Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
พหุวัฒนธรรม : อดีตและปัจจุบันของความหลากหลายในปาตานี | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | Audio Visual Materials:SAC 000946 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095199 | กล่าวถึงมุมมองของวัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อให้ประชาชนทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นำสาระไปประยุกต์เพื่อความสันติสุข ซึ่งเป็นการนำเสนอการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน การยอมรับ และเคารพความแตกต่างในหลายมิติ เช่น ความรุนแรงภายในวัฒนธรรมย่อย ช่องว่างของนโยบายรัฐที่เน้นการกลืนทางวัฒนธรรมเป็นหลัก โดยนำเสนอผ่านการเสวนาเปิดตัวหนังสือ “ความหลากหลายพหุวัฒนธรรม” และ “ไทยใต้ มลายูเหนือ” |
Imagined land? : the state and southern violence in Thailand | Chaiwat Satha-anand | Tokyo : Research institute for languages and cultures of Asia and Africa, 2009 | Books: DS589.T5 C53 2009 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063139 | รวบรวมบทความจากนักวิชาการทั้งเก้าท่าน ภายใต้คำถามที่ว่ารัฐมีความพยายามแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างไร โดยได้สะท้อนมุมมองรวมทั้งข้อค้นพบจากการศึกษานั้นในประเด็นที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นนโยบายความมั่นคง บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐ ความรู้ของสังคมไทยกับพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ หรือผลกระทบทางความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นของชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม เป็นต้น |
กิจกรรมสื่อสารความรู้ทักษะวัฒนธรรม "ขัดกันฉันมิตร" | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2560 | Audio Visual Materials:SAC 000912 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095128 | กล่าวถึงที่มาและเบื้องหลังของโครงการทักษะวัฒนธรรมกับความเป็นไปของจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเริ่มมาจากคู่มือข้าราชการ จนเกิดการอบรมเชิงปฏิบัติการของทหาร ข้าราชการ สื่อมวลชน เด็กนักเรียนในพื้นที่ภายใต้กรอบคิดของการทบทวน รับฟัง แลกเปลี่ยน และทางเลือกที่สร้างสรรค์ จนเป็นหนังสือ “ทักษะวัฒนธรรม” ที่เผยแพร่ไปสู่องค์กรต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กระทรวงมหาดไทย โดยเป้าหมายหลักคือการเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลายและนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ |
ไทยใต้ มลายูเหนือ : ปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย | ไมเคิล เจ มอนเตซาโน และ แพทริค โจรี, บรรณาธิการ | นครศรีธรรมราช : สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2560 | Books: GN365 .ท94 2560 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094417 | กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของภาคพื้นทวีป และภาคพื้นสมุทรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ศาสนา สังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยนำเสนอความสัมพันธ์ของผู้คนในคาบสมุทรและรัฐชาติ บทบาทของชาวจีนที่อาศัยในคาบสมุทร ศาสนาและชาตินิยมชาติพันธุ์ ตลอดจนจารีตประวัติศาสตร์บนคาบสมุทร |
มุสลิมในธนบุรี วิถีวัฒนธรรมอิสลามในเมืองหลวง | สำราญ ผลดี | กรุงเทพฯ : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธนบุรี, 2559 | Book: DS570.ม6 ส74 2559 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091458 | เขียนถึงพัฒนาการของชุมชนมุสลิมในสยาม โดยเฉพาะมุสลิมในพื้นที่ธนบุรีซึ่งมีหลักฐานของการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตลอดจนบริบททางประวัติศาสตร์ของชุมชนมุสลิม ทั้งในด้านการค้า การเมืองและการปกครอง รวมถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นชุมชนมุสลิมท่ามกลางวัฒนธรรมชาวพุทธที่สามารถสืบทอดวิถีชีวิตชาวมุสลิมได้ยาวนานกว่าร้อยปี |
สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา | อาณัติ อนันตภาค | กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊คส์, 2557 | Books:DS570.ม7 อ63 2557 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081811 | กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของกลุ่มผู้ปกครอง หรือสุลต่านบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา ผู้เป็นต้นตระกูลสุลัยมานที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในการดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสงขลา โดยเป็นกลุ่มแขกเปอร์เซียที่นับถือศาสนามุสลิม นิกายสุนหนี่ที่อพยพเข้ามาอดีต และได้นำเอาหลักการของศาสนาอิสลามเข้ามาใช้ในการปกครองบนพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางศาสนา แต่ก็สามารถดำรงความเป็นเมืองอันโดดเด่นได้ ซึ่งนับว่าเรื่องราวที่น่าสนใจ และน่าเผยแพร่ต่อสังคมเพื่อการมองเห็นความหลากหลายทางรากเหง้าของประวัติศาสตร์ร่วมกันในอดีต |
ปัตตานี ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่า, ทวิภาษา ไทยกลาง-มลายูปาตานี ใน ปาตานี | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2556] | Audio Visual Materials:CDF 000405 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081287 | กล่าวถึงตำนานสุสานกษัตริย์อาณาจักรปัตตานี หรือสุสานพญาอินทิราวังศา กษัตริย์มุสลิมองค์แรกที่ทำให้ศาสนาอิสลามแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ จากเหตุการณ์โรคระบาดแซะซาอิค(หมออิสลาม)รักษาพระนางให้หายขาดได้ จึงประกาศตนเป็นกษัตริย์มุสลิมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับทวิภาษาไทยกลางมลายู-ปัตตานี เป็นภาษาที่ใช้ในสามจังหวัดชายแดนใต้ และควรได้รับการส่งเสริมแบบทวิภาษา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงความคิดออกมาทางภาษาพูดและพัฒนาภาษาเขียน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการของการเรียนภาษาที่สองแก่เยาวชนได้อีกด้วย |
ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี | รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัชและกองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชาบแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ | ปัตตานี : โครงการจัดพิมพ์ดีพบุ๊คส์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้, 2556 | Books:DS588.ต8 ร72 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079388 | ผู้เขียนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มขบวนการในสี่จังหวัดชายแดนใต้ ที่เรียกร้องเอกราชด้วยการใช้อาวุธเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ซึ่งแบ่งออกได้ราว 5 กลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามขบวนการต่างๆ ได้ถูกวางโครงสร้างอย่างเป็นระบบ และมีความซับซ้อนอยู่มาก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวกลับไม่เคยถูกหยิบยกมานำเสนอในสังคมไทยเลย เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นจึงถูกบอกกล่าวแต่เพียงว่ารัฐยังไม่มีความเข้าใจขบวนการเหล่านั้นได้อย่างถ่องแท้ |
งานวิจัยของกลุ่มนักวิจัยมลายูท้องถิ่นจากสามจังหวัดภาคใต้ "เสียงจากโลกมลายู" | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | กรุงเทพฯ : ศูนย์, 2555 | Audio Visual Materials:SAC 000634 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00074817 | กล่าวถึงการศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้จากคนในพื้นที่นำเสนอในแง่มุมต่างๆ ได้แก่ (1) “ร้านนำ้ชา” อันเป็นสถานที่พูดคุยและวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิม (2)การเปลี่ยนแปลงบทบาทของวัยรุ่นในกำปง ที่รอโอกาสในการเข้าทำงานในมาเลย์ (3) เรื่องเล่าจากข้าวของพื้นบ้านมลายู ที่แหล่งเรียนรู้ชุมชนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกือเม็ง จังหวัดยะลา ที่ชาวบ้านต่างคิดถึงความหลัง (4) การปรับตัวของคนตัวเล็กๆกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น การให้ไข่กับข้าวสารแก่ชาวมุสลิมซึ่งหมายถึงความตาย |
ปัญหาชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้ | นันทวรรณ ภู่สว่าง, เขียน : สุรชาติ บำรุงสุข, บรรณาธิการ | กรุงเทพฯ : โครงการความมั่นคงศึกษา, 2555 | Books:DS570.ม6 น63 2555 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00086988 | กล่าวถึงที่มาทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่ในอดีตเป็นหัวเมืองที่เข้มแข็ง แต่ในช่วงการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก ไทยต้องจำยอมโอนอำนาจอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าวให้อังกฤษ เพื่อแลกกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตภายใต้สนธิสัญญา พ.ศ. 2452 นับแต่นั้นพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวจึงถูกปกครองภายใต้รัฐไทย จึงเป็นมูลเหตุของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่มาโดยตลอด เพื่อแสดงการไม่ยอมรับต่อการปกครอง และเป็นอิสระในการปกครองตนเอง |
อิสลามกับความท้าทายในโลกสมัยใหม่ : มุมมองจากนักวิชาการชายแดนใต้ | วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | กรุงเทพฯ : คณะทำงานทางสังคมสถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | Books: BP163 .อ654 2555 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094417 | รวมบทความและบทวิจารณ์ที่ได้นำเสนอในการสัมมนาวิชาการเรื่อง “อิสลามกับความท้าทายของโลกสมัยใหม่” เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2552 ณ ห้องประชุมเชคดาวูด อัลฟาฎอนีย์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประกอบด้วย บทปาฐกถานำโดย ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา บทบรรยายพิเศษโดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บทความที่นำเสนอโดยนักวิชาการในพื้นที่ จำนวน 8 เรื่อง พร้อมบทวิจารณ์และข้อคิดเห็น ที่เป็นการสะท้อนมุมมองของนักวิชาการในพื้นที่ภาคใต้ต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นของศาสนาอิสลาม และสังคมมุสลิมในปัจจุบัน อาทิ การจัดการความรู้และระบบความรู้ในศาสนาอิสลาม บริบททางสังคมปัจจุบันกับศาสนาอิสลามที่มีความเป็นพลวัต และในแง่ของอิสลามานุวัตร รัฐเซคคิวลาร์ เรื่องสวัสดิการทางสังคมอิสลามและระบบเศรษฐกิจอิสลาม ตลอดจนบทบาทของผู้หญิงมุสลิมในปัจจุบัน |
มุสลิมอีสาน | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2554] | Audio Visual Materials:CDF 000306 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079118 | กล่าวถึงชาวมุสลิมในอีสานที่มีมากกว่า 20 จังหวัด โดยเป็นกลุ่มมุสลิมปาทาน ซึ่งเป็นมุสลิมกลุ่มแรกที่อพยพจากปากีสถานเข้ามาอยู่ที่อีสานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเข้ามาสร้างทางรถไฟสายอีสาน และต่อมาชาวมุสลิมปาทานได้แต่งงานกับคนในพื้นที่ จึงเกิดชุมชนชาวมุสลิมปาทาน และชาวไทยพุทธอาศัยร่วมกันในพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังนำเสนอวิถีชีวิตของชาวมุสลิมปาทานในอีสาน เช่น ภาษาที่ใช้ การประกอบอาชีพ การเรียนศาสนา เป็นต้น |
ความสุขในโลกมุสลิม | ไทยพีบีเอส | กรุงเทพฯ : ไทยพีบีเอส, 2554 | Audio Visual Materials:CDF 000101 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076485 | นำเสนอวิถีชีวิตของชาวอิหร่าน อันมีรากฐานจากวัฒนธรรมเปอร์เซีย โดยนำเสนอสถานที่สำคัญต่างๆทางประวัติศาสตร์ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอิหร่าน ที่มีวัตถุจัดแสดงกว่าสามแสนชิ้น ซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เซียในอดีต พระราชวังซา วิหารแวงก์ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยน พูดคุยกับบุคคลต่างๆในพื้นที่เพื่อสะท้อนมุมมองและชีวิตของผู้คน |
