Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
การสื่อสารกับการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวของชุมชนไทลื้อบ้านล้า อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | ธัญจิรา ศรีคำ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=196553&query= | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพของสื่อพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่และเปลี่ยนแปลงของพิธีสามปีสี่รวงข้าว 3) ศึกษาบทบาทหน้าที่ทางการสื่อสารของพิธีสามปีสี่รวงข้าวที่มีต่อปัจเจกและชุมชนในอดีตและปัจจุบัน 4) ศึกษาถึงกระบวนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของพิธีสามปีสี่รวงข้าว และ 5) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในกระบวนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดพิธีสามปีสี่รวงข้าว โดยใช้แนวคิดเรื่องสื่อพิธีกรรม แนวคิดเรื่องการสือสารกับการผลิตและผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม ทฤษฎีหน้าที่นิยมและแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ในการศึกษาวิจัยพิธีสามปีสี่รวงข้าวแบ่งออกเป็น 3 ยุค โดยสถานภาพของพิธีสามปีสี่รวงข้าวในยุคอดีต เป็นสื่อพิธีกรรมที่มีความเข้มแข็ง โดยมีความสมบูรณ์ทั้งรูปแบบ เนื้อหา คุณค่าและความหมายอย่างแท้จริง ต่อมาในยุค พ.ศ. 2539 – 2544 ทำการศึกษาที่บ้านหนองบัว จังหวัดน่าน พบว่าพิธีสามปีสี่รวงข้าวอยู่ในสภาพที่เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ เนื่องจากสภาพสังคมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และในยุค พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน ทำการศึกษาที่บ้านล้า อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สถานภาพของสื่อพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวในยุคนี้จึงอยู่ในสภาพที่ข้างนอกเข้มแข็งแต่ข้างในกลวง เนื่องจากรูปแบบและเนื้อหาภายนอกของพิธีกรรมถูกปรับเปลี่ยนไปหลายอย่างตามสภาพสังคม ส่งผลต่อคุณค่าภายในที่ลดลงตามไปด้วย ด้านปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคงอยู่และความเปลี่ยนแปลงของพิธีสามปีสี่รวงข้าว หากพิจารณาจากเกณฑ์ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมแล้ว สามารถจำแนกได้เป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ ความเชื่อ / ความศรัทธาและความรู้ 2) ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชนและการสื่อสารภายในชุมชน และ 3) ปัจจัยายนอกชุมชน ด้านบทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวมีทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ยุค โดยในแต่ละยุคพิธีสามปีสี่รวงข้าวได้ทำหน้าที่ต่อระดับปัจเจกชนที่เหมือนกัน ได้แก่ หน้าที่ในการสร้างอัตลักษณ์ศักดิ์ศรี หน้าที่ในการสร้างความสามัคคีและหน้าที่ในการสร้างความกตัญญูรู้คุณ แต่อย่างไรก็ตามด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้คุณค่าต่าง ๆ ดังกล่าวในแต่ละยุคมีความเข้มข้นลดลง กระบวนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของพิธีสามปีสี่รวงข้าวและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในกระบวนการผลิตซ้ำฯ ในแต่ละยุคนั้นจะใช้รูปแบบการสื่อสารแบบปากต่อปากในการถ่ายทอดข้อมูลชุมชน รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบันทึกข้อมูลไว้บ้าง ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากการสื่อสารแบบปากต่อปากยุคก่อน ๆ ส่งผลทำให้ผู้รับสารในยุคนี้มีความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมน้อยมาก และตระหนักถึงคุณค่าของพิธีกรรมน้อยลง และจะยิ่งส่งผลต่อการสืบทอดพิธีกรรมในรูปแบบที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไปในอนาคต |
การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ : ศึกษาจากวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว = The Change of Ethnic Relations between Khmu and Tai Lue: A Study of Textiles Cultures in Muang Ngoen, Sayabury Province, Lao PDR | มาริ ซากาโมโต | book | Books: ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (Jan./Jun. 2557), หน้า 67-124 : ภาพประกอบสี | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00061788 | บทความนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ ตลอดจนวิเคราะห์การใช้ความหมายทางวัฒนธรรมของผ้าทอไทลื้อเพื่อแสดงและสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อเมืองเงินเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในกระบวนการผลิตผ้าทอ และการเลือกสรรผ้าทอที่เป็นเครื่องแต่งกาย เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ โดยเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกันทั้งในด้านสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ สู่ความสัมพันธ์แบบมุ่งเน้นปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการกำหนดนโยบายของรัฐด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์พื้นที่แนวชายแดนไทย – ลาว ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบันผ้าทอไทลื้อกลายเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ทางความคิดของทั้งชาวขมุและไทลื้อ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องช่วงชิงความหมายทางวัฒนธรรมจากใคร |
การวิเคราะห์ส่วนประสมการตลาดของธุรกิจผ้าทอไทลื้อ ณ ตลาดชายแดน บ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา | เจษฎ์สุดา ปิ่นศักดิ์ | ไม่ระบุ | book | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=374315&query= | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดของธุรกิจผ้าทอไทลื้อ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทางการตลาดของธุรกิจผ้าทอไทลื้อ ณ ตลาดชายแดนบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการผ้าทอไทลื้อ ณ ตลาดชายแดนบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา จำนวน 37 ราย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง (Structured interview) โดยบูรณาการจากกรอบแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมีวิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อสังเกตพฤติกรรมและเหตุการณ์ เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์และความหมายของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผลจากการวิจัยพบว่า การตลาดของธุรกิจผ้าทอไทลื้อ สามารถวิเคราะห์ได้ตามส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการผ้าทอไทลื้อ ได้กำหนดกลยุทธ์ ด้วยการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างเอกลักษณ์ ลวดลาย ความประณีต และสีสันที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนกับจังหวัดอื่น มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กับผ้าทอมากขึ้น 2) ด้านราคา ผู้ประกอบการมีการกำหนดราคาที่แตกต่างกันไปตามคุณภาพและลวดลายของผ้า 3) ด้านการสถานที่ / ช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ประกอบการกำหนดช่องทางการจัดจำหน่ายไว้ 2 ช่องทาง คือ ช่องทางการจำหน่ายตรงจากผู้ประกอบการสู่ผู้บริโภค และช่องทางที่ผ่านพ่อค้าคนกลางไปยังผู้บริโภค 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีการส่งเสริมการตลาด นอกจากการส่งเสริมในหน่วยงานของรัฐ เช่น การจัดศูนย์การแสดงสินค้า OTOP และงานกาชาดจังหวัด |
กลองปูจาในวัฒนธรรมไทลื้อ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | ธนพงศ์ เด็ดแก้ว | ไม่ระบุ | Book | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=445262&query= | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการบทบาทและความเชื่อในกลองปูจาที่ปรากฏ ในวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ พร้อมทั้งศึกษารูปแบบวงกลองปูจา 3 หมู่บ้าน ในตำบลหย่วน ซึ่งประกอบไปด้วยบ้านธาตุสบแวน บ้านดอนไชยและบ้านหย่วน พบว่า รูปแบบจังหวะและวิธีการบรรเลงยังคงรูปแบบดั้งเดิมสืบทอดต่อกันมา ประกอบด้วย 1) จังหวะปูจา ซึ่งเป็นจังหวะที่มีทำนองช้า มีลีลาการตีนุ่มนวลแต่แฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่ง มีการประคบเสียงกลองด้วยการใช้ไม้กลองลูบหน้ากลอง ก่อเกิดเป็นลีลา ท่วงท่าในการแสดง 2) จังหวะสะบัดชัย เป็นจังหวะที่มีความเร็วและกระชับกว่าจังหวะปูจา มีลีลาการตีที่สนุกสนาน เพิ่มสีสันของจังหวะด้วยการเคาะขอบกลองก่อให้เกิดเสียงพิเศษขึ้น การตีในลักษณะเช่นนี้ พบได้เฉพาะที่ บ้านธาตุสบแวน ซึ่งเน้นการเคาะขอบกลองปูจา ในจังหวะเบา และบ้านดอนไทย ซึ่งเน้นการเคาะขอบกลองปูจาในจังหวะหนัก ในขณะที่บ้านหย่วนนั้นไม่พบกลวิธีพิเศษดังกล่าว และจากการศึกษายังพบว่า พัฒนาการบทบาทกลองปูจาที่มีต่อสังคมไทลื้อได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในอดีตใช้เพื่อการศึกสงคราม แต่ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่องานประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและประเพณีท้องถิ่นของไทลื้อ |
