Title Author Imprint Collection Url Annotation
ชนชาติไท : รวมบทความ ไม่ระบุ ไม่ระบุ DS563.5.ท9 ช32 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028982 หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับชนชาติไท ได้แก่ ไทอาหม ไทอ่ายตอน
ไทพ่าเก ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทดำ ไทขาว ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เวียดนาม ลาว จีน และออสเตรเลีย

 
จากรักโรแมนติก สู่การต่อสู้ทางชนชั้น อ่าน “ส่งชู้สอนสาว” วรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไตดำ ในเวียดนาม ยุกติ มุกดาวิจิตร กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2561 Books: GR312.ย72 2561 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094461 วรรณกรรมเรื่อง “ส่งชู้สอนสาว” เป็นวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไตดำในเวียดนาม ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของวรรณกรรมที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะในบริบทของวรรณกรรมไตดำที่มีต่อวงการวรรณกรรมเวียดนาม ความน่าสนใจของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ ผู้เขียนได้เสนอในความนำว่า “ในบรรดาวรรณกรรมไตดำทั้งหมด กล่าวได้ว่า “ส่งชู้สอนสาว” เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับชาวไตดำ ทั้งนี้ถ้าจะเป็นเพราะเนื้อเรื่องที่มีรายละเอียดของเนื้อหาที่ใกล้ชิดกับขีวิตความเป็นอยู่ของคนไตดำในอดีตเป็นอย่างยิ่ง”
Year: 2561
 
อย่าเฮ็ดบาปแม่หม้าย ล้อม เพ็งแก้ว ไม่ระบุ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 38, ฉบับที่ 10 (ส.ค. 2560), หน้า 76-77 http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068397 บทความนี้ ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ของตนเอง โดยได้กล่าวถึงข้อห้ามของ
ชาวไทดำ คือ “อย่าเฮ็ดบาปแม่หม้าย อย่าย้ายคันนา อย่าป๋ะแม่ฮ้าง” พร้อมทั้งอธิบายความหมายของข้อห้าม
ทั้ง 3 ข้อ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
ศิลปะบนผืนผ้าดำไทยทรงดำบ้านหนองสองห้อง องค์ บรรจุน ไม่ระบุ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 39, ฉบับที่ 10 (ส.ค. 2561), หน้า 34-45 : ภาพประกอบ http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045219 บทความนี้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาและการแต่งกายของชาวไทยทรงดำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้กล่าวถึงลวดลายบนผืนผ้า ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงตัวตน หมู่เหล่า สถานะ และชนชั้นทางสังคม ผ่านความงดงามทางศิลปะที่เต็มไปด้วยจินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัดของชาวไทยทรงดำ
 
อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา และการสืบสานภาษาชาติพันธุ์ไทดำภาคเหนือตอนล่าง Author: อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา พิษณุโลก : ร้านพิษณุโลกดอทคอม , 2559 Books: PL4191.N6 อ62 2559 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00092247 หนังสือเล่มนี้เป็นผลการวิจัยส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “ภูมิปัญญาภาษาและการสืบสานภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทภาคเหนือตอนล่าง : กระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น” โดยแบ่งออกเป็น 9 บท ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของไทดำภูมิภาคเหนือตอนล่าง บทที่ 3 ระบบเสียง หน่วยคำ และการสร้างคำ บทที่ 4 คำศัพท์วัฒนธรรมและโลกทัศน์ บทที่ 5 ไวยากรณ์สื่อสาร บทที่ 6 วรรณกรรมสำคัญ บทที่ 7 สถานการณ์ภาษาและแนวทางการสร้างคาวมร่วมมือกับชุมชนในการสืบสานภูมิปัญญาภาษาไทดำ บทที่ 8 แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทดำอย่างยั่งยืน และบทที่ 9 บทสรุปและอภิปรายผล
Year: 2559
 
วัฒนธรรมไทโซ่ง : ภาพสะท้อนผ่านเพลงขับสายแปง พิเชฐ สีตะพงศ์ และ ไอยเรศ บุญฤทธิ์ นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556 Books: ML3758.T57 พ32 2556 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00086489 หนังสือเล่มนี้เป็นผลผลิตทางวิชาการภายใต้โครงการวิจัย “ชาติพันธุ์ กระบวนทัศน์ใหม่
ในการสืบสานภาษาและวัฒนธรรม” ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยทุนส่งเสริมกลุ่มการวิจัย เมธีอาวุโส สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2553 – 2556 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทร้องและความหมายของเพลงขับสายแปง ในฐานะภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยโซ่ง ที่สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ โลกทัศน์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศึกษาเพลงขับสายแปงผ่านการใช้สื่อต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาแนวคิดสู่กระบวนทัศน์ในการฟื้นฟูวัฒนธรรม
          หนังสือประกอบด้วย 7 บท บทที่ 1-2 กล่าวถึงความสำคัญและวิธีการวิจัยเพลงขับสายแปง
บทที่ 3 เป็นการปูพื้นเพื่อทำความเข้าใจวัฒนธรรมเพลงขับสายแปงของชาวไทยโซ่งจากการค้นคว้างานเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่วนบทที่ 4-6 นั้น เป็นการนำเสนอผลการวิจัย โดยในบทที่ 4 เป็นการศึกษาเพลงขับสายแปงในแนวทางมานุษยวิทยาการดนตรี บทที่ 5 ศึกษาความหมายและภาพสะท้อนในเพลงขับสายแปง
บท “เข้ากางข่วง” ในแนวทางวัฒนธรรมศึกษา และบทที่ 6 จะนำเสนอการถ่ายทอดเพลงขับสายแปง
สู่กระบวนทัศน์ใหม่ในการสืบสานวัฒนธรรม ส่วนบทสุดท้าย คือ บทที่ 7 เป็นการสรุปผลและข้อเสนอแนะ
ในการวิจัย

Year: 2556
 
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดเพชรบุรี อารี ภาวสุทธิไพศิฐ [นครปฐม] : โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554 Books: AM79.ท9 อ64 2554 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076962 การวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและการพัฒนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์สำหรับศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ และ 2. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ของศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ในด้านกระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ
และความยั่งยืน ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการศึกษาเอกสาร

Year: 2554
 
“ไทดำ” เมืองแถง “ทรงดำ” ถิ่นสยาม จากหนองแฮดถึงหนองปรง บุญยงค์ เกศเทศ กรุงเทพฯ : อินทนิล, 2554 Books: DS570.ล6 บ72 2554 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071165 หนังสือเล่มนี้ รศ.ดร. บุญยงค์ เกศเทศ ได้เล่าเรื่องให้เห็นถึงความเป็นมา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนไทดำในสองถิ่นฐาน ได้แก่ “เมืองแถง” แคว้น “สิบสองจุไท” และ “บ้านหนองปรง”
อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมทั้งมีภาพถ่ายที่ผู้เขียนสะสมไว้ประกอบการเล่าเรื่องอีกด้วย ทำให้หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือสารคดีเชิงวิชาการที่นักศึกษาทางด้านชาติพันธุ์ และนักอ่านทั่วไปจะได้รับทั้งสาระและความรื่นรมย์ไปพร้อมกัน

Year: 2554
 
ทฤษฎีบ้านเมือง ศาสตราจารย์คำจองกับการศึกษาชนชาติไท ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ พิเชฐ สายพันธ์ : บรรณาธิการ กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2553 DS556.45.T35 ท45 2553 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070127 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลงานของศาสตราจารย์คำจอง ซึ่งเป็นชาวไทดำ ท่านได้รวบรวมจดบันทึกและเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์ และข้อมูลวัฒนธรรมของชาวไทดำโดยเฉพาะ รวมถึงชาวไททุกเผ่าและชาวเผ่าอื่น ในดินแดนสิบสองจุไท โดยท่านสามารถประกอบข้อมูลประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นระบบสังคมชนชาติไทในเวียดนาม ในช่วงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 - ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 คือระบบบ้าน - เมือง หรือทฤษฎีบ้านเมือง อธิบายโครงสร้างความสัมพันธ์และการยึดโยงขององค์ประกอบต่าง ๆ ของสังคม สภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ น้ำ ที่ดินเพาะปลูก ป่าเขา การทำมาหากิน ชนชั้น ประเพณี การปกครอง ความเชื่อ พิธีกรรม ฯลฯ และกลไกการทำงานของรับบสังคมสิบสองจุไท ผลงานของท่านถึงเป็นการยืนยันการดำรงอยู่และความสำคัญของสัมคมและวัฒนธรรมไทยสิบสองจุไท
Year: 2553
 
The anthropologist as infomant : 45 years of encounters with a Tai Lue community Michael Moerman Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre, 2548 Audio Visual Materials SAC 000556 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00042483 ศาสตราจารย์ไมเคิล มอร์แมน นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ
กลุ่มชาติพันธุต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการเสวนาครั้งนี้
โดยศาสตราจารย์ไมเคิล มอร์แมน ได้เล่าถึงประสบการณ์การศึกษาเกี่ยวกับชาวไทลื้อ ในประเทศไทย
ตลอดระยะเวลา 45 ปี โดยมีเอกสารบันทึกภาคสนาม เช่น เอกสารที่พิมพ์และเขียนด้วยลายมือ
จดหมาย ภาพถ่าย แถบบันทึกภาพและเสียง เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน บุคคล ชีวิตประจำวัน
สังคม วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ และการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทาง
ชาติพันธุ์วิทยาที่หลากหลายในการทำวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด
การอยู่ร่วมกันกับสังคมที่ศึกษา หรือการสัมภาษณ์ เพื่อเก็บข้อมูล เอกสารทั้งหมดจึงสะท้อนให้เห็นถึง
แง่มุมต่างๆ ของความเป็นชุมชนไทลื้อได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ข้อมูลส่วนตัว
ตลอดจนข้อมูลที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
 
การบรรยายเรื่อง นาฏกรรมของตัวบทในสังคมพหุอักขระการให้หนังสือกับอัตลักษณ์ไตดำในเวียดนาม ยุกติ มุกดาวิจิตร กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551 Audio Visual Materials SAC 000596 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058399 การบรรยายในหัวข้อนี้กล่าวถึงกรอบความคิด ทฤษฎี และวิธีการวิจัยทาง
 มานุษยวิทยา ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ โดยกล่าวถึงวิธีการในการอ่านหนังสือของ
นักมานุษยวิทยา เพื่อที่จะได้เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงไปถึงประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ทางภาษา
รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวไตดำ โดยศึกษาจากสังคมไตดำในประเทศเวียดนาม
 
การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากกลุ่มไทยทรงดำ กลุ่มไทยทรงดำ กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551 Audio Visual Materials SAC 000354 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00066928 บันทึกการแสดงศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มไทยทรงดำ จากจังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วยการแสดงเพลงพื้นบ้าน ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และความเชื่อของชาวไทยทรงดำ รำอวยพร
รำบวงสรวง เป็นต้น ในงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551


 
มูลนิธิไทยทรงดำประเทศไทย มูลนิธิไทยทรงดำประเทศไทย [นครปฐม : มูลนิธิฯ, 2548] Books: DS570.ท9 ม74 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043623 : หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสก่อตั้งและเปิดป้านมูลนิธิไทยทรงดำประเทศไทย “งานอนุรักษ์วัฒนธรรมปประเพณีไทยทรงดำ” บ้านเกาะแรต ตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยได้รวบรวมประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม  และลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ของชาวไทยทรงดำ เช่น ประเพณีการเสนเรือน ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการสู่ขวัญ ประเพณีการแปรงขวัญ ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีการฌาปนกิจศพ การละเล่นทอดช่วงรำแคน เป็นต้น รวมทั้งภาษาพูด และการแต่งกายของชาวไทยทรงดำอีกด้วย
Year: 2548
 
ร้อยขุนเขาเผ่าไทในเวียดนาม บุญยงค์ เกศเทศ กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, 2548 Books: DS556.45.T35 บ74 2548 : http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070287 Annotation: หนังสือเล่มนี้ รศ.ดร. บุญยงค์ เกศเทศ ได้บันทึกจากประสบการณ์ตรง ที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวไทนอกประเทศหลายกลุ่ม ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ไทอาหม ไทคำตี่ ไทโนรา ไทผาแก่ ไทอ้ายตอน ในรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ไทจ้วง ไทลื้อ ไทหลี ไทเมา ในมณฑลยูนนานของประเทศจีน ไทนุง ไทขาว
ไทดำ ไทแดง ในประเทศเวียดนาม รวมทั้ง ไทพวน ผู้ไท และไทลาว ใน ส.ป.ป. ลาว โดยเก็บเกี่ยวข้อมูลจากการสัมภาษณ์และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชุมชนไทเหล่านั้น ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี และพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในทุกแง่มุม

Year: 2548
 
การรู้หนังสือ สถานที่และการก่อตัวของเมืองไทดำ: บททดลองเสนอประวัติศาสตร์การเมืองไทดำ ในเวียดนามยุคก่อนสมัยใหม่ (มุมมองจากเอกสาร "ความโต้เมือง") ยุกติ มุกดาวิจิตร [กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาวิทยาสิรินธร, 2547] Books: DS570.ท9ว8 ย72 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00039560 : รายงานการวิจัยนี้ต้องการทดลองเสนอให้เห็นภาพความสัมพันธ์ทางการเมืองของกลุ่มไทดำ (ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม) ก่อนยุคปฏิวัติ โดยอ่านจากเอกสารความโต้เมืองเป็นหลัก ผู้เขียนพบว่า เอกสารทางประวัติศาสตร์ของไทดำมักกล่าวถึงความผูกพันที่ไทดำมีกับสถานที่ เช่น การเน้นความสำคัญของเมืองบางเมือง โดยเฉพาะเมืองแถง แม้ไทดำจะอพยพห่างไกลจากถิ่นฐานทางวัฒนธรรมมาถึงจังหวัดเพชรบุรี ความทรงจำของไทดำที่มีต่อสถานที่ยังคงสืบทอดมา นอกจากบันทึกในหนังสือแล้ว ผู้เขียนยังพบอีกว่า การสร้างและสืบทอดความทรงจำที่ผูกพันกับสถานที่ดังกล่าว อาศัยบริบททางพิธีกรรมของการใช้หนังสือเป็นเครื่องมือสำคัญ
Year: 2547
 
ศักยภาพของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว : กรณีชุมชนไทยทรงดำ บ้านเขาย้อย ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี มธุรส ปราบไพรี เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543 DS589.พ7 ม37 2543 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045118 : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยที่มีผลในการทำให้ชุมชนเกิดศักยภาพในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว กรณีชุมชนไทยทรงดำ บ้านเขาย้อย ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ชาวไทยทรงดำที่เข้าร่วมโครงการ “เยี่ยมเรือนเฮือนเหย้าชาวไทยทรงดำ” วิธีการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม
การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ และร้อยละการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า

Year: 2543
 
รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนตระกูลภาษา ไตดำ บ้านแจ้งสะหว่าง เมืองนาซายทอง แขวงกำแพงนะคอนเวียงจัน สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และคณะ กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 Books: DS555.45.T53 ส45 2542 : รายงานการวิจัยเรื่องนี้ เป็นผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือการวิจัยต่างประเทศระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย และสถาบันค้นคว้าวัฒนธรรม กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 ข้อ คือ 1. ศึกษาพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน 2. ศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรม 3. วิเคราะห์ปัจจัย และ 4. ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนตระกูลภาษาไตดำ บ้านแจ้งสะหว่าง เมืองนาซายทอง แขวงกำแพงนครเวียงจัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Year: 2542
 
ไทยทรงดำดอนคลัง [โรงเรียนชุมชนวัดดอนคลังมิตรภาพที่ 178] ราชบุรี : โรงเรียนชุมชนวัดดอนคลังมิตรภาพที่ 178 , 2542 Books: DS570.ท9 ท94 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028664 : หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของตำบลดอนคลัง ประวัติและความเป็นมาของไทยทรงดำดอนคลัง วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึงภาษาและอักษรของชาวไทยทรงดำในตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปได้รับความรู้ความเข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวไทยทรงดำมากยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนสือบต่อไป
Year: 2542
 
การศึกษาการสืบทอดงานศิลปะผ้าทอของกลุ่มชนไทยทรงดำ ในจังหวัดเพชรบุรี นิยม ออไอศูรย์ ไม่ระบุ Books: TS1413.ท9 น64 2539 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045304 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสืบทอดงานศิลปะผ้าทอของกลุ่มชนไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาทางด้านประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน คติความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยทรงดำ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ เทคนิค กรรมวิธี คุณค่าทางศิลปะ และประโยชน์ใช้สอยของงานศิลปะผ้าทอของกลุ่มชนไทยทรงดำ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ การสังเกตและบันทึกข้อมูลภาคสนาม แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา
Year: 2539
 
กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมการทอผ้าของชาวไทยทรงดำ รัชพล ปัจพิบูลย์ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538 Books: TS1413.ท9ร623 2538 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045219 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกลุ่มชน กระบวนการถ่ายทอดการทอผ้า และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทอดการทอผ้าของชาวไทยทรงดำในเขตอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชน เพื่อสังเกต สัมภาษณ์ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ และนำเสนอโดยการพรรณนา
Year: 2538
 
อาหารพื้นบ้านไทยทรงดำ บางระกำ พิษณุโลก : การวิเคราะห์ตามแนวหน้าที่นิยมและสังคมวิทยา เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์ เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ, 2528 TX724.5.ห8 ป74 2528 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00025050 การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิธีการประกอบอาหาร การถนอมอาหาร ตลอดทั้งวิเคราะห์อาหารพื้นบ้านไทยทรงดำ อ. บางระกำ จ. พิษณุโลก จากโครงสร้างและบริบทตามแนวหน้าที่นิยมและสังคมวิทยาโดยใช้วิธีวิจัยทางคติชนวิทยา โดยเริ่มจากการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อบันทึกข้อมูลจากวิทยากรโดยใช้แถบบันทึกเสียง พร้อมทั้งบันทึกภาพและจดบันทึกบรรยากาศในขณะทำการสัมภาษณ์ จากนั้นเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล และศึกษาวิธีประกอบอาหาร การถนอมอาหาร และวิเคราะห์ตามแนวหน้าที่นิยมและสังคมวิทยา
 
Multidisciplinary perspectives on Lao studies edited by Karen L. Adams and Thomas John Hudak Tempe, AZ : Southeast Asia Council, Center for Asian Research, Arizona State University, 2010 Books: DS555.3.M85 2010 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077783 หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โครงสร้างภาครัฐ เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมของประเทศลาว ผ่านทางภาพถ่ายพร้อมคำบรรยายและกิจกรรมเชิงโต้ตอบต่าง ๆ รวมถึงนำเสนอเรื่องราวทั้งในอดีตและปัจจุบันของประเทศลาว
Year: 2010
 
Cultures of the World : Laos Mansfield, Stephen New York : Marshall Cavendish, 2009 Books: DS555.3.M36 2009 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077009 เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นไปที่ 5 ประเด็นหลัก คือ 1) ภาษา การรู้หนังสือ และการเข้าถึงข้อมูล 2) การเก็บรักษาและการตีความเนื้อหา 3) วาทกรรมทางประวัติศาสตร์ 4) พลวัตของการเพาะปลูก เศรษฐศาสตร์และแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืน และ 5) ปัญหาเรื่องเพศและเชื้อชาติ: คนชายขอบและการปรับตัว
บทความต่าง ๆ ในหนังสือได้กล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมถึงทฤษฎีที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายและซับซ้อน

Year: 2009