วิถีมุสลิมแห่งกาลอ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials:CDF 000781 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070938 | กล่าวถึงวิถีชีวิต และความเชื่อของชาวมุสลิมบ้านกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ที่เป็นหมู่บ้านเก่าแก่มากกว่า 300 ปี และด้วยพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า ลุ่มนำ้ ชาวบ้านจึงมีความเชื่อและเคารพต่อเจ้าที่ป่าเขา ตลอดจนนำเสนอการเฉลิมฉลองวันฮารียอ หลังการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน |
ซินเจียง มุสลิมสายเลือดมังกร | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, 2553 | Audio Visual Materials:CDF 000503 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071409 | กล่าวถึงมณฑลซินเจียง ที่ในอดีตมีอาณาจักรมากมาย และในปัจจุบันเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยพาไปสัมผัสเมืองและสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น เมืองอูหลู่หมู่ฉี ศูนย์กลางคมนาคมของมณฑลที่มีชาวเติร์ก ชาวอุยกูร์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จตุรัสเอ้อเต้าเฉียง เมืองตู่หลู่ฟาน สถานที่ที่แห้งแล้งที่สุดในจีนแต่กลับมีระบบชลประทานหล่อเลี้ยงคนทั้งเมืองได้ เมืองโบราณเจียงเหอ ที่สามารถพบซากอารยธรรมโบราณ เมืองโบราณเกาซาง เส้นทางผ่านของพระถังซัมจั๋งที่แสดงธรรมที่เมืองนี้เป็นเวลาสามเดือน |
จากกาเม็งเป็นกือเม็ง | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials:CDF 000766 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070897 | กล่าวถึงหมู่บ้านเล็กๆอันเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายบุรี และคนในพื้นที่เป็นชาวมุสลิมทั้งหมด ต่อมาราชการและกรมทางหลวงได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่นี้ว่า กาเม็ง ที่แปลว่าแพะ อันเกิดจากการฟังผิดเพี้ยนจากชื่อเดิมคือ กือเม็ง อันเป็นชื่อศักดิ์สิทธิ์ของสตรีที่มีความเข้มแข็งในเรื่องศาสตราวุธในอดีต การขึ้นทะเบียนชื่อดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้คนในพื้นที่มาโดยตลอด แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “กือเม็ง” ชาวบ้านจึงได้เฉลิมฉลอง โดยทุกคนต่างร่วมใจกันทำอาหาร และขนมประกอบพานบายศรี พานขนมขวัญ พานข้าวเหนียวขวัญ |
บ้านครัว เลือดเนื้อเหงื่อไหล ปมไหมของแขกจามในสยามประเทศ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials:VT 000727 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068822 | กล่าวถึงประวัติที่มาของแขกจามที่เข้าอพยพมาจากนครจามปาราว 500 ปีก่อน จนเมื่อสมัยกรุงธนบุรี ชาวจามเหล่านี้ได้ถูกกวาดต้อนมาทั้งครัวและเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านครัวในปัจจุบัน และมีความสำคัญอย่างมากในสงครามเก้าทัพ อย่างไรก็ตาม แขกจามเป็นกลุ่มมุสลิมกลุ่มใหม่ แต่มีการแสดงออกทางอัตลักษณ์ของตนได้อย่างโดดเด่น เช่น การทอผ้าไหม การมัดย้อม ขนมอาปำ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าไหมที่ชุมชนบ้านครัวยังคงเอกลักษณ์โดดเด่นผ่านผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักอย่าง จิม ทอมป์สันอีกด้วย |
มุสลิมที่แม่สอด | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials:CDF 000612 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068484 | กล่าวถึงชาวมุสลิมกลุ่มต่างๆในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่มีจำนวนราวสองหมื่นกว่าคนซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุด ในอดีตชาวมุสลิมอพยพมาจากอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ พม่า โดยเข้ามาทำการค้าขาย ในปัจจุบันยังมีชาวมุสลิมที่อพยพมาจากพม่า หรือกลุ่มอาระกันเป็นจำนวนมากเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง เพื่อเข้ามาหาโอกาส และที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมที่แม่สอดสามารถดำรงซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนได้ท่ามกลางกลุ่มชาติพันธ์ุอันหลากหลายในพื้นที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร เครื่องเทศ การศึกษา การละหมาด |
จีนมุสลิมที่เชียงใหม่ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials:CDF 000589 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068485 | ชาวจีนมุสลิมในเชียงใหม่แต่เดิมเป็นชาวจีนยูนนาน และได้อพยพมาบริเวณเชียงรุ้ง หรือเชียงใหม่ในปัจจุบัน ต่อมาได้อยู่ร่วมกันและตั้งถิ่นฐานบริเวณชุมชนวัดเกตการาม ชุมชนมัสยิดช้างเผือก และชุมชนมัสยิดช้างคลาน ซึ่งวิถีชีวิตชาวจีนมุสลิมในเชียงใหม่เป็นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ยังคงอัตลักษณ์ของตนผ่านวัฒนธรรมอาหาร โรงเรียนศูนย์อิสลามศึกษา วิทยุชุมชน |
ไทยตุมปัต, เบตงแสนงาม ใน ความงามอันหลากหลาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ชนเผ่า ชาติพันธุ์ ภาษา ชุด ชายแดนใต้ | มหาวิทยาลัยมหิดล | กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, [2552] | Audio Visual Materials:CDF 000386 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064498 | “ไทยตุมปัต” กล่าวถึงภาษาที่ถูกใช้โดยคนมาเลย์เชื้อสายไทยในเมืองตุมปัต รัฐกลันตัน และนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทยในคาบสมุทรมลายูเช่นกัน เพียงแค่มีเส้นแบ่งพรมแดนของประเทศเป็นตัวกั้นกลาง สำหรับ “เบตงแสนงาม” กล่าวถึงอัตลักษณ์อันโดดเด่นของคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งดำรงวิถีชีวิตผ่านงานเทศกาลประเพณี ภาษาจีนสำเนียงต่างๆ การตั้งมูลนิธิที่เชื่อมร้อยคนจีนในพื้นที่ สถาบันการศึกษาจีน เป็นต้น |
ดนตรีในโลกมุสลิม. ใน การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 8 : เรื่อง "ผู้คน ดนตรี ชีวิต" | Feinstein, Alan | กรุงเทพฯ : ศูนย์, 2552 | Audio Visual Materials:SAC 000169 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063789 | กล่าวถึงดนตรีชวากับบริบททางสังคมที่ก่อให้เกิดการประสาน และการปะทะกัน โดยดนตรีชวามีความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเครื่องดนตรี กัมมาลาน(Gamelan) เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตี มีต้นกำเนิดในเกาะชวา ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนะรรมดนตรีกับชนชาติต่างๆ อย่างญี่ปุ่น แต่ในปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้นของดนตรีภายใต้บริบททางสังคมเศรษฐกิจ อีกทั้งยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่ท้าทายอย่างแผ่นซีดีเพลง หรือภาพยนตร์ |
โลกใบเล็กของเด็กมุสลิม | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials:CDF 000595 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068525 | กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวมุสลิมมลายู ในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีวิถีชีวิตตามหลักศาสนา เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้หลักปฏิบัติตามหลักศาสนาผ่านสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันจากพ่อแม่ เช่น การอะซาน และอิกอมะฮฺแก่เด็กทารก การฝึกให้เด็กๆละหมาดตั้งแต่อายุ 7 ปี การอ่านภาษาอาหรับในคัมภีร์อัลกุรอาน การอดอาหารในเดือนรอมฎอนสำหรับเด็กโต การเรียนตาฎีกา(ภาษามลายู) |
เรื่องราวและภาษาจากตากใบ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials:VT 000699 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068496 | กล่าวถึงภาษาไทยตากใบ หรือเจ๊ะเห ที่มีสำเนียงเฉพาะโดยการลากเสียงยาว และถูกใช้ในกลุ่มชาวไทยจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และบางอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเจ๊ะเหเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอตากใบ ซึ่งมีความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานในลุ่มนำ้ตากใบมาตั้งแต่อดีต ภาษาจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของคนในพื้นที่ |
วันฮารียอของมุสลิมในเคดาห์ | แทลเลนท์ แมสมีเดีย | กรุงเทพฯ : แทลเลนท์ แมสมีเดีย, [2551] | Audio Visual Materials:CDF 000420 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063721 | กล่าวถึงบรรยากาศของวันฮารีรายอ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองหลังการถือศีลอดในเมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย หรือไทรบุรี โดยชาวมุสลิมจะต้องชำระร่างกายให้สะอาด และสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดเพื่อออกมาละหมาด พร้อมสวดสรรเสริญตลอดทาง หลังจากละหมาดเสร็จทุกคนจะแสดงความยินดีต่อกัน และบริจาคทาน ตลอดจนไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรพบุรุษ |
การบรรยายทางวิชาการเรื่อง คนมลายูในจังหวัดปัตตานี | ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551 | Audio Visual Materials:SAC 000569 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058362 | กล่าวถึงลักษณะและวิถีชีวิตของคนมลายูมุสลิมในปัตตานีที่มีความแตกต่างจากมุสลิมที่อื่นๆ เช่น การผสมผสานความเชื่อทางศาสนา เข้ากับความเชื่อของท้องถิ่น หรือการย้ายพื้นที่ของผู้คนตามแหล่งทรัพยากรและไม่ได้อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการถาวรก่อนการปกครองของรัฐไทยแบบรวมศูนย์จะเกิดขึ้น เป็นต้น ตลอดจนวิถีปฏิบัติของสามัญชนในพื้นที่ในการเผชิญหน้ากับรัฐไทย ที่มีการผสมผสานความเป็นชาติพันธุ์และท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน |
การแสดงทางวัฒนธรรมครั้งที่ 6 นาชีด-นาเสบ : วิถีดนตรีแห่งวัฒนธรรมอิสลาม | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2546 | Audio Visual Materials:SAC 000153 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036287 | กล่าวถึงการขับร้องอันเป็นวิถีแห่งชีวิตของชาวมุสลิม ซึ่งมีที่มาจากคำสอนของศาสดานบีมูฮัมหมัด เมื่อครั้งเดินทางมายังเมืองมาดีนา และชาวบ้านได้ขับร้องนาชีดเพื่อเป็นการต้อนรับ และมีกลองหน้าเดียวเป็นเครื่องดนตรี ในปัจจุบันนาชีดมีความเป็นสากลมากขึ้น สามารถมีเนื้อหาในเพลงได้ ยกเว้นแต่นำไปสู่สิ่งที่ไม่ดี และได้ถูกนำมาใช้ชุมชนมุสลิมในการสร้างความครึกครื้นในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ส่วนคำว่านาเสบ เป็นคำแผลงของสำเนียงภาษายาวีที่คนมลายูปัตตานีที่อพยพมาอาศัยยังปริมณฑลของราชธานี บริเวณหนองจอก พระประแดง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของมุสลิมภาคกลาง |
เจ้าพระยาบวรราชนายกกับประวัติศาสตร์สยาม = Sheikh Ahmad Qomi and the history of Siam :รวมคำบรรยายและบทความทางวิชาการในวันที่ 15 พฤษภาคม 2537 ณ ห้องประชุมศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน กรุงเทพฯ ;ผู้แปล, กิติมา อมรทัต | กรุงเทพฯ : ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, 2538 | Books:DS578.4 .ก63 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00017387 | กล่าวถึงบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในราชสำนักอยุธยาอย่างเจ้าพระยาบวรราชนายก หรือเชคอหมัด คูมี ชาวอิหร่านมุสลิมที่เข้ามามีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาของเจ้าพระยาพระคลังให้กับกษัตริย์ไทย อีกทั้งเป็นผู้จัดการท่าเรือ และเป็นผู้ตกลงข้อพิพาทระหว่างชุมชนชาวต่างประเทศในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบริบทอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเชคอหมัด มูนี อาทิ การเป็นผู้นำของชุมชนมุสลิมในสยาม การศึกษาร่องรอยทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับเชคอหมัด คูมี และอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบเปอร์เซียในสมัยอยุธยา |
เอกสารเรื่อง โครงการวิจัย เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ประกอบการบรรยาย เรื่อง เรือนไทยมุสลิม | เขต รัตนจรณะ | กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535 | Books:NA7435 .ข7อ7 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004702 | งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของเรือนไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยลักษณะเรือนไทยในบริเวณดังกล่าวสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออกติดกับอ่าวไทย ที่ชาวไทยมุสลิมประกอบอาชีพกสิกรรม จึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาคารพาณิชย์ และอาคารประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม และพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดสตูล ที่ได้รับอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมจากรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย การศึกษาครั้งนี้พบว่า รูปแบบเรือนไทยมุสลิมยังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ อาชีพ เศรษฐกิจ ความเชื่อ และอิทธิพลต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการผสมผสานได้อย่างลงตัวระหว่าประโยชน์ใช้สอย และความงดงาม |
การเมืองไทยในหัวเมืองปักษ์ใต้ในอดีตกับจดหมายเหตุอุดมสมบัติ การเมืองการปกครองภาคใต้ในปัจจุบันบทบาทของการศึกษากับขบวนการทางการเมือง : กรณีของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู | ณะอนุกรรมการส่งเสริมการแต่งตำราวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. | ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2529 | Books:JQ1745 .ส22 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036272 | กล่าวถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของหัวเมืองปักษ์ใต้ในอดีต ตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอ้างอิงตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งนำเสนอรากเหง้าทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในพื้นที่ ตลอดจนความพยายามของรัฐที่ต้องการบูรณาการ และผสมผสานสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน แต่ประสบความล้มเหลวมาโดยตลอด |
แลหลังเมืองตานี : รวมบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม คติความเชื่อและประเพณีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ | อนันต์ วัฒนานิกร | ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528 | Books:DS589.ป6 อ36 2528 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046013 | รวมบทความเกี่ยวกับมิติทางวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดย อ. อนันต์ วัฒนานิกร ซึ่งได้รวบรวมบทความวิชาการในด้านประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ และสังคมบริเวณจังหวัดปัตตานี อันเป็นเมืองโบราณแห่งหนึ่งที่ถูกค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากมายที่สะท้อนความเป็นอยู่ของผู้คน และการเป็นเมืองโบราณสำคัญแห่งหนึ่งในอดีต |
โมโรและแขก : ฐานะของชาวมุสลิมในฟิลิปปินส์และไทย | ปีเตอร์ จี กาววิ่ง, เขียน ;บัณฑร อ่อนดำ, แปล | กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2518 | Books: DS666.ม7 ก65 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016499 | กล่าวถึงชาวมุสลิมในฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยในภาคใต้ของประเทศไทย และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเผชิญปัญหาที่เหมือนกันคือการแบ่งแยกดินแดนภายใต้การการเป็นพลเมืองของประเทศนั้น โดยปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นจากนโยบายบูรณาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของรัฐบาลไทยและฟิลิปปินส์ ทัศนคติและความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันของชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อยของประเทศ และความสำนึกในความเป็นอิสลามของชนกลุ่มนน้อยในประเทศ ตลอดจนได้เสนอแนวทางแก้ไข เช่น การให้ความสนใจต่อข้อเรียกร้องของมุสลิม หรือการปลูกฝังให้เด็กนักเรียนเคารพในกลุ่มคนที่หลากหลาย เป็นต้น |
Islam and the state in Myanmar : Muslim-Buddhist relations and the politics of belonging | edited by Melissa Crouch | New Delhi, India : Oxford University Press, 2016 | Books: KNL2107.M56 A17 2014 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093439 | กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาอิสลาม และรัฐพม่า ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน ซึ่งการตอบสนองที่เกิดขึ้นล้วนไกลห่างจากความรู้ความเข้าใจระหว่างชุมชนมุสลิม และนโยบายอันเกิดจากสถาบันต่างๆของรัฐ นักวิชาการได้มุ่งประเด็นเกี่ยวกับลัทธิล่าอาณานิคมและกฎหมาย ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และความท้าทายต่อความรุนแรงและความปลอดภัย ในมิติทางการเมือง ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมือง ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และมานุษยวิทยา |
Imagining Muslims in South Asia and the diaspora : secularism, religion, representations | edited by Claire Chambers and Caroline Herbert | Abingdon, Oxon ; New York, NY : Routledge, 2015 | Books: PK5416 .I43 2015 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093938 | กล่าวถึงการสำรวจงานวรรณกรรม ภาพยนตร์ สื่อ และวัฒนธรรมที่สะท้อนภาพของชาวมุสลิมในเอเชียใต้หลังจากเหตุการณ์ 9/11 เพื่อสะท้อนการตีความและประสบการณ์ของศิลปินในฐานะชาวมุสลิมในเอเซียใต้และที่อื่นๆ ในแง่ของศาสนาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และวาทกรรมทางสังคมโลก |
Religious diversity in Muslim-majority states in Southeast Asia : areas of toleration and conflict | edited by Bernhard Platzdasch, Johan Saravanamuttu | Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 2014 | Books: BP171.5 .R35 2014 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087406 | กล่าวถึงประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมอย่างในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย ชึ่งสะท้อนเหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสองประเทศนี้ในมิติของการเมือง การประทะกันของความเชื่อของคนกลุ่มใหญ่และคนกลุ่มน้อย ความสัมพันธ์กับศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ หรือความเชื่อของชาวพื้นเมือง |
Culture, religion and conflict in Muslim Southeast Asia : negotiating tense pluralisms | edited by Joseph Camilleri and Sven Schottmann | London ;New York : Routledge, 2013 | Books: BP63.A38 C85 2013 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00088936 | กล่าวถึงอัตลักษณ์ทางการเมือง และสิ่งท้าทายของสังคมการเมืองต่อศาสนาและพหุวัฒนธรรม ผ่านการสำรวจบทสนทนา การปรองดอง ไมตรี และการแก้ไขความขัดแย้ง รวมทั้งการตีความที่หลากหลายของผู้มีส่วนร่วมทางสังคมที่แตกต่างกันต่อความท้าทายของข้อขัดแย้ง วัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งส่งผลดีในการต่อรองของสังคมพหุวัฒนธรรม |
Islamic identity in Chiang Mai city : a historical and structural comparison of two communities | Suthep Soonthornpasuch | Chiang Mai : Center for ethnic studies and development, Chiang Mai university, c2013] | Books: DS570.M85 S98 2013 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079285 | กล่าวถึงพื้นที่ และการตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีชุมชนมุสลิมปากีสถาน และชุมชนมุสลิมยูนานอาศัยอยู่ร่วมกัน แม้ว่าจะมีโครงสร้างการปกครองโดยรัฐไทยในพื้นที่ดังกล่าว การแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมไม่ได้เกิดจากแรงกดดันโดยรัฐเช่นเดียวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่เป็นความขัดแย้งภายในจากความต้องการปฏิรูปและการรวมกลุ่มของชุมชนมุสลิม จึงทำให้การอยู่ร่วมกันของชาวไทยพุทธ และชาวมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ |
Encountering Islam : the politics of religious identities in Southeast Asia | edited by Hui Yew-Foong | Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 2013. (Baltimore, Md. : Project MUSE, 2014) | Books: BP173.7 .E53 2013 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087877 | กล่าวถึงบทบาททางการเมืองของอิสลามที่เผชิญกับบริบทของประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นการสรุป และสะท้อนทั้งเรื่องราวที่น่าประทับใจ การกดขี่ และความอดกลั้นต่างๆที่อาจสอดคล้องและขัดกับอำนาจทางสังคมการเมืองของชาตินั้นๆ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และพื้นที่อื่นๆที่มีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศ เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ |
Sejarah kerajaan-kerajaan Islam secararingkas dan sejarah Melaka sebagaipusatpenyebaran Islam di Nusantara secararingkas = History of Muslim kingdoms, a brief account and Melaka as a centre for the spread of Islam in the Archipelago, a brief account | Datuk Dr. Haji Mohd. Jamil bin Mukmin | BatuBerendam, Melaka :Institut Kajian Sejarah dan Patriotisme Malaysia, 2012 | Books: BP50.M64 2012 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00087408 | กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของอาณาจักรมุสลิมตั้งแต่ยุคของนบีมูฮัมหมัด และเรื่องราวของศาสนาอิสลามในเหตุการณ์ต่างๆของโลก รวมถึงการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามไปยังหมู่เกาะต่างๆในมะละกา และอาณาจักรมะละกามาเลย์ตั้งแต่คริสตศักราช 1400 และยังเป็นศูนย์กลางของการขยายตัวของศาสนาอิสลามในแถบมลายู และศูนย์กลางความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ซึ่งอิทธิพลของศาสนาได้ส่งผลต่อกฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ ภาษา วรรณกรรม และศิลปะต่างๆในมะละกา และพื้นที่ในหมู่เกาะอื่นๆ |
Muslim merit-making in Thailand's far-South | Christopher M. Joll | Dordrecht ; New York : Springer, c2012 | Books: BP166.33 .J65 2012 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079776 | กล่าวถึงการทำบุญของชาวมุสลิมที่อาศัยบริเวณจะบังติกอ (Cabetigo)ในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี อันเป็นชุมชนที่เก่าแก่ และสำคัญที่สุดของชาวมาเลย์ปัตตานี ผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางศาสนา ชาติพันธุ์และภาษาในพื้นที่ดังกล่าว ภายใต้ข้อสงสัยเกี่ยวกับความเข้าใจของการทำบุญของชาวไทยและชาวมุสลิมซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการของความเชื่อแต่ละฝ่ายได้ |
Modern Muslim identities : negotiating religion and ethnicity in Malaysia | Gerhard Hoffstaedter | Copenhagen : NIAS Press, 2011 | Books: BP63.M4 H64 2011 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00074889 | กล่าวถึงการศึกษาอัตลักษณ์ทางการเมืองของมุสลิมมาเลเซียในปีค.ศ. 1999 เป็นต้นมา ในประเด็นของความเป็นสมัยใหม่ของมาเลเซีย และโครงสร้างทางวัฒนธรรมของความเป็นมาเลย์ ตลอดจนบทบาททางอัตลักษณ์มาเลย์มุสลิมในโลกร่วมสมัย ซึ่งบทบาทของรัฐ และพลเมืองต่างมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบของการครอบงำ การปรับตัว และการต่อรอง ในขณะที่มีอีกหลายกลุ่มคนต่อต้าน หลีกเลี่ยง หรือการจัดฉากข้อกำหนดต่างๆของรัฐอยู่ก็ตาม |