อาหาร unseen ไตลื้อ | วิชุลดา มาตันบุญ | กรุงเทพฯ : นันทพันธ์พริ้นติ้ง, [2560-] | TX355 .ว62 ล.2 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093718 | “อาหาร unseen ไตลื้อ เล่ม 2 : ตำ ยำ ส้า แอ็บ นึ่ง ลาบ และข้าวบ่ายข้าวโฟ่” ถือได้ว่าเป็นผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติพันธุ์ไตลื้อที่รวมเอาอาหารหายากเข้าไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ จนสามารถนำไปทดลองปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ เพราะวัตถุดิบสำหรับนำมาปรุงอาหารส่วนใหญ่หาง่าย เป็นอาหารและเป็นยาไปในตัว นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ คือมีรูปภาพวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารแต่ละชนิดและวิธีการทำอาหารที่เต็มไปด้วยสีสันดูเสมือนของจริง ช่วยให้ผู้อ่านจดจำและเข้าใจพืชผักแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง และยังเห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทลื้อในด้านการทำอาหารและการแต่งกายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น |
อาหาร unseen ไตลื้อ | วิชุลดา มาตันบุญ | กรุงเทพฯ : นันทพันธ์พริ้นติ้ง, [2560-] | Books: TX355 .ว62 ล.1 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093717 | อาหาร unseen ไตลื้อ เล่ม 1 : น้ำพริก เอาะ หลาม ต้ม และแกง” ถือได้ว่าเป็นผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติพันธุ์ไตลื้อที่รวมเอาอาหารหายากเข้าไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ จนสามารถนำไปทดลองปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ เพราะวัตถุดิบสำหรับนำมาปรุงอาหารส่วนใหญ่หาง่าย เป็นอาหารและเป็นยาไปในตัว นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ คือมีรูปภาพวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารแต่ละชนิดและวิธีการทำอาหารที่เต็มไปด้วยสีสันดูเสมือนของจริง ช่วยให้ผู้อ่านจดจำและเข้าใจพืชผักแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง และยังเห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทลื้อในด้านการทำอาหารและการแต่งกายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น |
ด้ำโคตร เจ้าแผ่นดินชาติพันธุ์ไท-ไต-ลาว ที่ยาวนานมาก | วรรณะ วิมล | ไม่ระบุ | ปีที่ 6, ฉบับที่ 68 (ธ.ค. 2560), หน้า 32-35 :ภาพประกอบ | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j0006 | บทความนี้ศึกษาถึง “ด้ำ” หรือ โคตรวงศ์ตระกูล พูดให้ง่ายสำหรับคนปัจจุบันก็คือ “นามสกุล”ของเจ้าแผ่นดิน – เจ้าฟ้า – ไท – ไต – ลาว ว่ามีด้ำอะไรบ้าง ? ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คนไทยคงคิดว่า ชาติพันธุ์ไท เพิ่งมีการใช้ “นามสกุล” ตามอย่างฝรั่งในสมัยรัขกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่จริง ๆ แล้ว คนเผ่าไทรู้จักแยกนามโคตรตระกูลกันมานานแล้ว |
การเปลี่ยนแปลงของคำศัพท์และเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทลื้อจังหวัดเชียงราย ตามกลุ่มอายุ และความสะดวกของการคมนาคม | ผณินทรา ธีรานนท์ | ไม่ระบุ | Books: | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=432650&query= | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเสียงวรรณยุกต์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ในภาษาไทลื้อ จังหวัดเชียงราย จากกลุ่มอายุและความสะดวกของการคมนาคม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาษาที่อำเภอเชียงของ และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยแบ่งผู้พูดออกเป็น 6 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 1 – 19 ปี กลุ่มอายุ 20 – 29 ปี กลุ่มอายุ 30 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี กลุ่มอายุ 50 – 59 ปี และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในการคมนาคม ผู้วิจัยเลือก 2 อำเภอ อำเภอเชียงของเป็นพื้นที่ที่มีการคมนาคมไม่สะดวก และอำเภอแม่สายเป็นพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ผู้วิจัยใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์ภาษาถิ่น และการนับความถี่ในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงศึกษาทัศนคติของผู้พูดภาษาไทลื้อ เพื่อนำมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่กำลังดำเนินอยู่ ผลการวิจัยพบว่า อายุ และความสะดวกของการคมนาคมมีผลต่อการเลือกใช้คำศัพท์และเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์ ผู้พูดภาษาไทลื้อที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มใช้คำศัทพ์ภาษาไทยกลาง ส่วนผู้พูดภาษาไทยลื้อที่มีอายุมากมีแนวโน้มจะใช้ภาษาไทลื้อ และยิ่งความสะดวกของการคมนาคมมีมาก ภาษายิ่งเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าที่ผู้พูดภาษาไทลื้อเชียงของ มีทัศนคติที่ดีต่อภาษาของตนเองทำให้เกิดการอนุรักษ์ภาษาไทลื้อมากกว่าภาษาไทลื้อแม่สาย อีกทั้งงานวิจัยนี้ยังคัดค้านแนวคิดเชิงทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เนื่องจากพบว่าคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์พื้นฐานสามารถเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ช้ากว่าคำศัพท์ที่ไม่ใช่คำศัพท์พื้นฐานได้ |
มองคติชนเห็นตัวตนชาติพันธุ์ | ศิราพร ณ ถลาง | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2559 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090729 | Books: DS570.ท9 ศ64 2559 | หนังสือเล่มนี้รวมบทความวิจัย 4 เรื่องที่ศึกษาการแสดงอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน ในเชียงใหม่และเชียงราย และการแสดงอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราชผ่านบริบทของเทศกาลงานประเพณี และผ่านคติชนอีกหลายประเภท เช่น เรื่องเล่า การละเล่นการแสดง อาหาร ผ้าทอ ชุดประจำชาติพันธุ์ ทั้งนี้ บทความทั้ง 4 เรื่องนี้ศึกษาการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทนอกมาตุภูมิ ซึ่งคือประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีบทอภิปรายที่ชี้ให้เห็นบทบาทของชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยวไทยในสื่อไร้พรมแดนในปัจจุบัน |
พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ สืบสานสายใยผ้าทอไทลื้อ | ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล | เชียงราย : พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ, 2559 | Books: TT848 .ท424 2559 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091247 | สุริยา วงศ์ชัย มีความฝันอยากทำพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ จึงมีแรงบันดาลใจในการสะสมทั้งวัตถุ และองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งทอ ตลอดจนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง จนกระทั่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ก่อกำเนิดขึ้นมาจากความรักในถิ่นฐานบ้านเกิด ความภาคภูมิใจในผืนผ้าทออันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่งดงาม เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและให้บุคคลที่สนใจได้มาศึกษา และเป็นการสืบทอดแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป |
การอนุรักษ์ผ้าทอไทลื้อชุมชนแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ | ภัทรสิน ชุปวา | ไม่ระบุ | book | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=484322&query= | การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการทอผ้า ตลอดจนเทคนิควิธิการและรูปแบบของผ้าทอไทลื้อบ้านแม่สาบในอดีต ตลอดจนสำรวจภูมิปัญญาช่างทอผ้าไทลื้อที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการอนุรักษ์ผ้าทอไทลื้อ ชุมชนบ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ผลการศึกษาพบว่า ในชุมชนบ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเหลือช่างทอผ้าไทลื้อ จำนวน 6 คน และเก็บข้อมูลรายละเอียดของการทอผ้าไทลื้อเหล่านั้นไว้ ได้มีการประสานงานและร่วมมือกับโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2557 และเริ่มทดลองใช้ในโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม ทั้งนี้ ได้รับสนับสนุนจากช่างทอผ้าไทลื้อบ้านแม่สาบเป็นครูผู้สอน และประสานขอความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานผ้าทอไทลื้อไว้สืบไป |
การจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างเทศบาลตำบลลวงเหนือกับชุมชนไทลื้ออำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ | ปุณยนุช ทาอินทร์ | ไม่ระบุ | book | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=452233&query= | การศึกษาเรื่อง การจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างเทศบาลตำบลลวงเหนือกับชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาลักษณะอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาไทลื้อ 2) เพื่อศึกษาลักษณะของวัฒนธรรมประเพณีไทลื้อที่ส่งผลต่อภูมิปัญญาไทลื้อ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานของเทศบาลตำบลลวงเหนือในการส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาไทลื้อ และ 4) เพื่อศึกษาบทบาทของฝ่ายต่าง ๆ ในการพัฒนาภูมิปัญญาไทลื้อ ตำบลลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนไทลื้อบ้านลวงเหนือ ซึ่งประกอบด้วยประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนไทลื้อ จำนวนทั้งหมด 22 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พบว่า การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้กระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการประมวลข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ความคิด หรือการกระทำ ตลอดจนประสบการณ์เฉพาะของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรมขึ้นมา แล้วจัดเก็บความรู้หรือนวัตกรรมนั้น ๆ ให้อยู่ในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อที่บุคคลเหล่านั้นจะได้นำความรู้ที่มีอยู่นั้นไปประยุกต์ใช้ต่อไป ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและเกิดการไหลเวียนของความรู้อย่างกว้างขวาง ภูมิปัญญาไทลื้อบ้านลวงเหนือนั้น มีความเป็นอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชัดเจน 4 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้และระบบความรู้ การสั่งสมและการกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการสร้างสรรค์ |
