับตัวของชาวจีนอพยพให้เข้ากับกลุ่มคนที่อยู่อาศัยอยู่ก่อน ได้แก่ ชาวไทยพื้นเมือง ชุมชนชาวจีนที่อพยพมาก่อนหน้า และกลุ่มมิชชันนารีชาวตะวันตก ผู้เขียนเชื่อว่ากลุ่มคนทั้ง 3 กลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ทางวัฒนธรรมของชาวจีนอพยพเป็นอย่างมาก การวิเคราะห์ปูมหลังของกลุ่มคนดังกล่าวจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ประวัติและแรงผลักดันที่ทำให้ชาวจีนต้องอพยพลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย |