Title |
Author |
Imprint |
Collection |
Url |
Annotation |
ต้นตระกูลไทอาหมในอินเดีย |
ทีวีไทย |
กรุงเทพฯ : องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, 2552 |
Audio Visual Materials : CDF 000505 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069007 |
กล่าวถึงเรื่องราวของการกลับไปเยี่ยมเยือนในดินแดนอัสสัมของหนึ่งในคนรุ่นใหม่อย่างดำรงพล อินทร์จันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและทีมงาน Spirit of ASIA มีการบอกเล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ เช่น พระราชวัง และมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมสถาบันประวัติศาสตร์และโบราณคดีศึกษา ในเมืองสิพชาการ์ รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย มีการสำรวจพบว่ามีเอกสารต่าง ๆ อย่างเอกสารคัดลอก 300 ฉบับ และหนังสือหายาก 5,000 เล่ม และได้พบกับผู้เชี่ยวชาญเอกสารไทยแปลเป็นภาษาอัสสัมมิส เย หอม บุราโกฮายน์ ชาวไทผ่าเก ผู้เชี่ยวชาญแผนกไทศึกษา ในสถาบันประวัติศาสตร์และโบราณคดีศึกษา รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
|
ชนชาติไท : รวมบทความ |
ไม่ระบุ |
[ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 25--] |
Books : DS563.5.ท9ช32 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028982 |
กล่าวถึงบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนชาติไท ดังนี้ ขอบฟ้าใหม่ในการบ่งชี้ความเป็นชาติ, เยือนถิ่นไทอาหม ร่วมฉลอง 770 ปี เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า, สิพสาคร เมืองหลวงเก่าของราชอาณาจักรอาหม, กาเลหม่านไต 1999, สถานภาพการวิจัยพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ่, การศึกษาเรื่อง ชนชาติไท ในออสเตรเลีย, งานวิจัยเชิงมานุษยวิทยา ของญี่ปุ่นในเรื่องชนเผ่าไท, ชาวลื้อ คือใคร ย้อนอดีตชาวลื้อในประเทศลาว ไทย และจีน, ไปเยี่ยม ไปยามไทดำ-ไทยขาวเมืองแถน(เดียนเบียนฟู), ปู้ยี, พิธีศพ ชาวไทขาว ณ เมืองลา, สรุปคำบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์และเอกสารไทดำในเวียดนาม, การตั้งชื่อและความหมายทางสังคมสำหรับชื่อที่ตั้งนั้นของเผ่าไตในสิบสิงพันนาของจีน, คนไทในเวียดนาม, ระบบเมืองไทยในเวียดนาม, รีตบ้าน 12 คลองเมือง 14, กวามโตเมือง, อักขระไทดำ, วิวัฒนาการของไท
|
แถน ในวัฒนธรรมสายไทหลวง (ไทใหญ่ม ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ) |
ทองแถม นาถจำนง |
ไม่ระบุ |
Journal : ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 75 (ก.ค. 2561), หน้า 33-38 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068545 |
กล่าวถึงคติความเชื่อเรื่อง “แถน” (ของชาวไทสายตะวันออก) กับเรื่อง “ฟ้า” (ของชาวไทสายตะวันออก) เป็นรากเง้าความเชื่อเดียวกัน เมื่อเทียบกับความเชื่อดึกดำบรรพ์เรื่อง “ตัวฟ้า” (ตัวผ่า) ของเจ้าจ้วงเหนือ ในกวางสี ก็มีรากเหง้าเดียวกัน แต่ชาวจ้วงใต้กลับนิยมเรียกว่า “ตัวฟ้า” ว่า “แถน” และในกลุ่มลาว – ไท ที่รับอิทธิพลพุทธศาสนา ส่วนของไทอาหมนั้น แม้จะมีอิทธิพลฮินดูเข้ามาแทรกปะปน แต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่า บูชา “ฟ้า” หรือ “ฟ้าตือจึ้ง” เป็นสิ่งสูงสุด
|
แถนในตำนานไทมาว ไทใหญ่ ไทอาหม |
ทองแถม นาถจำนง |
ไม่ระบุ |
Journal : ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 70 (ก.พ. 2561), หน้า 64-69 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068459 |
อธิบายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับแถนคำ, แลงดอน, ขุนตุงคำ (ซึ่งน่าจะตรงกับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” ในพงศาวดารล้านช้าง) ที่ส่งคนลงมาปกครองเมืองลุ่ม ตามเอกสารของ ไทมาว ไทใหญ่ ไทอาหมที่ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา สรุปเนื้อความไว้ในบทความวิชาการเรื่อง “ไก่แสง : ไก่เสี่ยงทายตัวแรกในตำนานปรัมปราของชนชาติไท” วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่ง “แถน” เป็นหนึ่งในแก่นวัฒนธรรมไทดึกดำบรรพ์ก่อนรับอิทธิพลพุทธ-พราหมณ์ งานวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของตำนานในฐานะที่เป็นข้อมูลที่ใช้ศึกษาเรื่องชนชาติไท ทั้งในเรื่องความคิด ความเชื่อ การกระจายของไท และความสัมพันธ์ของคนไทกลุ่มต่าง ๆ
|
การบูชา “ฟ้าหลวง พูราหลวง” ของไทอาหม |
ทองแถม นาถจำนง |
ไม่ระบุ |
Journal : ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 76 (ส.ค. 2561), หน้า 28-32 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068558 |
กล่าวถึงพิธีการสวดบูชา “พูราหลวง” หรือบางครั้งเรียกว่า “พร้าหลวง” ซึ่งนักวิชาการชาวไทยด้านอาหม คิดว่าคือ “ฟ้าหลวง” โดย “หมอหลวง” มีหน้าที่เป็นผู้นำในการดำเนินพิธีกรรม ภายในบทความมีการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดพิธีการสวดบูชา เครื่องที่ใช้ประกอบพิธีการสวดบูชาและลำดับขั้นตอนการสวดบูชาพิธีพูราหลวงหรือพิธีฟ้าหลวงของชาวไทอาหม และเนื่องจากพิธีฟ้าหลวงหรือแถน มีความคล้ายคลึงกับการนับถือผี จึงมีการกล่าวถึง พิธีเมด้ำเมผี โดยอธิบายถึงที่มา และความหมายของพีธีเมด้ำเมผี ตั้งแต่ในอดีตจนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแถน ที่ชาวไทอาหมสืบทอด และอนุรักษ์ไว้ถึงปัจจุบัน
|
ตำแหน่งการปกครองและระบบไพก์ในอาณาจักรอาหม ค.ศ. 1228 – 1826 |
: ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์ |
ไม่ระบุ |
ournal : วารสารศิลปศาสต์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 2 (ก.ค./ธ.ค. 2560), หน้า 127-159 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068841 |
บทความนี้ได้นำเสนอและถ่ายทอดความรู้จากงานของ Bhuyan (1933, 1985), Phukan (2007), Sarkar (2007), และ Hazarika (2015) เป็นหลักการศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งขุนนางและไพก์ สำหรับการศึกษาว่าด้วยไพร่ของไทยมีกล่าวไว้อย่างละเอียด ซึ่งสามารถหยิบยกมาเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างได้ การปกครองได้บริหารจัดการให้มีตำแหน่งครอบคลุมกิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการรบ เอกสารโบราณทั้งภาษาไทอาหมและอัสสัมได้บันทึกหน้าที่เหล่านี้ไว้ได้อย่างละเอียด
|
ระบบเสียงภาษาไตคำตี่ |
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ |
ไม่ระบุ |
Journal : รมยสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (ม.ค./เม.ย. 2560),หน้า 31-49 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00066538 |
กล่าวถึงการวิจัยศึกษาระบบเสียงภาษาไทคำตี่ในประเทศอินเดีย (รัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศ) เพื่อศึกษาลักษณะภาษาไตคำตี่ และเพื่อให้อนุชนได้อนุรัษ์ภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมไตคำตี่ เป็นการลงภาคสนามที่หมู่บ้านน้ำใส อำเภอโลหิต รัฐอรุณาจัลประเทศ และหมู่บ้านบาร์คำ อำเภอลัคคิมปุระรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย และข้อมูลจากเอกสารอีก 10 เล่ม การวิจัยครั้งนี้คาดว่าจะได้ทราบลักษณะและระบบเสียงในภาษาไตคำตี่ ได้รวบรวมข้อมูลเขียนเป็นตำราภาษาไตคำตี่ และได้ทำศัพทานุรมคำศัพท์ภาษาไตคำตี่
|
สู่หม่านลาลุงคำตี่ ใน บ้านเรือน ตัวตน คนไทในอินเดีย |
ระวีวรรณ โอฬารรัตน์มณี |
ชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559 |
Books : DS568.8 .ร653 2559 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090953 |
ในบทนี้คณะผู้เขียนเดินทางมายังบ้านลาลุงของกลุ่มคนไทคำตี่ซึ่งไทคำตี่นั้นถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่รองจากไทอาหมและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวบ้านพร้อมทั้งได้เรียนรู้ประวัติไทคำตี่และจำนวนประชากรในปัจจุบัน ต่อมาจึงได้ทำการสำรวจสถาปัตยกรรมบ้านเรือน ทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมโดยรอบ ได้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องพระและผีของผู้อยู่อาศัย และจากการพูดคุยกับคนไทคำตี่ได้สอบถามถึงคำไทและประเพณีวัฒนธรรมด้วย เช่นการเทียบเคียงประเพณีสิบสองเดือนของไทยและไทหลายๆ บ้านก็พบว่าเหมือนกัน
|
สืบประวัติศาสตร์ไทพาเก ใน บ้านเรือน ตัวตน คนไทในอินเดีย |
ระวีวรรณ โอฬารรัตน์มณี |
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559 |
Books : DS568.8 .ร653 2559 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090953 |
ในบทนี้คณะผู้เขียนได้เดินทางมาถึงบ้านไทพาเกและได้พักอาศัยกับผู้ใหญ่บ้านพาเกใต้ซึ่งท่านได้ครอบครองลิ่กเครือขุนเครือเมืองซึ่งเป็นพงศาวดารไทพาเกและถือเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทอย่างยิ่ง แม้จะได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษไว้แล้วแต่ยังมิได้เผยแพร่ที่ใด ท่านผู้ใหญ่บ้านได้เล่าสังเขปประวัติศาสตร์ไทพาเกให้คณะผู้เขียนฟังอย่างกระชับเข้าใจง่าย ในส่วนนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทในอัสสัมอย่างยิ่ง
|
ยี่ยมไทอาหมที่เมืองสิพสาคร ใน บ้านเรือน ตัวตน คนไทในอินเดีย |
ระวีวรรณ โอฬารรัตน์มณี |
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559 |
Books : DS568.8 .ร653 2559 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090953 |
นบทนี้คณะผู้เขียนเดินทางมายังเมืองสิพสาครในรัฐอัสสัม มีการศึกษาข้อมูลจากตำราต่างๆ และเดินทางไปเยี่ยมบ้านเรือนหลายหลังเพื่อศึกษาสถาปัตยกรรม จากนั้นจึงได้เดินทางไปเยี่ยมชมสถาบันไทอาหมและสถาบันไทศึกษาและได้พบกับนักวิชาการที่ศึกษาค้นคว้าด้านไทศึกษา การมาเยือนถิ่นไทอาหมนั้นทำให้เห็นถึงความแตกต่างจากไทกลุ่มอื่นๆ เป็นอย่างมาก แม้ไทอาหมจะมีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดแต่ก็อาจพูดได้ว่าเป็นกลุ่มที่สูญเสียอัตลักษณ์ความเป็นไทไปมากทั้งเชิงภาษาและวัฒนธรรม
|
เยือนไทตุรุงที่หม่านปาทอร์เสียม หม่านติโปเมีย และหม่านโปฮูกาเทีย ใน บ้านเรือน ตัวตน คนไทใน อินเดีย |
ระวีวรรณ โอฬารรัตน์มณี |
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559 |
Books : DS568.8 .ร653 2559 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090953 |
ในบทนี้คณะผู้เขียนเดินทางยังยังบ้านปาทอร์เสียม บ้านติโปเมียและบ้านโปฮูกาเทียของคนไทตุรุงเพื่อศึกษาสถาปัตยกรรมของบ้านแบบไทตุรุง ทุกครั้งที่เดินทางไปถึงจะมีชาวบ้านมารอต้อนรับ แสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรและการให้ความสำคัญต่อการเดินทางมาสำรวจในครั้งนี้นอกจากนั้นยังได้ความรู้ในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ไทตุรุง การอยู่อาศัยของประชากร การให้ความสำคัญต่อศาสนาพุทธของชาวไทตุรุง การศึกษาสถาปัตยกรรม ไปจนถึงการใช้ภาษาไทและการเปรียบเทียบความใกล้เคียงของภาษาไทกับภาษาไทย
|
ยือนไทคำยังที่หม่านบาลีจัน หม่านเบ็ทบารีเสียม และหม่านนอร์เสียม ใน บ้านเรือน ตัวตน คนไท อินเดีย |
ระวีวรรณ โอฬารรัตน์มณี |
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559 |
Books : DS568.8 .ร653 2559 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090953 |
ในบทนี้คณะผู้เขียนเดินทางมายังเมืองโยรหัตของคนไทคำยัง ซึ่งเมืองโยรหัตเคยเป็นเมืองหลวงของไทอาหม เพื่อเก็บข้อมูลจาก 3 บ้าน ได้แก่บ้านบาลีจัน บ้านบารีเสียม และบ้านนอร์เสียม คณะผู้เขียนได้เดินทางไปยังวัดบ้านบาลีจันเป็นที่แรกและได้เห็นถึงขนบธรรมเนียมทางพุทธศาสนา และได้ศึกษาประวัติบ้านบาลีจันและประวัติคนไทกลุ่มไทคำยัง ต่อมาในการเก็บข้อมูลจาก 3 บ้านจะมุ่งเน้นไปในด้านสถาปัตยกรรม บ้านเรือนสภาพแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัยภายในตัวเรือน
|
อสุราอาหม |
พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ |
กรุงเทพฯ : โพสต์พับลิชชิ่ง, 2558 |
Books : DS423 .พ25 2558 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090090 |
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนใช้ภาษาที่อ่านง่ายและมีอารมณ์ขันในการนำเสนอประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนาและความเชื่อของชาวอาหม มีการเล่าถึงฉากสงครามอย่างเข้มข้น การเอาชนะชนเผ่าต่างๆ ด้วยสติปัญญาและความเข้มแข็ง การใช้กลยุทธ์อย่างชาญฉลาด ที่ถึงแม้จะรบด้วยกำลังพลที่น้อยกว่าแต่ยังชนะศึกอยู่เสมอ มาจนถึงมหาสงครามโมกุลซึ่งถือว่าเป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดและได้สร้างความเป็นมหาอำนาจให้อาหมอยู่ยุคหนึ่งไปจนถึงเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้อาหมสิ้นชาติหรือเสียเอกราชไปในที่สุด
|
ด้วยรัก เล่ม 2 : ชนชาติไท |
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา |
กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2556 |
Books : H85.ด54 2556 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00080027 |
หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลด้านเอกสารไทอาหมโบราณเช่นพงศาวดาร พจนานุกรม ตำนานเกี่ยวกับการสร้างโลกและกำเนิดจักรวาล ตำราโหราศาสตร์ ตำราการเสี่ยงทายทำนายโชคชะตา ปฏิทิน บทสวดมนตรา วรรณกรรมชาดก เป็นต้น ไปจนถึงวิธีการฟื้นฟูภาษาและอักษรไทอาหมในปัจจุบัน สุดท้ายเป็นการการศึกษาการปกครองระบอบราชาธิปไตยในไทอาหมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ส่วนมากเป็นการศึกษาเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ ประวัติศาสตร์ ประเพณีและระบบสังคมจากหนังสือประวัติศาสตร์ไทอาหมโบราณหรืออาหมบุรันจี
|
จากเมืองนุนสุนคำสู่อัสสัมแดนไท |
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา |
กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2552 |
Books : DS568.8.จ62 2552 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062838 |
อธิบายถึงประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับรัฐอัสสัม และคนไทอาหม จากบุคคลต่างวัย ต่างช่วง เวลา และสถานที่ เป็นความพยายามที่จะทำความรู้จักมักคุ้น เรียนรู้ และทำความเข้าใจในผู้คนและวัฒนธรรมของ “ไทอาหม” โดยมีการจดบันทึกการเดินทางไปเมืองนุนสุนคำ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ถึงวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 และมีการจดบันทึกเรื่องราวในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย โดยมีเรื่องราวต่าง ๆ ได้แก่ กว่าจะข้ามฝั่งแม่น้ำพรหมบุตร, จดหมายจากปัตซากุ, ไปสอนภาษาที่อัสสัม จาก ก.ไก่ ถึง ท.ไทอาหม, ข่าวร้ายจากเกาะฮะตี, แด่เธอผู้จากไป : มิตรภาพความฝันและความหวังของไทอาหม และปริศนาจุ้มอาหม
|
ไทอาหม : บรรพชนไทโบราณ จากลุ่มน้ำพรหมบุตร ใน คนไทในชมพูทวีป |
บุญยงค์ เกศเทศ |
กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, 2548 |
Books : DS432.T26บ725 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070288 |
กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไท ที่ชื่อว่า “ไทอาหม” โดยมีการเกริ่นถึงงานเขียนที่มีคุณค่าของนักวิชาการต่างๆ ที่เป็นผู้ใฝ่รู้เรื่องราวของไทอาหม ภายในบทความมีการกล่าวถึงพระราชวังของกษัตริย์ไทอาหมทั้ง 3 พระราชวัง คือ เจ้ราย เจ้หุง และเจ้ม่วน โดย “แจ้” หมายถึง เวียง ซึ่งมีกำแพง มีคูล้อมรอบ คล้ายกับคำว่า แช่ หรือ แจ้ ในภาษาเหนือ ลักษณะสภาพบ้านเรือนของคนไทอาหม โดยอธิบายถึงขั้นตอน และวัสดุที่ใช้ในการสร้าง ยังกล่าวถึงเรื่องราวของศาสนาและความเชื่อของชาวไทอาหม
|
ไทผาแก่ (พาเก) : อีกกลุ่มชาติพันธุ์ไทในอัสสัมที่ยัง “เอ่ยคำไท” ใน คนไทในชมพูทวีป |
บุญยงค์ เกศเทศ |
กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, 2548 |
ooks : DS432.T26บ725 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070288 |
กล่าวถึงชาวไทผาแก่ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบุรี ดิฮิง แขวงเมืองดิบรูการ์ดในมลรัฐอัสสัม ชาวไทผาแก่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงต้องมีการทำพิธีกรรมเซ่นสรวงเทพแห่งพืชพันธุ์ข้าว เรียกว่าพิธี “วันนิแฮกนา” เมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยวจะมีพิธี “ฮ้องขวัญข้าวที่นา” นอกจากศิลปะวรรณกรรมและการประกอบพิธีกรรมที่ชาวไทผาแก่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแล้ว ยังมีความศรัทธา เชื่อมั่นในศาสนา ผู้นำ และผี ชาวไทผาแก่ยังคงนับถือผี ไปพร้อม ๆ กับนับถือพุทธศาสนาด้วย “ผี” เป็นความซึ่งเชื่อที่ปฏิบัติสืบทอดมึ
|
ไท-คำตี่ : สังคมและวัฒนธรรมของพี่น้องไท-ไต ใน คนไทในชมพูทวีป |
บุญยงค์ เกศเทศ |
กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, 2548 |
Books : DS432.T26บ725 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070288 |
กล่าวถึงกลุ่มชาวไทคำตี่อธิบายถึงประวัติความเป็นมาของชาวไทคำตี่ แนวการตั้งภูมิลำเนา มีการสร้างบ้านตามแนวยาวสองฝากฝั่งแม่น้ำโลหิต มีชีวิตความเป็นอยู่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและการค้าขาย ยังกล่าวถึงด้านสถานภาพทางสังคม วัฒนธรรมการแต่งกาย ศิลปะการละเล่น ศาสนา ความเชื่อถือ และผู้เขียนได้มีโอกาสพักอาศัยอยู่ร่วมกับชาวไทคำตี่ จึงได้ศึกษาด้านภาษาถ้อยคำ โดยได้บันทึกแยกคำไว้เป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งให้ความหมายของคำแต่ละคำ และนำมาเผยแพร่ภายในบทความนี้
|
ความเป็นไทย/ความเป็นไท |
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2547 |
Books : BD450.ศ73 2547 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037113 |
รวมบทความ 4 เรื่องจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 2 เรื่องชาติและชาติ ในบทความสุดท้ายเป็นเรื่องของชาวอาหมในรัฐอัสสัมของอินเดียหลังการเสียเอกราชให้อังกฤษ ชาวอาหมได้ถูกกีดกันให้มีสถานะทางสังคมที่ต่ำในระบบวรรณะของฮินดู จึงเกิดการเรียกร้องสิทธิ์และมาตรฐานที่เท่าเทียมกันทั้งในเรื่องการปกครองและความเป็นอยู่ เพื่อสร้างสำนึกพื้นฐานของการแยกอัตลักษณ์ของชาวอาหมออกจากสังคมอัสสัมที่ถูกกำกับโดยวัฒนธรรมฮินดู
|
ขบวนการฟื้นฟูภาษา ความเชื่อ และพิธีกรรมของไทอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย |
สุมิตร ปิติพัฒน์ |
กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2546 |
Research and Thesis : DS432 .อ6ส75 2546 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032920 |
กล่าวถึงระบบความเชื่อของคนไทอาหมจากการค้นคว้าเอกสาร และมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นกลุ่มคนไทที่ใช้ภาษาอัสสัมมิส และนับถือศาสนาฮินดู พบว่ามีพิธีกรรม และประเพณีที่มีความเชื่อมโยงกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวไทอาหม ยังกล่าวถึงสภาพทั่วไปของรัฐอัสสัม ประวัติศาสตร์ ระบบความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทอาหม ระบบการปกครองตั้งแต่ยุคก่อนอังกฤษจะเข้ามายึดครอง รวมไปถึงการก่อตั้งสมาคม และองค์กรในการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูภาษา และวัฒนธรรมขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
|
เลาะลุ่มน้ำโลหิต เลียบชีวิตไทคำตี่ |
บุญยงค์ เกศเทศ |
กรุงเทพฯ : แม่คำผาง, 2546 |
Books : DS570.ท9บ724 2546 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033298 |
หนังสือเล่าถึงการได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมเยือนพี่น้องคำตี่ของผู้เขียนที่ชื่อว่า “บุญยงค์ เกศเทศ” เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ซึ่งผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนบันทึกเรื่องราวชีวิตจากข้อมูลและความหลังจากครั้งที่เคยได้มีโอกาสเดินทางไปเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “สังคมและวัฒนธรรมไท-คำตี่” ที่บ้านเรือนกระจายกันอยู่ ณ บริเวณเมืองโลหิต รัฐอรุณาจัลประเทศ เหนือรัฐอัสสัม ขึ้นไปจนจดชายแดนประเทศจีน ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2527 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2528
|
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของคนไทแต่ละกลุ่ม ใน ชนชาติไทยในนิทาน |
ศิราพร ณ ถลาง |
กรุงเทพฯ : มติชน, 2545 |
Books : GR312 .ศ645 2545 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028873 |
กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของคนไทใหญ่ ที่อาศัยอยู่ ในหลายพื้นที่ บนแม่น้ำสายใหญ่ 3 สาย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งในพม่า อินเดีย จีน และภาคเหนือของไทย แตกแขนงออกเป็นคนไทกลุ่มต่าง ๆ อาทิ แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เรียกว่า “ไทอาหม” และมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เรียกว่า “ไทใต้คง” ล้วนเป็นคนไทใหญ่ที่อพยพ ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ จนมีพัฒนาการเกิดขึ้นเป็นสังคม มีระบบการปกครอง รวมไปถึงระบบความเชื่อดั้งเดิม และลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของตน
|
สถานภาพการศึกษาเอกสารไทใหญ่และไทอาหม ใน การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของ กลุ่มชาติพันธุ์ไท |
สรัสวดี อ๋องสกุล |
ไม่ระบุ |
Books : DS523.4.T35ก64 |
|
ล่าวถึงการศึกษาต้นฉบับตัวเขียนของคนไทซึ่งมีความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ การศึกษาเอกสารตัวเขียนของไทใหญ่และไทอาหม ในระยะเวลา 30 ปี มีลักษณะเป็นบทความประเภทต่าง ๆ ที่ผู้ศึกษาอาศัยข้อมูลจากเอกสารตัวเขียนมาประกอบ ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เช่น ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ฯลฯ ภายในบทความ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไทใหญ่ในพม่า, ไทใหญ่ในจีน, ไทอาหมและกลุ่มไทอื่นในอัสสัม
|
รายงานการวิจัยเรื่องความเชื่อและพิธีกรรมของคนไทอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย |
สุมิตร ปิติพัฒน์ |
กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545 |
Research and Thesis : DS432 .อ6ส75 2545 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031903 |
ล่าวถึงความเชื่อและพิธีกรรมของคนไทอาหม ในชุมชนปัตซากุที่เป็นศูนย์กลางทางความเชื่อและพิธีกรรมของไทอาหม เป็นชุมชนที่เป็นถิ่นอาศัยของบรรดาผู้ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า “หมอ” ได้แก่ หมอฮุง, หมอไสหรือช่างบุญ และหมอปล่อง กล่าวถึงประเพณีและพิธีกรรมหลายอย่าง อันเกี่ยวกับระบบความเชื่อดั้งเดิมของไทอาหมซึ่งเป็นสังคมไทก่อนพุทธศาสนา อาทิ พิธีกรรมบ้านผี พิธีกรรมเมด้ำเมผี พิธีกรรมสวด “พูราหลวง” เทศกาลบีฮู
|
ชุมชนไทในพม่าตอนเหนือ : รัฐฉานตอนใต้ภาคมัณฑะเลย์ และคำตี่หลวง |
สุมิตร ปิติพัฒน์ |
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545 |
Research and Thesis : DS530.8.ท9ส74 2545 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030959 |
กล่าวถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนไทในประเทศพม่า ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยจะเป็นรายงานการสำรวจภาคสนาม แบ่งเนื้อหาเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นเรื่องของชุมชนชาวไทใหญ่ในสองบริเวณใกล้เคียง และตอนที่ 2 เป็นการศึกษาชุมชนไทใกล้ชายแดนพม่ากับรัฐอัสสัมของอินเดียที่เมืองคำตี่หลวง ในรัฐกะฉิ่น นอกจากนั้นยังพิจารณาถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมของไทคำตี่ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้ในพื้นที่ และการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดที่คำตี่หลวง
|
การฟื้นฟูวัฒนธรรมของไทอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย |
ดำรง อินทร์จันทร์ |
: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545 |
Research and Thesis : DS432 .อ6ด64 2545 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033565 |
กล่าวถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของชาวไทอาหม ที่เกิดจากกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใต้สำนึกทางประวัติศาสตร์และสถานการณ์ทางการเมือง และสภาพทางเศรษฐกิจของอัสสัมในแต่ละช่วงเวลา การปฏิบัติการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมไทอาหม ที่มีความพยายามในการสร้างอัตลักษณ์ท่ามกลางความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในอัสสัม เพื่อแบ่งแยกความเหมือนและ ความต่างระหว่าง ชาวไทอาหมและชาติพันธุ์อื่น ๆ
|
ฟ้า-ขวัญ-เมือง : จักรวาลทัศน์ดั้งเดิมของไท ศึกษาจาคัมภีร์โบราณไทอาหม |
รณี เลิศเลื่อมใส |
กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2544 |
Books : GR550 .ร36 2544 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00027963 |
ล่าวถึงการศึกษาเอกสารตัวเขียนภาษาไทอาหม ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับปรัมปราคติ นำมาตีความหมายโครงสร้างของจักรวาลและจักรวาลทัศน์ในสังคมไทอาหม ในแง่ความเชื่อ พิธีกรรม และอุดมการณ์ที่โลกทัศน์ซึ่งแฝงอยู่ในทุกส่วนที่เป็นองค์ประกอบที่แทนด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของโครงสร้างจักรวาล โดย “ฟ้า” มีผีประจำเมืองที่ดำรงอยู่ใต้ฟ้า “เมือง” มีชุมชนในแต่ละเมือง และมีพิธีการบูชาฟ้าของตน “ขวัญ” แต่ละเมืองแต่ละบ้านมีจิตวิญญาณ ซึ่งมีขวัญเมืองในแต่ละสายเมืองที่โยงไปสู่ฟ้าเดียวกัน
|
The Tai Aitons of Assam ใน ไท = Tai |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
เชียงใหม่ : มูลนิธิโตโยต้า [และ] ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 |
Books : DS569.ท9ฉ46 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015926 |
ในบทนี้เป็นการศึกษาและเก็บข้อมูลทั่วไปด้านชาติพันธุ์วรรณนาของไทอ้ายตอนหลายอย่าง ตั้งแต่ภูมิหลังการย้ายถิ่นฐาน การตั้งถิ่นฐานและบ้านต่างๆ ในกลุ่มไทอ้ายตอน จำนวนประชากร ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา มีบทสวดที่แปลเป็นทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ประเพณีการแต่งงาน ระบบเครือญาติ ระบบครอบครัว ความสัมพันธ์หญิง-ชาย นอกจากนั้นยังมีข้อมูลสั้นๆ ด้านศาสนา-พิธีกรรม ภาษา วรรณกรรม การเกษตกรรม การศึกษา การจัดระบบการเมือง งานฝีมือหัตถกรรม อาหารการกิน การแต่งกาย อาวุธสงคราม เป็นต้น
|
The Origin of Mankind ใน ไท = Tai |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
เชียงใหม่ : มูลนิธิโตโยต้า [และ] ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 |
Books : DS569.ท9ฉ46 |
: http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015926 |
กล่าวถึงการศึกษาปรัมปรานิยายหรือตำนานว่าด้วยการสร้างโลกและกำเนิดจักรวาล โดยผู้เขียนได้รวบรวมงานที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องการกำเนิดมนุษย์ของคนไทอาหมจากสองตำนานสองช่วงเวลาได้แก่ ตำนานที่ 1 เป็นตำนานจากช่วงศตวรรษที่สิบแปดมีความเชื่อเรื่องต้นการสืบเชื้อสายกษัตริย์มาจากสวรรค์ และตำนานที่ 2 ตั้งแต่สหัสวรรษที่สองเป็นต้นไปมีความเชื่อเรื่องต้นกำเนิดมนุษย์ธรรมดา การศึกษาต้นกำเนิดและลักษณะวัฒนธรรมไทโบราณ จึงสามารถทำให้เข้าใจรากของวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อของชาวไทอาหมได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
|
Some Notes on the Tai Phakes of Assam ใน ไท = Tai |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
เชียงใหม่ : มูลนิธิโตโยต้า [และ] ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 |
Books : DS569.ท9ฉ46 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015926 |
ในบทนี้เป็นการศึกษาและเก็บข้อมูลทั่วไปของไทผาเก ตั้งแต่ชุมชนผาเกในรัฐอัสสัมนี้อยู่ที่หมู่บ้านใดบ้าง ตามด้วยจุดกำเนิดของไทผาเก วรรณคดี คำพังเพย สุภาษิต เพลงกล่องเด็ก เรื่องของสังคม อาหาร การเกษตร การตกปลาล่าสัตว์ การทอผ้า ศิลปะและงานฝีมือ ศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงทางสัมคม-วัฒนธรรม และตารางการคำนวณปีและวัน และข้อความจากลิ่กเครือขุนหรือหนังสือราชวงศ์ ตลอดบทความมีการเขียนทับศัพท์ภาษาไทยสอดแทรกเอาไว้จึงช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
|
Some Aspectss of the Tai Khamtis Socio-Culture Traits ใน ไท = Tai |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
เชียงใหม่ : มูลนิธิโตโยต้า [และ] ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 |
Books : DS569.ท9ฉ46 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015926 |
ไทคำตี่ที่มีความสำคัญมากกลุ่มหนึ่งเพราะเป็นกลุ่มที่ยังคงอนุรักษ์ความเชื่อและความเป็นไทเอาไว้ แต่ยังมีปัญหาในเชิงอำนาจระหว่างกลุ่มไทอาหมและกลุ่มไทต่างๆ ผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลด้านชาติพันธุ์ชาวไทคำตี่ เช่น การจัดระเบียบหรือการจัดองค์กรทางสัมคม สภาพทางภูมิศาสตร์กายภาพ การผลิตอาหาร การตั้งถิ่นฐาน ระบบเครือญาติ การแต่งงาน ดนตรี การละเล่น อำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นต้น
|
วลีหลายกริยาในภาษาไทยอาหม |
ปิยวรรณ มาใช้เวช |
กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539 |
Research and Thesis : PL4251.อ6ป64 2539 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028323 |
อธิบายถึงวลีที่ประกอบด้วยคำกริยาตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปที่เรียงต่อกัน คำกริยาที่ประกอบอยู่ในโครงสร้างวลีหลายกริยาจะต้องสามารถปรากฏอิสระในประโยคเดี่ยวได้ ซึ่งภายในเล่มจะเป็นการศึกษาวลีหลายกริยาในภาษาไทยอาหม โดยใช้ข้อมูลจากหนังสืออาหมบุราณจี ฉบับพิมพ์ และหนังสือ Tai Ahoms and the Stars ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของวลีหลายกริยา โดยศึกษาชนิดของคำกริยาที่เป็นส่วนประกอบของวลีหลายกริยา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางโครงสร้างระหว่างวลีหลายกริยากับคำนามในประโยค และเพื่อศึกษาความหมายของวลีหลายกริยาในภาษาไทอาหม
|
ปรัมปราคติไทอาหม |
รณี เลิศเลื่อมใส |
กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 2539 |
Research and Thesis : GR550 .ร36 2539 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00006104 |
กล่าวถึงการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการศึกษาปรัมปราคติต้นกำเนิดของไทอาหมในเอกสารตัวเขียนโบราณภาษาไทอาหม และกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัมปรา เป็นการศึกษาความหมายต่าง ๆ จากรูปศัพท์ คำนิยาม และการเทียบคำ ลักษณะ โครงสร้าง หน้าที่ของปรัมปราคติ และประเภทหลักของปรัมปราที่สืบเนื่องต่อความเชื่อและพิธีกรรม มีการเปรียบเทียบปรัมปราคติไทอาหมกับปรัมปราคติชนชาติอื่น ๆ
|
พงศาวดารไทอาหม = AHOM BURANJI |
เรณู วิชาศิลป์ |
กรุงเทพฯ : Toyota Foundation, 2539 |
Books : DS432 .อ6พ25 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004082 |
กล่าวถึงการศึกษาพงศาวดารไทอาหม หรือบุราณจี ซึ่งหมายถึง เรื่องราวตั้งแต่สมัยโบราณที่ได้รับการบันทึกไว้ เป็นพงศาวดาร ซึ่งผู้เขียนมีวัตถุประสงค์คือ ต้องการให้มีพงศาวดารไทอาหมฉบับภาษาไทยที่ศึกษา และแปลจากต้นฉบับที่เขียนด้วยอักษรและภาษาไทอาหมตามต้นฉบับเดิม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการสาขาต่าง ๆ เช่น นักอักขรวิทยา นักภาษาศาสตร์นักนิรุกติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ ผู้ที่สนใจทั่วไป และแนะถึงแนวทางและกลวิธีการอ่านภาษาไทอาหมรวมทั้งคำศัพท์ต่าง ๆ
|
การศึกษาวัฒนธรรมชนชาติไท |
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ |
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2538 |
Books : DS582.5.ท9ก64 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00027715 |
กล่าวถึงการศึกษาวิถีการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของชาวไทกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันตามสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ตั้งแต่กลุ่มไทใหญ่ในประเทศจีน พม่า และไทย กลุ่มไทลื้อในประเทศจีน พม่า ไทย และลาว กลุ่มไทลาวในประเทศไทยและลาว กลุ่มไทดำและไทขาวในประเทศเวียดนาม และจีน กลุ่มไทอาหมในประเทศอินเดีย และกลุ่มจ้วงในประเทศจีน พม่า และไทย วิธีการศึกษาเป็นการอธิบายพัฒนาการทางสังคมและศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสังคม และวัฒนธรรมชนชาติไท และเสริมสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
|
ประวัติศาสตร์อาหม |
ประสบสุข สุขสวัสดิ์, ม.จ |
กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2536 |
Books : DS570.98.ป4 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000384 |
ประวัติศาสตร์อาหมนั้นถูกแปลจากฉบับภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย (ซึ่งฉบับภาษาอังกฤษก็ถูกแปลมาจากต้นฉบับภาษาอาหม) เนื้อหาประวัติศาสตร์กล่าวถึงเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ตั้งแต่เรื่องกำเนิดของชาวอาหม กษัตริย์ปกครองดินแดง ขุนหลวงขุนลาย เรื่องราวส่วนมากใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ เช่น เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีและพระราชพิธีต่างๆ ได้แก่พระราชพิธียกเสาเมือง พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีอภิเษกสมรส
|
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพศาสตาจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา |
ไม่ระบุ |
กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, 2535 |
remation Books : DS527.9.บ4อ36 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00008794 |
กล่าวถึงหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพศาสตาจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2535 ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคลำไส้อุดตันเป็นหนอง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2535 ณ โรงพยาบาลบางโพ ด้วยอายุ 72 ปี ศาสตาจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้ที่มีความสนใจ และได้ทุ่มเทสติปัญญา ความสามารถ ศึกษาค้นคว้าภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย และได้เดินทางเดินทางไปประเทศพม่า อินเดีย เขมร และญวน เพื่อศึกษาภาษาของชาวไทยถิ่นต่าง ๆ และ ได้จัดทำพจนานุกรมพ่าเกและภาษาอ่ายตอนขึ้น
|
คำตี่ - อีสาน ชนเผ่าไท : สายเลือดเดียวกัน |
บุญยงค์ เกศเทศ |
ไม่ระบุ |
ournal : รวมบทความประวัติศาสตร์ (รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 11 (ก.พ. 2532), หน้า 123-177 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065378 |
ภายในบทความมีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาไทยอีสาน จากสภาพวัฒนธรรมประเพณี อาหารการกินและภาษาพูดที่มีความคล้ายคลึงกัน บางทีเรียกว่า “คนไทลาว” จากการสืบค้นชนเผ่าไทคำตี่ พบว่า แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สิงคะลิงคำตี่ และคำตี่หลวง นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบในด้านต่าง ๆ ระหว่าง ไทยอีสาน และไทคำตี่ ดังนี้แนวการตั้งภูมิลำเนา วัฒนธรรมการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย วิถีการดำเนินชีวิต จารีตประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย ศิลปกรรม วรรณกรรม การละเล่นพื้นเมือง ดนตรีการแสดง สถานภาพทางสังคม ศาสนาและความเชื่อต่าง ๆ การศึกษา และภาษาที่ใช้สื่อสาร
|
อักษรไทอาหม |
: เรณู วิชาศิลป์ |
ไม่ระบุ |
Journal : รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 9 (ก.พ. 2530), หน้า 91-120 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065360 |
กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับอักษรไทอาหม ชาวไทอาหมเคยพูดภาษาไท และมีอักษรของตน ชาวไทอาหมยังเคยอาศัยอยู่ในประเทศพม่าตอนเหนือก่อนที่จะอพยพไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ในประเทศพม่าที่ชาวไทอาหมเคยอาศัยอยู่ในขณะนั้น ยังมีชนกลุ่มใหญ่อีก 2 กลุ่ม คือ ชนชาติปยู และชนชาติมอญ ซึ่งมีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรม และมีอิทธิผลต่ออักษรของไทกลุ่มเหนือ มีการเปรียบเทียบอักษรปยู มอญ และไทอาหม จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าอักษรไทอาหมดัดแปลงมาจากอักษรมอญโบราณในพุทธศตวรรษที่ 17 นอกจากนี้ภายในบทความยังมีการกล่าวถึงแนวทางการอ่านภาษาไทอาหม และมีตัวอย่างเอกสารจากอาหมบุราณจี
|
คนไทย อยู่ที่ไหนบ้าง ? |
ชิน อยู่ดี |
กรุงเทพฯ : กองศิลปวัฒนธรรม, 2530 |
Books : DS731.T23ค35 2530 |
|
กล่าวถึงการไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าคนไทยอยู่ที่ไหนบ้าง แต่มุ่งแสดงหลักฐานที่มีอยู่จริง อาทิ มีกลุ่มชนในตระกูลไทย - ลาว - (จ้วง) กระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ภายในเล่มจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์สมัยก่อนไทยเข้ามาในเอเชียอาคเนย์ โดยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เรื่องมูลกำเนิดของคนชวง และมูลการเนิดของคนไทย โดยศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี, ชนเผ่าตระกูลภาษาไทยในประเทศจีนโดยเจีย แยนจอง, ตระกูลไทใต้แม่น้ำแยงซีในอดีต โดยเจีย แยนจอง และชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชนชาติไทในจีน โดยทองแถม นาถจำนง, เทวดาและผีของชาวอาหม
|
การหมุนตัวของนาค : การศึกษาเปรียบเทียบข้อความที่คัดจากวรรณกรรมไทที่เก่าที่สุด |
Terwiel, B.J. |
ไม่ระบุ |
Journal : รวมบทความประวัติศาสตร์. ฉบับที่ 8 (ก.พ.2529), หน้า 137-172 |
http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065354 |
กล่าวถึงการศึกษาเปรียบเทียบข้อความที่มีคัดจากวรรณกรรมไทที่เก่าที่สุด อย่าง “การหมุนตัวของนาค” การเปรียบเทียบตำราของอาหมและพาเก ที่แสดงให้เห็นถึงการเขียนของอาหมและพาเกที่แม้จะมีเรื่องบางอย่างเหมือนกัน แต่ยังมีบางส่วนที่แตกต่างกัน โดยจะมีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตำราภาษาอาหมและภาษาพาเก ใน 3 หัวข้อ คือ ความแตกต่างของรูปแบบ ความแตกต่างของเนื้อหา และความแตกต่างของลีลาการเขียน
|
ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทยอาหมจากการอ่านอาหม - บุราณจี |
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา |
เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่, 2528 |
Books : DS568.ฉ63 2528 |
: http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019423 |
กล่าวถึงบทความเรื่อง “ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทอาหม จากการอ่าน อาหม – บุราณจี” โดยอาจารย์ ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และอาจารย์เรณู วิชาศิลป์ เป็นการปรับจากบทความที่เสนอ ในการประชุมสัมมนา ล้านนาคดี : ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ณ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 28 – 31 มกราคม 2528 โดยบทความจะแบ่งออกเป็น ภาคที่ 1 กล่าวถึงเรื่องการศึกษาของชาวไทอาหม แนะนำการศึกษา สรุปความรู้เรื่องชาวไทอาหม และภาคที่ 2 กล่าวถึงข้อเสนอแนะเบื้องต้นของความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทอาหม เสนอลักษณะและวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมจากการอ่านภาษาไทยอาหม
|
กาเลหม่านไต |
บรรจบ พันธุเมธา |
พระนคร : สมาคมภาษาและหนังสือ, 2504 |
Books : DS485.อ86บ43 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005333 |
กล่าวถึงการเดินทางไปสำรวจภาษาไทยในแคว้นอัสสัม มีการจดบันทึกเรื่องราวของเหตุการณ์ระหว่างการเดินทางไปสำรวจและสอบภาษาไทยในอัสสัม เพื่อเผยแพร่ทั้งในด้านภาษาและความเป็นอยู่ของคนไทยเหล่านั้น มีการบันทึกเรื่องราวเป็นตอน ๆ ภายในเล่มยังมีศัพท์ภาษาไทยในอัสสัม พร้อมระบุตำแหน่งของคำว่าอยู่ในหน้าใด และอธิบายถึงความหมายของคำดังกล่าวแบบสังเขป เช่น การใช้คำที่ใช้เรียกลูกหญิงคนต่าง ๆ ตามลำดับการเกิด ลูกคนหัวปี เรียกว่า “เหย่” ลูกคนที่สอง เรียกว่า “อี๊” ลูกคนที่สาม เรียกว่า “อ๊าม” ลูกคนที่สี่ เรียกว่า “ไอ๊” เป็นต้น
|
เยี่ยมไทยอาหม สายเลือดของเรา |
สารนาถ |
พระนคร : เสถียรภาพ, 2497 |
Books : DS432 .อ6ส64 2497 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00006913 |
กล่าวถึงบันทึกของผู้เขียนหลังจากที่ได้เดินทางออกนอกประเทศ ไปหลายแห่งแต่กลับมีความประทับใจกับอัสสัม ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวไทอาหม ในประเทศอินเดีย จึงได้มีการจดบันทึกความประทับใจ ที่ได้สัมผัสจากการเดินทางไปยังอัสสัม เพื่อเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของผู้เขียนที่มีชื่อว่า “สารนาถ” ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในอัสสัม ที่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนการใช้ภาษา การเรียนรู้ ชีวิตวัฒนธรรมของชาวไทอาหม ตลอดจนมีการจดบันทึกตำนาน ความเชื่อ เรื่องที่เล่าขานต่อ ๆ กันมาของชาวไทอาหม
|
The Tai and the Tai kingdoms |
: Gogoi, Padmeswar |
Guhawati : Gauhati University, 2016 |
Books : DS509.5.T3 G6 2016 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094536 |
รวมงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผู้เขียนในหัวข้อ “ไทและอาณาจักรไทในอัสสัม-การศึกษาเรื่องการเมือง” ในปีค.ศ.1961 และได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องราวในเล่มที่ครอบคลุมถึงอาณาจักรไททั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัสสัมและจีน หนังสือได้เล่าประวัติศาสตร์ที่และร้อยเรียงไปตามลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นกำเนิดของชาวไท และกล่าวถึงอาณาจักรไทในอัสสัมเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในราชวงศ์อาหม ที่ต้องเสียเอกราชให้กับอังกฤษ ท้ายเล่มจะเป็นการอธิบายระบบการปกครองของอาหมซึ่งเป็นการปกครองโดยกษัตริย์ตามสายเลือดและมีคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการที่เป็นชนชั้นสูง และเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ดูแลบ้านเมือง
|
The Ahoms and Their Traditions v.2 |
Gohain, Birendra Kumar |
New Delhi : Omsons Publications, 2011 |
Books : DS432.G64 2011 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073793 |
หนังสือเล่มนี้ให้รายละเอียดที่เน้นไปในเรื่องของศาสนาและความเชื่อของคนไทอาหมเป็นหลักตั้งแต่ช่วงแรกที่ศาสนาจะเข้ามาเป็นที่รู้จักของคนไทอาหมและได้ทำให้เกิดปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร ตลอดจนมีการพูดถึงพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณีที่คนไทอาหมยังคงปฏิบัติตามจนถึงปัจจุบันเอาไว้ โดยผู้เขียนได้แปลบทพูดและบทสวดเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายและความเชื่อของพิธีกรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
|
The Ahoms and Their Traditions v.1 |
Gohain, Birendra Kumar |
New Delhi : Omsons Publications, 2011 |
Books : DS432.G64 2011 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073793 |
หนังสือเล่มนี้นำเสนอครอบคลุมในหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับชาวไทอาหมตั้งแต่ประวัติศาสตร์อาหมโดยย่อและที่มาของคนไท การศึกษาทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับคนไทอาหม สถานการณ์ทางสังคมและการเมืองในแคว้นกามรูป ประวัติและการลำดับวงศ์ตระกูลเจ้าหลวงเสือก่าฟ้า อิธิพลของศาสนาฮินดูที่มีต่อชาวอาหม ภาษาและตัวอักษรที่คนไทอาหมใช้ ความเชื่อเรื่องดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ โชคชะตา ตำนานไปจนถึงการอธิบายลำดับสมณศักดิ์ที่อธิบายด้วยแผนภูมิต้นไม้
|
Tai People : A Collected Article v. 3. |
ไม่ระบุ |
: [S.L : S.N., 2006?] |
Books : DS556.45.T35T357 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00050440 |
รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับคนไท ตั้งแต่ชาติพันธุ์วิทยา ภาษาศาสตร์เช่นภาษาไท-กะไดและภาษาคำ บทสรุปโดยย่อของนักการเมืองหลายท่าน การย้ายถิ่นฐานและเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของของคนไทดำ โครงการตีพิมพ์ประวัติศาสตร์ไทอาหมฉบับแปลไทย การเริ่มต้นของโรคอหิวาตกโรคในประเทศไทย ไปจนถึงด้านภูมิศาสตร์ อย่างบันทึกการเยือนเมืองเชียงตุงในพม่า ผลรายงานเกี่ยวกับรัฐชานและการศึกษาเรื่องคนไทดำ ณ เมืองแถนของประเทศเวียดนาม
|
Comparative study of Tai - Phuan, Tai-Phake and Lao-Wiang |
Wilaisak Kingkham |
Bangkok : Faculty of Humanities Kasetsart University, 2001 |
Research and Thesis : PL4191.T5W54 2001 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037601 |
ในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของภาษาไทพวน ภาษาไทพ่าเกและภาษาลาวเวียง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าของภาษามาเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยศึกษาทั้งพยัญชนะ สระ สัทวิทยาหรือการออกเสียงโทนต่างๆ รวมถึงคำศัพท์ โดยแบ่งคำศัพท์เป็นหมวดหมู่ต่างๆ พร้อมทั้งเขียนคำอ่านเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้งสามภาษา
|
The Shans and the Ahoms In History of Thai literature : including Laos, Shans, Khamti, Ahom, and Yunnan-Nanchao |
Manich Jumsai, M.L. |
Bangkok : Chalermnit, 2000 |
Books : PL4200.M27 2000 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00020235 |
ในตอนต้นของบทได้มีการวิเคราะห์วรรณกรรมจักรจักรวงศ์วงศ์ของคนลาวล้านนาไทยและของคนชานในตอนเหนือของพม่าซึ่งเป็นมุมมองส่วนตัวของคนเขียน มีการนำนิทานชื่อดังมาเขียนฉบับย่อได้แก่นิทานชาดก นิทานนางสิบสอง นิทานนางฟ้ากับนายพรานของคนชานซึ่งคล้ายคลึงกับนิทานมโนราห์ของคนไทย ต่อมาได้แบ่งประเภทของวรรณกรรมของคนไทอาหมเป็น 6 แบบ และหยิบบางส่วนจากอาหมบูรันจีซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาสตร์อาหมมาเขียนถึงช่วงก่อนและหลังอาหมจะถูกปกครองโดยชาวอังกฤษ
|
he Khamtis In History of Thai literature In History of Thai literature : including Laos, Shans, Khamti, Ahom, and Yunnan-Nanchao |
Manich Jumsai, M.L. |
Bangkok : Chalermnit, 2000 |
Books : PL4200.M27 2000 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00020235 |
กล่าวถึงชาติพันธุ์ไทอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งคือชาติพันธุ์กลุ่มไทคำตี่และอธิบายถึงเหตุที่คนไทคำตี่ต้องย้ายถิ่นฐานจากรัฐชานประเทศพม่ามายังรัฐอัสสัมประเทศอินเดีย และในด้านภาษานั้นชาวไทคำตี่ได้มีการนำตัวอักษรภาษาพม่ามาปรับใช้ แต่ถึงอย่างไรจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการบันทึกนิทานพื้นบ้านหรือวรรณกรรมใดๆ อย่างเป็นทางการของคนไทคำตี่ แต่มีตำนานที่พูดถึงต้นไม้สีทองที่นกตัวใหญ่ซึ่งชอบล่าเด็กมาเป็นอาหารใช้เป็นที่พักพิง ชาวบ้านจึงตัดสินใจตัดต้นไม้และฆ่านก ต่อมาได้มีทะเลสาบผุดขึ้นรอบๆ บริเวณต้นไม้ดังกล่าว
|
Tai Turung In Tai of North-East India |
Gogoi, Pushpa |
Dhemaji, Assam, India : Chumphra Printers and Publishers, 1996 |
Books : DS432.T26G65 1996 |
: http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032290 |
กล่าวถึงประวัติศาสตร์การอพยพมายังอาณาจักรอาหม และเชื่อว่ามาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าตอนบน ตั้งถิ่นฐานที่แม่น้ำตุรุง ภายหลังถูกชาวสิงฝ่อจับเป็นเชลยและมีอังกฤษมาช่วยปลดปล่อยและพาไปอยู่ที่จอร์ฮัต ยังกล่าวถึงวิถีชีวิต ประเพณีการแต่งงาน การตั้งชื่อเด็ก เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ศาสนา ซึ่งพิธีทางศาสนา เทศกาล ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีและวิญญาณ เครื่องแต่งกาย การทอผ้า ปัจจุบันชาวตุรุงใช้ภาษาอัสสัมและสิงฝ่อ น้อยคนที่พูดไทได้ แต่ชาวตุรุงได้มีความพยายามฟื้นฟูภาษาไทและความเป็นไทขึ้นโดยเข้าร่วมสมาคมอัสสัมไทพุทธและติดต่อกับชาวไทกลุ่มอื่น ๆ อีกด้วย
|
Tai Phake In Tai of North-East India |
Gogoi, Pushpa |
Dhemaji, Assam, India : Chumphra Printers and Publishers, 1996 |
Books : DS432.T26G65 1996 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032290 |
กล่าวถึงชาวพ่าเก มีความเชื่อว่าชาวพ่าเกอพยพจากโมกองไปยังอัสสัมผ่านทางเขาปาดไก่ บ้างกล่าวว่ามากับทหารพม่าเมื่อครั้งเข้าโจมตีอาณาจักรอาหม และมีประวัติศาสตร์ว่าเคยเข้าร่วมกับชาวคำตี่ในการล้มล้างการปกครองของอาณาจักรอาหมเช่นกันแต่ก็ถูกปราบปรามไว้ได้ และเล่าถึงตระกูลสำคัญต่าง ๆ ของชาวพ่าเก และพิธีแต่งงานของชาวพ่าเกทั้งในขั้นตอนพิธีแต่งงานและข้อปฏิบัติหลังแต่งงานเช่น นิยมแต่งงานในหมู่ชนชาวพ่าเกด้วยกันแต่ห้ามแต่งงานในตระกูลเดียวกันเด็ดขาด
|
Tai Khamyang In Tai of North-East India |
Gogoi, Pushpa |
Dhemaji, Assam, India : Chumphra Printers and Publishers, 1996 |
Books : DS432.T26G65 1996 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032290 |
กล่าวเล่าถึงประวัติศาสตร์ชาวคำยัง ชาวอัสสัมเชื่อว่าชาวคำยังตั้งถิ่นฐานอยู่แถวเขาปาดไก่ และย้ายถิ่นฐานเนื่องจากการรุกรานของสิงฝ่อและทหารพม่า ตามเอกสารอาหมบุราณจีพูดถึงชาวคำยังในสมัยเสือก่าฟ้าว่าได้สร้างจังหวัดคำยังและแต่งตั้งผู้ปกครองขึ้นมา จากนั้นเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ ได้แก่ ภาษาใช้ ศาสนา พิธีกรรมของชาวคำยังซึ่งไม่แตกต่างจากชาวไทกลุ่มอื่นๆมากนัก เครื่องแต่งกายของชาวชาวคำยังใช้ฮ่อมในการย้อมเหมือนกับชาวพ่าเกและยังใช้สีที่ได้นี้ในการสักอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเต้นรำ ภาษาที่ใช้ ประเพณีการแต่งงานและการทำศพ
|
Tai Aiton In Tai of North-East India |
Gogoi, Pushpa |
Dhemaji, Assam, India : Chumphra Printers and Publishers, 1996 |
Books : DS432.T26G65 1996 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032290 |
กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชาวอ้ายตอนและเล่าถึงการมาถึงดินแดนอัสสัมที่นักวิชาการเชื่อว่าอพยพมาพร้อมกับชาวอาหมแต่ได้แยกย้ายกันไปตั้งรกรากกันคนละที่ ตามคำบอกเล่าของชาวอ้ายตอนเชื่อว่าเข้ามาดินแดนอัสสัมก่อนชาวคำตี่ และยังเล่าถึงการทำศึกของชาวอ้ายตอนทั้งการก่อกบฎต่ออาณาจักรอาหมและสู้รบกับทหารพม่าที่เข้ามารุกราน อ้ายตอนได้ทำการกบฏต่ออาณาจักรอาหมหลายครั้งแต่ถูกปราบปรามได้ทั้งหมด ผู้อ่านจะได้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ทั้งเรื่องการสร้างบ้าน การทำเกษตร และพิธีกรรมสำคัญๆเช่นพิธีขอฝนซึ่งทำที่บ้านของตนเอง และพิธีแต่งงาน
|
Khamti In Tai of North-East India |
Gogoi, Pushpa |
Dhemaji, Assam, India : Chumphra Printers and Publishers, 1996 |
Books : DS432.T26G65 1996 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032290 |
กล่าวถึงชาวคำตี่ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนจีนมากกว่าคนไท และลักษณะนิสัยใจคอของชาวคำตี่ การประกอบอาชีพ อาหารการกิน วัฒนธรรมและประเพณี ได้แก่ การแต่งงาน ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตั้งชื่อเด็ก ประเพณีเกี่ยวกับการตาย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับชาวไททั่ว ๆไปในแถบนี้แต่มีรายละเอียดต่างกันไป เช่น ชาวไทอื่น ๆ นิยมเผาศพแต่ชาวอาหมจะนิยมการฝัง ยกเว้นในสมัยปลาย ๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูจึงมีการเผาศพของกษัตริย์หรือบุคคลสำคัญ ผู้เขียนได้บรรยายขั้นตอนพิธีการในประเพณีที่สำคัญของชาวคำตี่ไว้อย่างละเอียด
|
History of Ahoms/Fate of Ahom Language In Tai of North-East India |
Gogoi, Pushpa |
Dhemaji, Assam, India : Chumphra Printers and Publishers, 1996 |
Books : DS432.T26G65 1996 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032290 |
กล่าวถึงประวัติศาสตร์กำเนิดของอาณาจักรอาหม ที่ผ่านการเกิดศึกชิงอำนาจ ย้ายที่ตั้ง จนกลายเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรือง กระทั่งเกิดสงครามหลายครั้งรวมถึงถูกรุกรานจากพม่าและสูญสิ้นอิสรภาพให้อังกฤษในที่สุด ยังกล่าวถึงประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อของชาวอาหม เช่น ประเพณีแต่งงาน การเกิด พิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย ความเชื่อเรื่องกำเนิดเทพเจ้าและศาสนา การทำนายดวงชะตาด้วยกระดูกไก่ พิธีขอฝนด้วยการจัดงานแต่งงานให้กบ อาหารการกิน วิถีชีวิตประจำวัน ภาษาและวรรณกรรม
|
Tai Ahoms and the stars |
B.J. Terwiel and Ranoo WIchasin |
Ithaca, N.Y. : Southeast Asia Program, Cornell University, 1992 |
Books : PL4251.A4T34 1992 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001407 |
กล่าวถึงการถอดความตำราดวงดาวไทอาหมซึ่งเขียนด้วยตัวหนังสือภาษาอาหมในยุคต้นศตวรรษที่18 3 สำนวนด้วยกัน ผู้เขียนได้อธิบายระบบการถอดตัวอักษรที่ใช้ ระบบพยัญชนะของภาษาอาหมและเทียบเคียงกับภาษาไทยที่และยังได้อภิปรายตีความความหมายของข้อความในแต่ละสำนวนซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพปกรณัมของอาหม การทำนายอนาคต ข้อมูลดาราศาสตร์ และพิธีกรรมในการสะเดาะเคราะห์ และได้วิเคราะห์พิธีกรรมความเชื่อของชาวอาหมและประวัติศาสตร์
Year : 1992
|
หนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นในการศึกษาช่วงก่อนประวัติศาสตร์อาหมในรัฐอัสสัมซึ่งตั้งอยู่่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียระหว่างศตวรรษที่ห้าและสิบสาม โดยมีการวิจารณ์เชิงประวัติศาสตร์จากการศึกษาจารึก การวิเคราะห์ธรรมชาติของแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของรัฐ |
Barua, Bimala Kanta and N.N Deodhai Phukan |
Gauhati : Dept. of Historical and Antiquarian Studies in Assam, 1991 |
Reference Books : PL4251.A44B37 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00002260 |
นังสือรวมศัพท์อาหมพร้อมคำแปลภาษาอัสสัมและภาษาอังกฤษ อธิบายที่มาของต้นฉบับคำศัพท์ที่นำมาพิมพ์และได้เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของภาษาไทอาหมกับภาษาอัสสัมในบางมุมไว้ด้วย คำศัพท์ในเล่มจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสระและพยัญชนะ ส่วนที่สองเป็นคำศัพท์อื่น ๆ คำศัพท์แต่ละคำจะมีคำอ่านเทียบทั้งคำอ่านภาษาอัสสัมและภาษาอังกฤษ มีคำแปลอธิบายเป็นภาษาอัสสัมและภาษาอังกฤษ ท้ายเล่มมีภาคผนวกได้แก่ต้นกำเนิดของอัสสัมและอาหม, ตัวอักษรของภาษาอาหมทั้ง เรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะและธรรมชาติของภาษาไทย
|
Pre-Ahom Assam |
Lahiri, Nayanjot |
New Delhi : Munshiram Manoharlal Publishers, 1991 |
Books : DS485.A87 L3 1991 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00092217 |
หนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นในการศึกษาช่วงก่อนประวัติศาสตร์อาหมในรัฐอัสสัมซึ่งตั้งอยู่่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียระหว่างศตวรรษที่ห้าและสิบสาม โดยมีการวิจารณ์เชิงประวัติศาสตร์จากการศึกษาจารึก การวิเคราะห์ธรรมชาติของแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของรัฐอัสสัมช่วงก่อนศตวรรษที่ห้า พื้นหลังภูมิศาสตร์ การสำรวจภาษาและศักขรวิทยาจากจารึก การศึกษาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในเมืองกามรูป และสุดท้ายก็ได้สรุปเป็นภาพรวมชีวิตตามที่ได้ปรากฎในจารึก
|
The Tai Khamtis of the North-East |
Gogoi, Lila |
New Delhi : Omsons Publications, 1989 |
Books : DS432.K44T35 1989 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073776 |
หนังสือรวมบทความและข้อเขียนโดยนักวิชาการหลายท่านเกี่ยวกับชาวไทคำตี่ที่อาศัยอยู่ในรัฐอรุณาจัลประเทศและอัสสัม เรียบเรียงและเขียนบทนำโดย Dr.Lila Gogoi ชาวไทคำตี่เป็นกลุ่มคนที่มีภาษา วัฒนธรรมและประเพณีเป็นของตนเอง หนังสือกล่าวถึงประวัติศาสตร์ทั้งของชาวไทและคำตี่, ชาติพันธุ์ต่าง ๆ, ศาสนา สังคมและประเพณีของชาวคำตี่, ศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของชาวไทและคำตี่, ความสัมพันธ์ทางการเมืองซึ่งรวมทั้งการเมืองการปกครองภายในและความสัมพันธ์กับดินแดนอื่นเช่นอาหม สิงฝ่อ และอังกฤษ, การแลกเปลี่ยนและการค้าขาย, นิทานและตำนานซึ่งมีทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์และนิทานพื้นบ้านเรื่องต่างๆ, และภาษา
|
The history of medieval Assam, from the thirteenth to the seventeenth Century |
Acharyya, N. N. (Nagendra Nath) |
Gauhati, Dutta Baruah [1966] |
Books : DS485.A87A65 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00006581 |
หนังสือเล่มนี้นำเสนอสังคมและประวัติศาสตร์ในช่วง 400 ปีแรกของการปกครองโดยชาวอาหมในทางตอนเหนือของรัฐอัสสัมประเทศอินเดีย เริ่มตั้งแต่การย้ายฐิ่นฐานเข้ามา การครอบครองดินแดนไปจนถึงเรื่องศาสนาและการถูกรุกรานจากถิ่นต่างๆ การวางแผนยุทธศาสตร์สงครามที่โดดเด่น โดยอ้างอิงจากหลักฐานหายากที่เหลืออยู่ในรัฐอัสสัมประเทศอินเดียและในประเทศอังกฤษ
|
An account of Assam / First compiled in 1807-1814 by Francis Hamilton. Editor: S. K. Bhuyan |
: Hamilton, Francis, 1762-1829 |
Gauhati, Assam, Dept. of Historical and Antiquarian Studies, 1963 |
Books : DS485.A84B8 1963 |
http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00003543 |
รายงานเล่มนี้นำเสนอการสำรวจภายในรัฐอัสสัมประเทศอินเดียเกี่ยวกับ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านตั้งแต่สาธารนูปโภค เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยา การรักษาโรค การศึกษา ศาสนา ประเพณี เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่พบได้ในประเทศ การทำฟาร์ม การครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การพาณิชย์ การนำเข้าและส่งออก การคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางถนน เป็นต้น ถือเป็นผลงานที่มีคุณค่าต่อการศึกษาในเรื่องสถาณการณ์การเมือง ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของสังคมในสมัยต้นศตวรรษที่สิบเก้า
|