กระบวนการสร้างอัตลักษณ์และความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ : ศึกษาจากวัฒนธรรมผ้าทอในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป. ลาว | มาริ ซากาโมโต | ไม่ระบุ | book | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=395654&query= | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอของไทลื้อ ในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป. ลาว ภายใต้บริบทของความเป็น “เมือง” และ “รัฐชาติ” ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อเมืองเงิน ได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในกระบวนการผลิตผ้าทอและการเลือกสรรผ้าทอที่เป็นเครื่องแต่งกาย ในอดีตภายใต้การปกครองแบบ “เมือง” มีการแลกเปลี่ยนสิ่งจำเป็นระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ โดยชาวขมุเอาข้าวไร่ ฝ้าย วัสดุการย้อมสีมาแลกกับผ้าทอของไทลื้อและชาวขมุหยิบยืมเครื่องแต่งกายของชาวไทลื้อ เช่น ผ้าซิ่น และเสื้อมาใส่ทั้งในชีวิตประจำวันและในโอกาสพิเศษ แต่ในปัจจุบัน ทั้งชาวขมุและไทลื้อนิยมสวมเสื้อผ้าแบบสมัยใหม่และผ้าซิ่นลาวมากขึ้น จึงเกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ โดยเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านสังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ สู่ความสัมพันธ์แบบมุ่งเน้นปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้พบว่ามีสาเหตุหลักมาจากการกำหนดนโยบายของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์พื้นที่แนวชายแดนไทย – ลาวที่ได้รับอิทธิพลจากทุนนิยมและบริโภคนิยมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ภายใต้การปกครองแบบ “รัฐชาติ” โดยมีสภาพการณ์ดังกล่าว ผ้าทอไทลื้อในปัจจุบันกลายเป็นสิ่งแสดงความหมายเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งกลุ่มชนทั้งสอง รวมถึงทางรัฐพยายามช่วงชิงความหมายของผ้าทอไทลื้อเมืองเงิน เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทางสังคมในการนำเสนอตัวตนไปตามเงื่อนไข สถานการณ์และผลประโยชน์ กลายเป็นเครื่องมือในการต่อรองอำนาจระหว่างกลุ่มชนหรือระหว่างรัฐกับกลุ่มชน |
เรือนพื้นถิ่นล้านนา | ฐาปนีย์ เครือระยา | เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558 | Books: NA7435.ห7 ฐ63 2558 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094022 | หนังสือเล่มนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเรือนพื้นถิ่นในแถบจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นกลุ่มเรือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างให้สอดคล้องตามภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ด้วยฝีมือช่างพื้นถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญในรูปแบบเรือนของตนเอง เป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษางานสถาปัตยกรรมและผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถนำไปต่อยอดการศึกษาความรู้ในบริบทอื่น ๆ ได้ และได้รับความรู้เกี่ยวกับเรือนพื้นถิ่นในภาคเหนือมากยิ่งขึ้น |
พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของไทลื้อและไทยวนในอาเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ | นัทธี เมืองเย็น | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=356497&query= | ารศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านเพื่อรวบรวมการใช้ประโยชน์จากพืชของชาวไทลื้อในหมู่บ้านแม่สาบและไทยวนในหมู่บ้านห้วยคอก ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำรวจพืชระหว่างเดือนกันยายน 2553 ถึง เดือนธันวาคม 2554 ในบริเวณหมู่บ้าน พื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่ารอบหมู่บ้าน สอบถามผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุและหมอยาสมุนไพรพื้นบ้านเกี่ยวกับชื่อพืชในภาษาท้องถิ่น ประเภทของการใช้ประโยชน์ ส่วนของพืชและวิธีการใช้ประโยชน์ เก็บตัวอย่างพืชเพื่อใช้ระบุชื่อวิทยาศาสตร์จากลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยอ้างอิงจากเอกสารรูปวิธานและเปรียบเทียบกับตัวอย่างพืชในหอพรรณไม้ จากการสำรวจพบพืชที่ใช้ประโยชน์ทั้งหมด 291 ชนิด ใน 100 วงศ์ 278 สกุล เป็นพืชในพื้นที่บ้านแม่สาบ 260 ชนิด และในพื้นที่บ้านห้วยคอก 171 ชนิด โดยมีพื้นที่พบในทั้งสองหมู่บ้าน 147 ชนิด สามารถแบ่งการใช้ประโยชน์ของพืชออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ อาหาร 159 ชนิด เครื่องดื่ม 9 ชนิด สมุนไพร 127 ชนิด พืชที่ใช้สร้างที่อยู่อาศัยและเครื่องมือเครื่องใช้ 27 ชนิด พืชที่ใช้ในพิธีกรรมและความเชื่อ 16 ชนิด พืชเศรษฐกิจ 8 ชนิด และพืชใช้ประโยชน์อื่น ๆ 20 ชนิด ตัวอย่างพืชที่น่าจะมีศักยภาพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่น่าสนใจ คือ สุคนธรส (Passiflora quadrangularis L.) ที่น่าจะพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเหมือนกับเสาวรส (Passiflora edulis Sims) และผักอีหลืน (Isodon ternifolius Kudo) ที่สามารถนำมาใช้เป็นพืชเครื่องเทศให้กลิ่นหอมได้ |
แนวทางการพัฒนาตลาดของผ้าทอไทลื้อบ้านทุ่งมอก ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | นิรัญญา กาติ๊บ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=312263&query= | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อผ้าทอไทลื้อของหมู่บ้านทุ่งมอก ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 2) ศึกษาการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคผ้าทอไทลื้อของหมู่บ้านทุ่งมอก ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภค จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดผ้าทอไทลื้อบ้านทุ่งมอก จำนวน 15 คน โดยจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อยและวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่กำหนด ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ ประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อไปใช้เอง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อมีเอกลักษณ์ ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อเนื่องจากเพื่อนแนะนำ เลือกซื้อตามโอกาสที่เหมาะสม ซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อจากแหล่งผลิต (บ้านทุ่งมอก) เนื่องจากความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์ |
การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบทหมู่บ้านไทลื้อ บ้านดอนมูล จังหวัดน่าน | พาสนา ธรรมเลอศักดิ์ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=294713&query= | การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะหมู่บ้านไทลื้อ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวไทลื้อแบบดั้งเดิม ที่สะท้อนออกมาเป็นรูปแบบชุมชนทางกายภาพ การวางผังหมู่บ้าน องค์ประกอบของหมู่บ้าน และสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้าน รูปแบบของเรือนไทลื้อ โดยเน้นลักษณะพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านพื้นถิ่นไทลื้อ และองค์ประกอบภายในเรือน ความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามแบบแผนของการดำเนินชีวิต (วิถีชีวิต) แบบไทลื้อ ศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน ลักษณะและขนาดพื้นที่ภายใน เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบและปรับปรุงที่พัก สัมผัสวัฒนธรรมชนบท หมู่บ้านไทลื้อบ้านดอนมูล เพื่อให้นักท่องเที่ยวโฮมสเตย์ได้เข้าใจ และสัมผัสวัฒนธรรมชนบทอย่างแท้จริง จากผลการวิจัยพบว่าลักษณะเรือนพื้นถิ่นไทลื้อแบบดั้งเดิม ได้ถูกประยุกต์และผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ทำให้เรือนไทลื้อที่ภาคเหนือของประเทศไทยก็มีการผสมผสานแบบไทลื้อเข้ากับเรือนแบบล้านนา และสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในเรื่องของความต้องการด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับวิถีชีวิตชนบท และสร้างสรรค์กิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันระหว่างเจ้าบ้านกับนักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ |
คำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อ | เอื้อมพร จรนามล | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=98268&query= | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อ โดยศึกษารูปแบบ ส่วนประกอบ หน้าที่ กระบวนการสร้างคำ และโลกทัศน์ของชาวไทลื้อจากคำสี่พยางค์ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารภาษาไทลื้อ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาไทลื้อที่อาศัยอยู่ในสิบสองปันนา ประเทศจีน โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ช่วงสมัย คือ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2400 - พ.ศ. 2500 ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2530 และช่วงที่ 3 พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2551 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ ABCD ABCB ABAC และ AABB ด้านส่วนประกอบของคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อมีทั้งหมด 3 ปะเภท ได้แก่ คำสี่พยางค์ที่มีส่วนประกอบไม่ใช่คำมูลทุกคำ และคำสี่พยางค์ที่ไม่มีส่วนประกอบเป็นคำมูล คำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อสามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยในประโยคได้ คือ หน่วยอกรรม หน่วยกรรมตรง หน่วยสกรรม หน่วยขยายกริยา หน่วยขยายกรรม หน่วยประธาน หน่วยขยายประธาน หน่วยเสริม และหน่วยนามเดี่ยว อนึ่งคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อเกิดจากกระบวนการ 4 กระบวนการ คือ กระบวนการซ้อน กระบวนการประสม กระบวนการเสริมซ้อน และกระบวนการซ้ำ ด้านโลกทัศน์ของคำสี่พยางค์ในภาษาไทลื้อ พบว่าคำสี่พยางค์สะท้อนโลกทัศน์ 3 ประการ โลกทัศน์ประการแรกคือ โลกทัศน์เรื่องการปกครองและการแบ่งชนชั้น โลกทัศน์ประการที่สองคือ โลกทัศน์เรื่องศาสนาและความเชื่อ และโลกทัศน์ประการสุดท้ายคือ โลกทัศน์เรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ |
อัตลักษณ์ไทลื้อ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials CDF 000547 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068521 | รายการ “พันแสงรุ้ง” ตอน “อัตลักษณ์ไทลื้อ” กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตนเอง เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี เป็นต้น โดยได้ลงพื้นที่จริงและสัมภาษณ์ข้อมูลโดยตรงจากชาวไทลื้อ และนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้แก่คนรุ่นหลังต่อไป |
ผ้าทอไทลือเชียงของ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials CDF 000600 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068494 | รายการ “พันแสงรุ้ง” ตอน “ผ้าทอไทลื้อเชียงของ” กล่าวถึงผ้าทอไทลื้อ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญและโดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกายหาซื้อได้ง่ายจึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ผ้าทอไทลื้อยังคงมีความสำคัญอย่างไรกับคนไทลื้อ และสถานภาพปัจจุบันของผ้าทอไทลื้อเป็นอย่างไรบ้าง โดยทีมงานพันแสงรุ้ง ได้เดินทางไปยัง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพื่อดูสถานการณ์ของผ้าทอไทลื้อและหาคำตอบของคำถามเหล่านั้น |
กลุ่มผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปริวรรตเนื้อเรื่องให้เป็นภาษาไทย แล้วนำมาศึกษาภูมิหลังของเมืองแช่ และเมืองเชียงเจือง ซึ่งเป็นสถานที่เกิดตำนานความรักสะเทือนใจ ศึกษาวิเคราะห์เนื้อเรื่องในมิติทางวรรณกรรมและในบริบททางสังคม นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายให้งานนี้เป็ | ภัทรีพันธุ์ พันธุ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=231537&query= | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงคติสัญลักษณ์และรูปแบบของสัตภัณฑ์ไทลื้อ สัตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 6 ชิ้น จากทั้งหมด 6 วัด คือ วัดต้นแหลง วัดหนองบัว วัดร้องแง วัดดอนมูล วัดหนองแดง และวัดนาปัง ซึ่งกระจายอยู่หลายอำเภอ คือ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง และกิ่งอำเภอภูเพียง ผลการวิจัยพบว่า 1) สัตภัณฑ์แบบขั้นบันไดที่พบในจังหวัดน่านนั้น มีความหลากหลายทางด้านรูปแบบมากกว่าสัตภัณฑ์ที่พบในจังหวัดแพร่ แต่ทั้งนี้ไม่สามารถจำแนกความแตกต่างได้ชัดเจน 2) สัตภัณฑ์หรือเชิงเทียนของไทลื้ออาจมีการลดทอนองค์ประกอบจากสัตภัณฑ์ไทยวนให้มีเอกลักษณ์เป็นของชาวไทลื้อเอง และ 3) การเรียกเชิงเทียนของไทลื้อว่า “สัตภัณฑ์” โดยการเทียบจากสัตภัณฑ์ของชาวไทยวนที่เป็นการจำลองภูเขาสัตบริภัณฑ์ ที่ล้อมรอบภูเขาพระสุเมรุ จึงถูกต้องในแง่ของคติความหมายที่แฝงไว้ เนื่องจากสัตภัณฑ์ของไทลื้อแสดงให้เห็นว่ายังมีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ด้วย |
วรรณกรรมไทลื้อ หมากโกกเต้าเมืองแช่ใหลอง ตำนาน ความรัก ความตาย | เรณู วิชาศิลป์ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=94655&query= | กลุ่มผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปริวรรตเนื้อเรื่องให้เป็นภาษาไทย แล้วนำมาศึกษาภูมิหลังของเมืองแช่ และเมืองเชียงเจือง ซึ่งเป็นสถานที่เกิดตำนานความรักสะเทือนใจ ศึกษาวิเคราะห์เนื้อเรื่องในมิติทางวรรณกรรมและในบริบททางสังคม นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายให้งานนี้เป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาวรรณกรรมไทลื้ออีกเรื่องหนึ่ง การดำเนินการวิจัยมีทั้งวิจัยเอกสารต้นฉบับ สื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์วีซีดี และวิจัยภาคสนามโดยเดินทางไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องคือเมืองแช่ และเมืองเชียงเจือง รวมทั้งชาวไทลื้อในเมืองอื่น ๆ เพื่อสัมภาษณ์ชาวบ้านหลายวัย หลายอาชีพ ผลการศึกษาพบว่า มีต้นฉบับลายลักษณ์อยู่ 4 สำนวน เป็นภาษาเขียนไทลื้อทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ ภาพยนตร์วีซีดี 1 ชุด (7 แผ่น) มีเนื้อหาหลักไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ลีลาการนำเสนอแตกต่างกัน ส่วนในมิติทางวรรณกรรมและในบริบททางสังคมนั้น ผู้ประพันธ์นำเสนอความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสองเมืองนี้ ซึ่งเป็นภาพที่คู่ขนานไปกับบทบาทของตัวละคร นอกจากนี้ วรรณกรรมเรื่องนี้ ยังเป็นเครื่องมือที่ชนชั้นใต้ปกครองใช้ต่อสู้อำนาจรัฐ และมีบทบาทในการรักษาบรรทัดฐานทางพฤติกรรมให้สังคม โดยสะท้อนออกมาในรูปแบบของการสืบทอดเรื่องเล่าและปฏิบัติกันมาจนบัดนี้ |
การสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการศึกษาสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษาเรือนไทลื้อ | กลวัชร คล้ายนาค | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=94093&query= | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย กรณีศึกษา เรือนไทลื้อและศึกษาประสิทธิผลการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เสมือนที่นำเสนอสารสนเทศด้วยความเป็นจริงเสมือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ พิพิธภัณฑ์เสมือนเรือนไทลื้อและแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (Pre-test & Post-test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ T-test ร่วมกับสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ผลการศึกษาพบวาภายหลังการใชสื่อพิพิธภัณฑเสมือนเรือนไทลื้อ นักเรียนมีความเขาใจเนื้อหาเกี่ยวกับเรือนไทลื้อตามผลการเรียนที่คาดหวังอยูในช่วงคะแนนตามมาตรฐานการเรียนรู สวนผลการประเมินของผูเชี่ยวชาญในภาพรวมทั้งในดานของเนื้อหาและดานการออกแบบมีระดับคาความพึงพอใจในภาพรวมอยูในระดับที่พึงพอใจมาก จึงกลาวไดวาสื่อพิพิธภัณฑเสมือนจริงเพื่อสงเสริมการศึกษาสถาปตยกรรมไทย กรณีศึกษาเรือนไทลื้อสามารถใชในการสงเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรือนไทลื้อ เพราะเกิดการเรียนรูในเรื่องผังบริเวณ ประโยชนใชสอยภายในและลักษณะโครงสรางของเรือนไดเปน อย่างดี |
การศึกษาภาวะสุขภาพของประชาชนชาวไทลื้อและชาวไทยพื้นเมือง ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย | ศิรสิทธิ์ วงศ์ชัย | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=4488&query= | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชนชาวไทยลื้อและชาวไทยพื้นเมือง ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนชาวไทยลื้อและชาวไทยพื้นเมือง อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 344 คน วิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณ ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชนด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม รวม 4 ด้าน พบว่า ชาวไทยลื้อ มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี และชาวไทยพื้นเมือง มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชน รวม 4 ด้าน และหมวดสุขภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม ระหว่างชาวไทยลื้อและชาวไทยพื้นเมือง พบว่า ไม่มีความแตกต่าง |
มิติทางวัฒนธรรมในการเสริมสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อระหว่างแนวชายแดนไทย-ลาว | นาวิน พรมใจสา | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=4353&query= | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ที่ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เป็นการวิจัยที่ทำการศึกษาสภาพต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่ ด้วยเทคนิควิธีการวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Design) และแบบชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความอยู่เย็นเป็นสุขของชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อระหว่างแนวชายแดนไทย – ลาว และมิติทางวัฒนธรรมในการเสริมสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขของชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ โดยที่การวิจัยเชิงปริมาณได้สร้างแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แล้วเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายของประชากรที่ศึกษา คือ หัวหน้าครอบครัวในชุมชนบ้านหาดบ้าย ประเทศไทยและบ้านน้ำเกิ๋งใหม่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวนทั้งหมด 203 คน แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยการใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในชุมชนและเดินทางเข้าไปสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน และจดบันทึกอย่างละเอียดในสมุดบันทึกภาคสนาม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการเขียนพรรณนา วิเคราะห์ และตีความเสริมข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ความอยู่เย็นเป็นสุขระหว่างชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในสองชุมชนทั้งไทยและลาวไม่แตกต่างกัน มิติทางวัฒนธรรมไม่มีความสัมพันธ์กับการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนทั้งสองฝั่ง แต่ปัจจัยส่วนบุคคลคือ อายุ สถานภาพสมรส สถานภาพในชุมชน สภาพแวดล้อมของเพื่อนบ้าน ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า มิติทางวัฒนธรรมของชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อระหว่างแนวชายแดนไทย - ลาว มีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันโดยมีประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ไปมาหาสู่กันโดยใช้ความเป็นเครือญาติและความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน มีความสำนึกในชนชั้นของชนเผ่าร่วมกัน ด้านความอยู่เย็นเป็นสุขของชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อระหว่างแนวชายแดนไทย - ลาว มีความอยู่เย็นเป็นสุขคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีของรัฐหรือธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตยและสังคมนิยม |
มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ | ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล | เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551 | Books: TT848.ท425 2551 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062809 | เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้ประมวลมาจากประสบการณ์ในการทำวิจัยเรื่อง “ผ้าไทลื้อ : การศึกษาเปรียบเทียบ” กล่าวถึงวัฒนธรรมทการทอผ้าของชาวไทลื้อเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีกรรม เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชาวไทลื้อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผืนผ้าทอที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่มาจากคลังสะสมของผู้เขียนเอง ผ้าทอไทลื้อคือผลงานทางศิลปะอันประณีต และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมสืบต่อไป |
สุภาษิตไทลื้อ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ | อิสริยาภรณ์ แสงปัญญา | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=222458&query= | การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาวิเคราะหสุภาษิตไทลื้อ ทางดานภาพสะทอนวิถีชีวิต และการใชภาษาในสุภาษิต โดยวิธีการศึกษาคนควาแบบพรรณนาวิเคราะห ผลการศึกษาวิเคราะหพบวาสุภาษิตไทลื้อไดสะทอนภาพวิถีชีวิตของชาวไทลื้อในดานครอบครัว ดานสังคม ดานอาชีพ ดานจริยธรรม ดานปรัชญา ดานการศึกษา ดานสุขภาพ ดานประเพณีและความเชื่อ และดานสภาพธรรมชาติซึ่งเปนวิถีชีวิตที่มีความเปนอยูเรียบงาย ผูกพันกับธรรมชาติและความเชื่อที่มีอิทธิพลของคติทางพุทธศาสนาเปนพื้นฐานในการดํารงชีวิต ซึ่งปรากฏใหเห็นในวิถีชีวิตทุกดานที่มุงแนะนําสั่งสอนใหชาวไทลื้อกระทําแตสิ่งที่ดี เลี่ยงการกระทําที่จะกอใหเกิดความไมสงบสุขในสังคม เพื่อความเปนปกแผนมั่นคงของสังคมและเกิดความเจริญรุงเรืองตอไป ดานการใชภาษาในสุภาษิตไทลื้อ พบวาสุภาษิตไทลื้อมีลักษณะการใชภาษา คือ ความยาวของสุภาษิต การใชคําซ้ำ การใชคำสัมผัส การใชคําในการสอน และการใชโวหารภาพพจน ซึ่งการใชภาษาในสุภาษิตไทลื้อดังกลาว ชวยสรางจุดเดนใหสุภาษิตไทลื้อเกิดความไพเราะสามารถเปนที่จดจําไดงาย และยังชวยใหเขาใจถึงความหมายและมองเห็นภาพ รวมทั้งจุดประสงคที่ตองการสั่งสอนหรือเนนย้ำของสุภาษิตไดดียิ่งขึ้น |
การบรรยายเรื่อง การรื้อฟื้นและการสืบสานวัฒนธรรมลื้อยุคใหม่ในสิบสองปันนา | วสันต์ ปัญญาแก้ว | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2549 | Audio Visual Materials SAC 000097 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00048399 | บันทึกการบรรยายเรื่อง “การรื้อฟื้นและการสืบสานวัฒนธรรมลื้อยุคใหม่ในสิบสองปันนา” โดย ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชาวไทลื้อ ในแคว้นสิบสองปันนา โดยหัวข้อในการบรรยาย ได้คัดเลือกประเด็นที่สำคัญมาจากวิทยานิพนธ์ของ ดร. วสันต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการรื้อฟื้นและการสืบสานวัฒนธรรมลื้อยุคใหม่ในแคว้นสิบสองปันนา นำมาถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ |
ไทแคมของ | บุญยงค์ เกศเทศ | กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, 2549 | Books: DS570.ท97บ72 2549 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00054577 | “ไทแคมของ” ผลงานชาติพันธุ์-ไท ชุดที่ 4 ของบุญยงค์ เกศเทศ เป็นเรื่องราวของชนเผ่าไทที่อยู่ “ริมโขง” หรือ “แคมของ” ไล่เรียงลงมาตั้งแต่ ไทลื้อในสิบสองปันนา จนบรรจบประเทศลาวตอนบน ซึ่งถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์-ไท ที่ใกล้ชิดติดประเทศไทย ที่อย่างน้อยก็มีสิ่งเชื่อมสัมพันธ์เป็นสายน้ำ “โขง” หรือ ลำน้ำ “ของ” อันเดียวกัน ถ่ายทอดด้วยสำนวนภาษา อ่านง่าย ชวนติดตาม พร้อมภาพประกอบสีสวยงามตลอดทั้งเล่ม |
เรือนพื้นถิ่นไทลื้อ บ้านเจียงไต เมืองเชียงรุ้ง แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน | นพดล ตั้งสกุล | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=174137&query= | การศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นลักษณะของการจัดระบบทางสังคมบางประการที่ส่งผลต่อรูปแบบและการวางผังพื้นของเรือน เช่น ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรือน การกำหนดพื้นที่ภายในเรือน ประเพณีของชาวไทลื้อในการแยกเรือนและการจัดระบบแรงงานในการปลูกเรือน เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ยังส่งผลต่อการกำหนดทิศทางของการจัดวางเรือนที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่ตั้งของชุมชน ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับเรือน ซึ่งเป็นการสนับสนุนและสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่ว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมแห่งการอยู่อาศัยของชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีของสังคมอย่างแท้จริง |
การทอผ้าไทลื้อกลุ่มแม่บ้าน บ้านธาตุสบแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | ภัทริน กุสุพลนนท์ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=97510&query= | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทอผ้าไทลื้อกลุ่มแม่บ้าน บ้านธาตุสบแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการดำเนินการการศึกษาจากเอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีความรู้ความชำนาญในการทอผ้าไทลื้อ 8 คน ผู้สืบทอดการทอผ้าไทลื้อ 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำมาวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอแบบบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า การทอผ้าของชาวไทลื้อทั้งในอดีตและปัจจุบัน ยังคงใช้กี่ทอมือเป็นอุปกรณ์หลัก ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ทั้งฝ้ายและการย้อมสี ในอดีตมักทอผ้าไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ในปัจจุบันมีการทอผ้าไว้จำหน่าย ผู้ทอผ้าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ส่วนผู้ชายจะช่วยในด้านประกอบอุปกรณ์ เมื่อมีเวลาว่างจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ลวดลายของผ้าทอไทลื้อที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ ลายผักแว่น และลายน้ำไหล ซึ่งเป็นลวดลายดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นลวดลายใหม่ขึ้นมา เช่น ลายก้างปลา ลายเล็บมือนาง ลายหางปลาเล็ก ลายหางปลาใหญ่ เป็นต้น ส่วนการสืบทอดการทอผ้าจะมีผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเป็นผู้ฝึกสอน โดยเรียนรู้และฝึกหัดด้วยตนเอง |
ประเพณีสงกรานต์ของชาวไทลื้อ | ไมเคิล มอร์แมน | กรุงเทพฯ : ศูนย์, 2548 | Audio Visual Materials SAC 000433 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060217 | บันทึกภาพงานประเพณีสงกรานต์ของชาวไทลื้อบ้านแพด ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา เช่น การทำขนมสำหรับวันสงกรานต์ การขนทรายเข้าวัด การก่อเจดีย์ทราย การค้ำวิหาร การทำบุญในวันสงกรานต์ พิธีบูชาเทวดาบ้าน เป็นต้น โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามของ ศาสตราจารย์ไมเคิล มอร์แมน ในปี ค.ศ. 1986 |
The anthropologist as infomant : 45 years of encounters with a Tai Lue community Michael Moerman. | Michael Moerman | Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre, 2548 | Audio Visual Materials SAC 000556 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00042483 | บันทึกภาพการเสวนาเรื่อง “The anthropologist as informant : 45 years of encounters with a Tai Lue community” โดยมีวิทยากร คือ ศาสตราจารย์ไมเคิล มอร์แมน ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่สนใจกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมาประเทศไทยเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่บ้านแพด อ. เชียงคำจ. พะเยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501-2532 ดร. มอร์แมน ได้ศึกษาวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจต่อไป |
การปรับเปลี่ยนอาชีพขายแรงงานข้างถนนในเมืองลำปางของชาวบ้านไทลื้อ | ศุภมาส รัตนชูวงศ์ | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=87321&query= | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาการปรับเปลี่ยนในอาชีพขายแรงงานข้างถนนในเมืองลำปางของชาวบ้านไทลื้อ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งผลของการปรับเปลี่ยนอาชีพต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชน การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มไทลื้อที่มาขายแรงงาน กลุ่มผู้ว่าจ้างแรงงานและชาวบ้านกล้วยหลวง จากนั้นได้นำข้อมูลมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำมาเขียนรายงานการวิจัยในรูปแบบของการบรรยายเชิงวิเคราะห์ สรุปผลได้ดังนี้ การปรับเปลี่ยนอาชีพขายแรงงานข้างถนนในเมืองลำปางของชาวบ้านไทลื้อ มีการปรับเปลี่ยน ในเรื่องการรวมตัวของกลุ่ม วัฒนธรรมและสังคม กฎและกติกา รวมทั้งระบบการจัดการ การแบ่งปันรายได้และกิจกรรมภายในกลุ่ม อายุและวัย ฐานะทางครอบครัว เป็นต้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนอาชีพขายแรงงาน ข้างถนนของชาวบ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง คือ การเรียนรู้และการถ่ายทอด ความคิดและความรู้สึกของคน ทั้งภายในและภายนอกชุมชน การเข้ามาของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงสังคมเศรษฐกิจในชุมชน |
ผ้าทอไทลื้อ : เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง | ลำแพน จอมเมือง | กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2546 | Books: HC445.น6ล68 2546 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036678 | การศึกษาเรื่องนี้ มุ่งศึกษาถึงแบบแผนการทอผ้าของชุมชนไทลื้อในอดีต ตลอดจนสถานภาพของชุมชนกับการจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง และบทบาทธุรกิจชุมชนกับการพัฒนาทางเลือกในการพึ่งตนเองของชุมชน โดยมีกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติร่วมกัน ทั้งจากการดำเนินงานร่วมกัน การประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น การวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การเข้าร่วมกิจกรรม ประเพณี พิธีกรรม รวมทั้งการสำรวจและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แล้วนำมาสังเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์บริบทที่เกี่ยวข้องกัน |
การศึกษาบทสู่ขวัญและพิธีสู่ขวัญของชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน | สมพงษ์ จิตอารีย์ | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 | Books: DS570.ล7ส4 2545 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045789 | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาบทสู่ขวัญและพิธีสู่ขวัญของชาวไทลื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บทสู่ขวัญ บทบาทและหน้าที่ของพิธีสู่ขวัญในบริบททางสังคม และวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ พื้นที่ที่ทำการวิจัยคือ หมู่บ้านเก็ต บ้านเฮี้ย บ้านตีนตก อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยศึกษาเนื้อหาของบทสู่ขวัญจากข้อมูลที่สืบทอดทาง มุขปาฐะ และข้อมูลจากเอกสารภาษาล้านนา รวบรวมข้อมูลจากวิทยากรขณะประกอบพิธีสู่ขวัญในสถานการณ์จริงด้วยเครื่องบันทึกเสียง การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประเภทของบทสู่ขวัญแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ บทสู่ขวัญในพิธีเปลี่ยนผ่าน บทสู่ขวัญที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล บทสู่ขวัญสำหรับบุคคลที่สำคัญในชุมชนและบทสู่ขวัญเกี่ยวกับการเกษตร รูปแบบคำประพันธ์มีลักษณะเป็นร่าย มีร้อยแก้วแทรกอยู่ในบางวรรค ใช้ภาษาเรียบง่าย ใช้ศัพท์บาลีปนอยู่บ้าง มีการใช้ภาษาเป็นลักษณะการบรรยายและการพรรณนาความ การประกอบพิธีสู่ขวัญแต่ละประเภทมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีเช่นเดียวกันทุกพิธี คือ การเตรียมขันบายศรีและเครื่องประกอบพิธีอื่น ๆ การจัดเตรียมขันตั้งอาจารย์ ลำดับขั้นตอนของการประกอบพิธีสู่ขวัญแต่ละประเภทเป็นลักษณะเดียวกัน |
ลัทธิถือผีกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนไทลื้อบ้านแฮะ | ภุชงค์ มหาวงศนันท์ | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 | Books: DS570.ล7ภ72 2545 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038636 | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและความเชื่อเรื่องผีชองชาวไทลื้อที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการร่วมมืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งได้รับอิทธิพลจากลัทธิถือผี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้นำชุมชนจำนวน 12 คน และสมาชิกในชุมชนจำนวน 167 คน ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้นำชุมชน ส่วนสมาชิกนั้นให้ตอบแบบสอบถามอย่างมีโครงสร้างซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จากการศึกษาพบว่า ชาวไทลื้อชุมชนบ้านแฮะมีความเชื่อในเรื่องผี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการร่วมมืออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และน้ำ มีความแตกต่างกันของระดับความเชื่อในกลุ่มอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเชื่อเรื่องผีคงอยู่อย่างเหนียวแน่นในทุกกลุ่ม |
การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของชุมชนไทลื้อ | วันดี สมรัตน์ | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544 | DS570.ล6ว63 2544 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038569 | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ และกลไกที่คนไทลื้อใช้ในการผลิตซ้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ หัวหน้าครอบครัว ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโส ครู กลุ่มองค์กรในชุมชน สังเกตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในชุมชน สรุปผลการศึกาวิจัยได้ดังนี้ ชาวไทลื้อมีความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิม มีการนับถือผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีปู่ย่า ผีบ้าน เทวดาบ้าน เจ้าป่า นอกจากนี้ชาวไทลื้อยังมีความเชื่อในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ชุมชนชาวไทลื้อมีการผลิตซ้ำด้านค่านิยม 4 ด้าน ได้แก่ ค่านิยมการแต่งกายแบบไทลื้อในเวลามีงานประเพณีต่าง ๆ ค่านิยมการใช้ภาษาไทลื้อในชีวิตประจำวัน ค่านิยมการบริโภคอาหารแบบดั้งเดิม และค่านิยมการจับกลุ่มพูดคุยกันยามว่าง ด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนมักยึดเอาผู้อาวุโสและหัวหน้าครอบครัวเป็นหลักในการปฏิบัติ คนในชุมชนนับถือกันเหมือนพี่น้อง นอกจากนี้ชุมชนยังมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะพึ่งพา และความสัมพันธ์ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่ต้องปฏิบัติตาม ใครฝ่าฝืนจะทำให้เกิดอาเพทเรื่องร้ายในชีวิต |
เจ้าเจืองหาญวีรบุรุษไทลื้อ : ตำนาน มหากาพย์ พิธีกรรม | ประคอง นิมมานเหมินท์ | กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | GR312.5.ท97ป45 2554 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00082200 | พญาเจือง ขุนเจือง หรือท้าวเจือง เป็นชื่อวีรบุรุษเรืองนามที่ปรากฏเรื่องราวในตำนานของล้านนาและมหากาพย์ของชนชาติไทหลายสำนวน หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงตำนานบอกเล่าและบทร้อยกรองพื้นบ้านประเภทมหากาพย์ที่แต่งขึ้นสดุดีเจ้าเจืองหาญ วีรบุรุษไทลื้อ สอบสองพันนา รวมทั้งพิธีเซ่นไหว้เทวดาเจืองหาญในฐานะที่เป็นเทพารักษ์เมืองเชียงเจือง ซึ่งผู้เขียนได้ไปร่วมในพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่จัดขึ้นครั้งล่าสุด |
แบบแผนการผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ กรณีศึกษาอำเภอเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา | จารุวรรณ วนาลัยเจริญจิต | เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543 | Books: DS570.ล7จ64 2543 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045087 | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบแผนการผลิต และความสัมพันธ์ในการผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และ 2) ศึกษาการบริหาร การจัดการด้านการผลิต การขาย และการจัดการภายในกลุ่มของสตรีที่ทอผ้าไทลื้อ โดยประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน 55 คน แบ่งขั้นตอนการศึกษาเป็น 2 ด้าน คือ การศึกษาจากเอกสารและการศึกษาภาคสนาม ข้อสรุปจากการศึกษาครั้งนี้คือ งานทอผ้าไทลื้อสามารถเป็นอาชีพทางเลือกทางหนึ่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชน สามารถสร้างงานและรายได้ ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการส่งเสริมทักษะความชำนาญดั้งเดิมของชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ถาวรในอนาคตได้ต่อไป |
ตุงไทลื้อในเขต อ.เชียงคำ และ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา | สุรชัย คำสุ | เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543 | Books: BQ5125.F6ส74 2543 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045964 | ตุงผ้าไทลื้อ เป็นงานหัตถกรรมที่สืบทอดกันมานานนับศตวรรษ เป็นการสร้างสรรค์งานตามความเชื่อของสังคมล้านนาที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในเรื่องภูติผีปีศาจ และความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา การแสวงหาสิ่งยึดเหนียวจิตใจตนเอง ตุงไทลื้อนับว่าเป็นงานหัตถกรรมชิ้นเอกที่ชาวไทลื้อสร้างและยอมรับเพื่อใช้ประกอบอานิสงค์ในการถวายทานทางพระพุทธศาสนา ตุงไทลื้อสามารถอธิบายความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมของกลุ่มชนไทลื้อได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม ความเชื่อในการสร้างวัสดุ และเทคนิคที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ |
พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวไทลื้อ ชาวม้งและชาวเย้า ในบางพื้นที่ของจังหวัดน่าน | จันทรารักษ์ โตวรานนท์ | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 | Books: QK364.จ64 2541 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00047266 | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชในการดำรงชีวิตของชาวไทลื้อ หมู่บ้านเฮี้ย อ.ปัว ชาวม้ง หมู่บ้านดอยติ้ว และชาวเย้า หมู่บ้านสันเจริญ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งการศึกษาจากการสอบถามชนิดพืชจากชาวพื้นเมืองโดยตรงถึงส่วนที่นำมาใช้ วิธีการใช้และประโยชน์จากการใช้ โดยจะนำตัวอย่างพืชที่ได้มาตรวจสอบถึงชื่อชนิดจากลักษณะทางสันฐานวิทยา จากการศึกษาพบตัวอย่างพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ 273 ชนิด 221 สกุล 98 วงศ์ แบ่งเป็นพืชอาหาร 98 ชนิด สมุนไพร 162 ชนิด พืชเศรษฐกิจ 11 ชนิด และพืชประโยชน์อื่น ๆ 31 ชนิด |
การศึกษาวิเคราะห์การใช้คำของคนไทลื้อสามระดับอายุที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | ชญานนท์ แสงศรีจันทร์ | กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541 | Books: PL4251.ล7ช26 2541 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028236 | การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำของคนสามระดับอายุ โดยใช้คำศัพท์จำนวน 800 คำ ประกอบด้วยคำนาม 500 คำ คำกริยา 200 คำ คำวิเศษณ์ 85 คำ และคำสรรพนามและแสดงคำถาม 15 คำ นำไปสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษไทลื้อ จำนวน 75 คน ใน 25 หมู่บ้าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับอายุ คือ อายุ 56 – 70 ปี จำนวน 25 คน อายุ 36 – 50 ปี จำนวน 25 คน และอายุ 16 – 30 ปี จำนวน 25 คน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การใช้คำ 800 คำของคนไทลื้อสามระดับอายุ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) ทั้งสามระดับอายุใช้คำศัพท์เหมือนกัน มีจำนวน 418 คำ 2) ทั้งสามระดับอายุใช้คำศัพท์แตกต่างกัน มีจำนวน 91 คำ 3) สองระดับอายุคำศัพท์เหมือนกัน อีกระดับอายุหนึ่งใช้คำศัพท์แตกต่างออกไป มีจำนวน 291 คำ ในหมวดคำต่าง ๆ นั้น หมวดคำที่ทั้งสามระดับอายุใช้คำศัพท์เหมือนกันมากที่สุด คือ หมวดคำสรรพนามและแสดงคำถาม รองลงมาคือหมวดคำวิเศษณ์ และหมวดคำนามตามลำดับ |
แบบแผนการผลิตงานหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมือง : กรณีศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดน่าน | ธวัชชัย วงศ์ธนาสุนทร | [กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], 2540 | Books: HC445.น6ธ56 2540 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037651 | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาแบบแผนการผลิตและความสัมพันธ์ในการผลิตงานหัตกรรมทอผ้าพื้นเมือง 2) วิเคราะห์ผลกระทบของงานทอผ้าพื้นเมืองต่อรายได้และการจ้างงานในหมู่บ้านที่ศึกษา และ 3) นำเสนอการจ้างงานที่อาศัยการส่งเสริมระบบการผลิตและเทคนิคพื้นบ้านซึ่งดำรงอยู่ภายในชุมชน โดยได้เลือกพื้นที่ในการศึกษา คือ หมู่บ้านตีนตกและหมู่บ้านหัวน้ำ ตำบลศิลาแลง อำเภอปัวจังหวัดน่าน รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และสังเกตการณ์ภาคสนาม จำนวน 44 ราย ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า การรวมกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองในลักษณะสหกรณ์ เกิดการกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ต้องการส่งเสริมความชำนาญพื้นบ้าน ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เพิ่มการจ้างงานและรายได้ ลดการว่างงานและลดการอพยพแรงงานออกจากหมู่บ้านได้ในระดับหนึ่ง ปัญหาที่กลุ่มทอผ้าประสบอยู่ คือ วัตถุดิบฝ้ายมีราคาสูงขึ้น ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ และตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง ข้อสรุปสำคัญของการศึกษาครั้งนี้ คือ งานรับมาทำที่บ้าน ซึ่งมีพื้นฐานของวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นมีฐานะที่เหนือกว่าการรับเหมาช่วงการผลิตจากโรงงาน กล่าวคือ งานประเภทแรก ส่งเสริมทักษะฝีมือดั้งเดิมของชุมชนให้เข้มแข็งกว่า ทำให้ชาวบ้านมีอำนาจการต่อมากกว่า และมีศักยภาพสูงกว่า สามารถเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคตได้ |
ไทลื้อเมืองน่าน : รายงาน | ยงยุทธ ไชยศิลป์ | [เชียงใหม่ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่], 2540 | Books: DS570.ล7ย24 2540 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045082 | ายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของชาวไทลื้อ ตั้งแต่ที่มา ถิ่นกำเนิด การอพยพ การตั้งถิ่นฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ พิธีกรรมและความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมถึงภาษาไทยลื้อและการละเล่นต่าง ๆ ของชาวไทลื้อ |
กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของชาวไทยลื้อ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพร | องอาจ พรมไชย | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539 | Books: RS164.อ25 2539 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045274 | การวิจัยเรื่องนี้มัวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้ของชาวไทลื้อ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพรที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเพื่อศึกษาการยอมรับของประชาชน ในการรักษาพยาบาลด้วยยาสมุนไพรของประชาชนในชุมชนชนบทของชาวไทลื้อ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีผสมผสานกัน ผลการศึกษาพบว่า ชาวไทลื้อในชุมชนแห่งนี้มีการถ่ายทอดความรู้ด้วยการสืบความรู้จากบรรพบุรุษ และมีการถ่ายทอดความรู้กันในลักษณะการกล่อมเกลาทางสังคม โดยครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้จากผู้รู้เช่น พระ ผู้อาวุโส หมอพื้นบ้าน ทั้งภายในและภายนอกชุมชน การยอมรับการรักษาพยาบาลด้วยยาสมุนไพรของประชาชนในชนบท ยังให้การยอมรับและศรัทธา ส่วนมากผู้ใหญ่ยังมีความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้และยังนิยมใช้กันอยู่ แต่คนสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน ให้การยอมรับยาสมุนไพรน้อยกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากคนเหล่านั้นได้เรียนรู้การรักษาพยาบาลจากสื่อต่าง ๆ และจากสาธารณสุข ให้รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยและการรักษาพยาบาลด้วยวิธีวิทยาศาสตร์มากกว่าวิธีแพทย์แผนโบราณ แต่ปัจจุบันก็ยังพบว่า การรักษาด้วยการแพทย์แผนโบราณยังมีอยู่ประชาชนทุกกลุ่มควบคู่ไปกับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน |
ไทลื้อ : อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ | รุจยา อาภากร | กรุงเทพฯ : มติชน, [2539?] | Books: DS570.ล7ท95 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046447 | หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นโดย สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดทำโครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธ์ล้านนา ในลักษณะการสร้างแนวคิด เพื่อนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 3 กลุ่มคือ ไทยอง ไทใหญ่ และไทลื้อ โดยรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อสร้างรูปแบบพิพิธภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา ในแบบที่เป็นจริงและพิพิธภัณฑ์เสมือน เผยแพร่ในเว็บไซต์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของทุกฝ่าย และสนับสนุนการเรียนการสอนและการทำวิจัยทางด้านชาติพันธุ์ในล้านนา สิ่งสำคัญในการจัดทำโครงการนี้ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเขตภาคเหนือ และสืบทอดมรดกอันดีงามแก่คนรุ่นใหม่ในชุมชนต่อไป |
ชาวไทลื้อในจังหวัดน่าน | รัตนาพร เศรษฐกุล | เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ , 2538 | Books: DS570.L84ร63 2538 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00025057 | จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีชุมชนลื้อจำนวนมาก จากการศึกษาพบว่ามีการอพยพชาวลื้อทั้งจาก สิบสองปันนาตอนใต้และตอนเหนือของลาวเข้าสู่เมืองน่านอยู่เสมอ โดยการอพยพนี้ไม่มีความขัดแย้งกับชาวยวน ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าของถิ่น เพราะทั้งสองต่างมีระบบการปกครองแบบศักดินา เจ้านายและไพร่มีความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ มีการนับถือผีและมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของสังคม ดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรม ทำให้ชาวลื้อใกล้ชิดผูกพันกับธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวลื้อนั้นคล้ายคลึงกับชาวยวนอย่างมาก จนยากที่จะแบ่งแยกความเป็นลื้อและยวน ภายใต้กระแสของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชุมชนลื้อได้ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ความเป็นลื้อค่อย ๆ เลือนหายไปพร้อมกับความเป็นยวนของวัฒนธรรมยวน วัฒนธรรมแบบตะวันตกแบบทุนนิยมเข้ามาแทนที่ เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจริญถึงขีดสุด ประเพณีวัฒนธรรมลื้อก็กลายเป็นความแปลกที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถให้ประโยชน์แก่ท้องถิ่นได้ |
นิทรรศการวัฒนธรรมการใช้ผ้าไทลื้อเมืองเงิน | อนุกูล ศิริพันธุ์ | ไม่ระบุ | สยามอารยะ | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมเครื่องนุ่งห่มของชาวไทลื้อในเมืองเงิน จึงได้จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการแสดงนิทรรศการ “ผ้าไทลื้อ” เชียงฮ่อน – หงสา และเมืองเงิน จากประเทศลาว ซึ่งเป็นของสะสมของนักศึกษาที่สนใจและกำลังศึกษาเรื่องราวของวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน |
|
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมบางประการของชาวไทลื้อ | จารุวรรณ พรมวัง | กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 | Books: DS570.L84จ64 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018049 | ารศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม 4 เรื่อง คือ ประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อ ได้แก่ประเพณีการตานธรรม พิธีส่งเคราะห์เฮิน (บ้าน)-หมู่บ้าน-เมือง ประเพณีการแต่งกาย และภาษา โดยศึกษาชุมชนไทลื้อบ้านทุ่งมอก หมู่ที่ 5 ตำบลมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมโดยทั่วไปของชาวไทลื้อ 2) เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ 3) เพื่อศึกษาการรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อแต่ละกลุ่ม วัฒนธรรม 4 เรื่องที่นำมาศึกษา ปรากฏว่าวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ การแต่งกาย มีการเปลี่ยนแปลงน้อยคือ ภาษา สำหรับประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทั้ง 2 ด้าน มีทั้งเปลี่ยนไป และคงรูปแบบเดิมบางประการไว้ ขั้นตอนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือ การนำมาทดลอง สำหรับการรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อนั้น ผู้ที่มีการศึกษา อายุน้อย และสถานะทางสังคมที่สูง จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยและอายุมาก กล่าวโดยสรุป คือ วัฒนธรรมของชาวไทลื้อมีการเปลี่ยนแปลงที่งในรูปการรับวัฒนธรรมใหม่ และธำรงเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ |
วรรณกรรมไทลื้อไทเขินเรื่องสุมังคละ ปทุมมุกขะ | อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ | [เชียงใหม่] : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532 | Books: PL4251.ล7ว45 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001421 | วรรณกรรมไทลื้อเรื่อง “สุมังคละ” และวรรณกรรมไทเขินเรื่อง “ปทุมมุกขะ” ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นนี้ เป็นผลงานอันดับที่ 3 ที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับสถาบันฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ โดยมี ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์ เป็นผู้ดำเนินการปริวรรตวรรณกรรมทั้ง 2 เรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทเขิน เพราะจะได้เห็นถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างในด้านภาษาและวรรณกรรม รวมถึงให้ความเข้าใจวัฒนธรรมของชาวไทเขินอีกด้วย |
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทลื้อ | จุฑามาศ สนกนก | เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ , 2530 | Books: DS570.ท9จ73 2530 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00025051 | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทลื้อ และศึกษาว่าสังคมและวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ชาวไทลื้อยังคงอนุรักษ์ไว้หรือเลิกปฏิบัติแล้ว ตลอดจนศึกษาเหตุผลที่ยังคงอนุรักษ์ไว้หรือเลิกปฏิบัติ รวมทั้งศึกษาถึงประชากรไทลื้อที่มีอายุต่างกัน การศึกษาต่างกัน มีเหตุผลในการอนุรักษ์หรือเลิกปฏิบัติต่างกันหรือไม่ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 148 คน ในหมู่บ้านแม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ผลการศึกษาวิจัยสรุปดังนี้ เหตุผลที่ทำให้สังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทลื้อเปลี่ยนแปลงไป คือ สังคมและวัฒนธรรมนั้นไม่เหมาะกับสมัย วัฒนธรรมบางอย่างชาวไทลื้อเลิกปฏิบัติมานานแล้ว จนประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างไม่เคยพบเห็นก็มี แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมบางอย่างที่ชาวไทลื้อยังคงอนุรักษ์ไว้ เหตุผลสำคัญคือ เป็นวัฒนธรรมที่เคยปฏิบัติและศรัทธา เหตุผลรองลงมาคือ ทำตามประเพณี ชาวไทลื้อที่มีอายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน มีเหตุผลในการอนุรักษ์หรือเลิกปฏิบัติตามสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมแตกต่างกัน |
วิเคราะห์วรรณกรรมไทยลื้อเรื่องคำขับลังกาสิบหัว | เจริญ มาลาโรจน์ | กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529 | Books: PL4251.L8จ74 2529 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005688 | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องระบบอักษรไทยลื้อ ภาษาไทลื้อและองค์ประกอบทางวรรณกรรม จากวรรณกรรมไทยลื้อเรื่อง คำขับลังกาสิบหัว เนื้อหาวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 6 บท โดยมีผลการวิจัย คือ ระบบอักษรไทยลื้อ ประกอบด้วยอักษรและอักขรวิธีเป็นแบบเฉพาะตัว ประกอบด้วยอักษรแทนเสียงพยัญชนะ 43 รูป อักษรแทนเสียงสระ 20 รูป อักษรแทนเสียงวรรณยุกต์ 2 รูป เมื่อนำมาประกอบกันเป็นรูปคำจะจัดเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน การประกอบรูปคำมีโครงสร้างพื้นฐาน 7 แบบ ภาษาไทยลื้อที่ใช้ในวรรณกรรมเรื่องนี้ส่วนมากจะเป็นคำภาษาไทยมากกว่าจะเป็นคำยืมจากภาษาบาลี – สันสกฤต หรือภาษาเขมร ส่วนใหญ่มักเป็นคำพยางค์เดียว และเป็นคำที่ใช้ร่วมกันระหว่างภาษาไทยราชการของประเทศไทยกัยภาษาไทยลื้อมากกว่าจะเป็นคำเฉพาะภาษาไทยลื้อ |
108 คำโบราณไทลื้อ | ทวี สว่างปัญญางกูร | เชียงใหม่ :โครงการล้านนา-สิบสองปันนาศึกษา, 2529 | Books: PL4191.ท55 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037980 | “108 คำโบราณไทลื้อ” เล่มนี้ ผู้เขียนได้คัดจากหนังสืออักษรไทลื้อใหม่และอักษรจีน ชื่อว่า “คำโบราณภาษาไท (ไต)” “ลิ้นซ้อน ต๊าวเวิ้นซ้อโกดภ่าย” และ “ยิ่นน่านมิ่นซู้ซู้ปานเส่อ” โดย มรว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำมาจากมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และมอบให้ผู้เขียนปริวรรตเป็นภาษาไทย ซึ่งหนังสือ “คำโบราณภาษาไท (ไต)” ล้านนาคดีบทความวิชาการองอาจได้รวบรวมภาษิตไทลื้อไว้ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าอย่างสูง |
การใช้ภาษาของชาวไทยลื้อในหมู่บ้านเชียงบาน ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาว์ ; การศึกษาทางมานุษยคดีด้านการพูด | รพีพร รักมนุษย์ | ไม่ระบุ | Books: PL4191.ท9ร36 2528 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056311 | การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบของการพูด และกฎการพูดของชาวไทยลื้อในหมู่บ้านเชียงบาน ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสังเกต และเข้าไปอยู่ร่วมในชุมชนภาษาไทยลื้อเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อสอบถามข้อมูลทางภาษาจากชาวไทยลื้อ และได้บันทึกคำพูดของชาวไทยลื้อจากสถานการณ์การสื่อสารต่าง ๆ ด้วยเครื่องบันทึกเสียง จากการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบของการพูดในสถานการณ์การสื่อสารที่บ้าน โรงเรียน ตลาด และวัด มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการพูด 2) กฎการเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม และการเลือกใช้แบบของสาร จะต้องให้เหมาะสมกับบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัย เพศ ฐานะทางสังคม ความสัมพันธ์กับผู้พูด และความสนิทสนมกับผู้พูด อีกทั้งการพูดในแต่ละประเภทของสภาพการณ์การพูดและการโต้ตอบกัน จะต้องให้เหมาะสมกับบุคคล และสภาพแวดล้อมของเหตุการณ์ |
ลื้อ : คนไทยในประเทศจีน (ไทยสิบสองปันนา เล่ม 2) | บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ | [พระนคร : ม.ป.พ., 2497] | Books: DS570.ท9บ72 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015156 | สิบสองปันนา เป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทยเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกตนเองว่า “ไตลื่อ” หรือ “ไตลื้อ” อยู่ตอนใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวถึงความเป็นอยู่ จารีตประเพณี วัฒนธรรม ศิลปกรรม การแต่งกาย ภาษา และเรื่องราวอื่น ๆ ของชาวไตลื้อในแคว้นสิบสองปันนาไว้ เพื่อเป็นสมบัติของชาติ และให้นักศึกษารุ่นต่อไปได้ค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาติไทยต่อไป |