The halal frontier : Muslim consumers in a globalized market | Johan Fischer | New York : Palgrave Macmillan, 2011 | Books: BP184.D5 F57 2011 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076660 | กล่าวถึงตัวเลือกอันหลากหลายของผู้บริโภคและกลยุทธ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของฮาลาล หรือสิ่งที่ได้รับการอนุญาตให้อิสลามบริโภคได้ โดยมองผ่าน 5 แก่นหลัก ได้แก่ 1) การเมืองของชาติ อัตลักษณ์ของผู้ย้ายถิ่น และกลุ่มชาติพันธุ์ 2) เศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับบทบาทของศาสนาอิสลาม และบทบาทของมาเลเซียในตลาดโลก 3) ตำแหน่งอันสูงส่งต่อของวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ร่วมสมัยและพื้นที่ทางโลกมีผลต่อบทบาทของอิสลามได้อย่างไร 4) อำนาจหน้าที่ในฮาลาลที่เชื่อมโยงกับวาทกรรมและวิถีปฎิบัติของสถาบันอิสลามและมาเลเซีย และ 5) ความซับซ้อน การแข่งขันของฮาลาลกับตลาดโลก |
The Hijab of Cambodia : memories of Cham Muslim women after the Khmer Rouge | Farina So | Phnom Penh, Cambodia : Documentation Center of Cambodia, 2011 | Books: DS554.46.C45 S6 2011 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078110 | กล่าวถึงชีวิตและประสบการณ์ในช่วงอพยพเขมร ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราว ความทรงจำ ผ่านการเล่าเรื่องจากผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์จามมุสลิมที่ต้องไปใช้ชีวิตในพื้นที่ต่างถิ่น ซึ่งยังเผชิญกับความสับสน ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ บทบาทความเป็นแม่ การหลบซ่อนตัวตนในสถานการณ์ที่โศกเศร้า และทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเขมร |
Being young and Muslim : new cultural politics in the global south and north | edited by Linda Herrera, Asef Bayat | New York : Oxford University Press, 2010 | Books: BP188.18.Y68 B45 2010 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00080055 | าวถึงการสำรวจมุมมองทางวัฒนธรรมและการเมืองของกลุ่มวัยรุ่นมุสลิมทั้งจากเขตโลกเหนือ และโลกใต้ทั้งจากประเทศอินโดนีเซีย เยอรมัน อิหร่าน และสหรัฐอเมริกาผ่านวิถี เงื่อนไขและทางเลือกต่างๆ ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นมุสลิมต่างมีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกันทั้งในเรื่องสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ พร้อมทั้งยังแสดงคำตอบที่น่าสนใจไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ศึกษาหลากหลายแขนงได้ทำการศึกษาไว้ภายใต้ยุคเสรีนิยมใหม่ |
Muslim minorities in modern states : the challenge of assimilation | Raphael Israeli | New Brunswick : Transaction Publishers, c2009 | Books: BP52.5 .I87 2009 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072788 | กล่าวถึงมุมมองจากประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นประชากรกลุ่มน้อยซึ่งได้แก่ ประเทศอังกฤษ และประเทศแถวยุโรป รวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับชาวมุสลิม อาทิ เหตุการณ์ 911 หรือเหตุระเบิดในกรุงลอนดอน ที่ล้วนส่งผลต่อความสงบสุขของประชาชนที่อาศัยร่วมกับผู้อพยพชาวมุสลิม |
Colonialism, violence and Muslims in southeast Asia : the Maria Hertogh controversy and its aftermath | Syed Muhd Khairudin Aljunied | London ; New York : Routledge, 2009 | Books: HV6485.S55 A54 2009 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072813 | กล่าวถึงต้นเหตุ วิวัฒนาการ และผลกระทบทางอ้อมของข้อโต้แย้งทางกฎหมาย และการประทุของความรุนแรงครั้งใหญ่ภายใต้การปกครองของอาณานิคมอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ผ่านเหตุการณ์จราจลของมาเรีย เฮอร์โทจ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างสังคมชาวสิงคโปร์ มาเลย์ และอาณานิคมอังกฤษ |
Southeast Asia and the Middle East : Islam, movement, and the Longue Duree | edited by Eric Tagliacozzo | Singapore : NUS Press, c2009 | Books: DS525.9.M62 S68 2009 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064364 | กล่าวถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเซียตะวันออกกลางที่มีความเป็นมายาวนานมากกว่า 700 ปี ผ่านมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ ครอบครัว การศึกษา และสายสัมพันธ์ทางศาสนาในแง่ทางประวัติศาสตร์และโลกปัจจุบัน ซึ่งศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ถูกเข้าใจตามการสังเคราะห์ของโลกตะวันออกกลางและแนวคิดของท้องถิ่น จนแนวคิดดังกล่าวได้เข้ามาอิทธิพลต่อการเมือง และความเข้มแข็งของอิสลามในพื้นที่ |
Development and Decline of Beijing’s Hui Muslim Community | Zhou Chuanbin and Ma Xuefeng | Chiang Mai, Thailand : Asian Muslim Action Network : Silkworm Books, 2009 | Books: DS731.M87 Z48 2009 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062748 | กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์หุย (Hui) ซึ่งเป็นชาวมุสลิมในประเทศจีนที่ยังรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอิสลามภายใต้การปรับตัวทางวัฒนธรรมต่อสังคมจีน โดยชาวหุยในเมืองและในชนบทต่างมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาจากมัสยิดถึงการศึกษาในระบบโรงเรียน โครงสร้างทางอาชีพดั้งเดิม และในสมัยใหม่ของชาวหุย การแต่งงานข้ามศาสนา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆซึ่งชาวหุยมุสลิมกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน |
Understanding conflict and approaching peace in Southern Thailand | edited by Imtiyaz Yusuf and Lars Peter Schmidt | Bangkok : Konrad-Adenauer-Stiftung e. V., 2006 | Books: HM1126 .U53 2006 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00052075 | ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ยังไม่สร้างความกระจ่างแก่สังคม ประกอบกับคำถาม อาทิ ใครคือผู้ที่อยู่เบื้องหลัง และสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร หนังสือเล่มนี้ได้เสนอเรื่องราวจากมุมมองของนักวิชาการไทย และนานาชาติโดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐาน และยังได้เสนอวิธีการสร้างสันติภาพในพื้นที่ดังกล่าวผ่านการทำความเข้าใจเรื่องของระบบการศึกษา การใช้ภาษา ปัญหาความปรองดองระหว่างรัฐกับคนในพื้นที่ ความรุนแรง มิติของชาติพันธุ์ศาสนา และปัจจัยของมาเลเซียกับโอกาสแห่งสันติภาพในภาคใต้ |
Muslim resistance in Southern Thailand and Southern Philippines : religion, ideology, and politics | oseph Chinyong Liow | Washington, D.C. : East-West Center, c2006 | Books: BP63.T5 L56 2006 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00080450 | กล่าวถึงความขัดแย้งของชาวมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย และในประเทศฟิลิปปินส์ ผ่าน 3 ประเด็น ได้แก่ อิสลามได้รับอะไรจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศไทยและฟิลิปปินส์ ผลลัพธ์ของความซับซ้อน และวัตถุประสงค์ของการต่อต้านได้เปลี่ยนแปลงไปจากรากฐานเดิมหรือไม่ และจากมุมมองของนโยบายและแวดวงวิชาการ ความสำคัญของการเคลื่อนไหวนี้มุ่งไปสู่ความเป็นอิสลามของสองพื้นที่ได้อย่างไร และวิถีทางของความขัดแย้งนี้คืออะไร |
The life of this world : negotiated Muslims lives in Thai society | Chaiwat Satha Anand | Singapore : Marshall Cavendish Academic, 2005 | Books: DS570.M85 C53 2005 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073275 | กล่าวถึงการศึกษาวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในจังหวัดปัตตานี และกรุงเทพ ที่ถือว่าเป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศไทย ชาวมุสลิมยังต้องเผชิญกับความท้าทายของศรัทธา และตัวตนในฐานะชาวมุสลิมผ่านการต่อรอง การต่อสู้เพื่อดำรงไว้ซึ่งสายสัมพันธ์ทางสังคมท้องถิ่น สังคมระดับชาติและสังคมโลก |
การบรรยายเรื่อง มุสลิมปาทานในจังหวัดนครศรีธรรมราช | Dr. Alexander Horstmann | Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre, 2005 | Audio Visual Materials: SAC 000562 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00042468 | กล่าวถึงองค์กรทางศาสนาอิสลามที่ต้องการรื้อฟื้นศาสนาอิสลาม โดยองค์กรดังกล่าวมีต้นกำเนิดในอินเดีย และปากีสถาน ภายใต้วัตถุประสงค์ ผ่านการเข้ามาเผยแพร่แนวคิด คำสอนทางศาสนาในการเดินตามรอยนบีมูฮัมหมัดในพื้นที่ต่างๆ และเน้นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เป็นมุสลิมดั้งเดิม เช่น การไม่ปฏิสัมพันธ์กับชาวพุทธ เป็นต้น ซึ่งหลักดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งทางประเพณีและปรัชญาทางศาสนาได้ |
Political theory on location : formations of Muslim political community in Southern Thailand | Carlo J. Bonura, Jr | Ann Arbor, MI : University Microfilm International, 2003 | Research and Thesis: DS588.S2 B66 2003 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00067580 | กล่าวถึงชุมชนทางการเมืองที่แตกต่างกันของสามหมู่บ้านในจังหวัดสตูล ประเทศไทย โดยกล่าวถึงการศึกษาสาธารณะ และการเมืองอิสลามความแตกต่างของชุมชนการเมืองศาสนาที่ปรากฎ รวมทั้งภาษาที่ใช้ก็เป็นจุดสังเกตที่สร้างความแตกต่างระหว่างชาวมุสลิมที่อยู่ในจังหวัดสตูลและชาวมุสลิมริมฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตั้งของชุมชนทางการเมืองกำหนดกรอบแนวคิดที่หลากหลายและเป็นปรปักษ์มากกว่าการเป็นหนึ่งเดียว |
Between integration and secession : the Muslim communities of the southern Philippines, Southern Thailand,and western Burma/Myanmar | Moshe Yegar | Lanham, Md. : Lexington Books, c2002 | Books:DS570.M85 Y44 2002 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00042414 | กล่าวถึงสามประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ แขกโมโรที่ประเทศฟิลิปปินส์ ชาวไทยมุสลิมที่จังหวัดปัตตานี และชาวโรฮิงญาที่แคว้นอาระกัน ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องการแบ่งแยกดินแดน และความรุนแรง ชาวมุสลิมดังกล่าวไม่ต้องการถูกปกครองด้วยกฎอันมิใช่มุสลิม รวมทั้งรัฐบาลต่างไม่สามารถสละอำนาจให้กับดินแดนภายใต้ได้ การพัฒนาสวัสดิการทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจที่เพียงพอกับชาวมุสลิม อาจเป็นทางออกที่เพียง เว้นแต่ว่าชาวมุสลิมจะมุ่งก้าวไปยังการผนวกรวมกับดินแดนมุสลิมใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง |
Living faith : inside the Muslim world of Southeast Asia | Steve Raymer ; [foreword by Tan Sri Razali Ismail] | Singapore : Asia Images Editions, c2001 | Books: BP63.A38 R39 2001 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032344 | กล่าวถึงการเดินทางของช่างภาพ สตีฟ เรย์เมอร์ ที่ได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆกว่า 85 ประเทศทั่วโลก และได้เก็บภาพวิถีชีวิตต่างๆของชาวมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน กัมพูชา และอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดผ่านมุมมองของวัฒนธรรมมุสลิมในสถานที่ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อาทิ มัสยิด อันเป็นสิ่งสำคัญของชีวิตแบบอิสลาม โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่มีธรรมเนียมปฏิบัติของผู้ปกครอง และการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรม หมู่บ้านพื้นที่แห่งประเพณีและการเปลี่ยนผ่านของการดำรงชีพ วิถีชีวิตตามมุมเมืองต่างๆของอิสลามท่ามกลางกระแสโลกปัจจุบัน เช่น ตลอดจนวิถีปฏิบัติของครอบครัวชาวมุสลิม |
China's Muslim Hui community : migration, settlement and sects | Michael Dillon | Richmond, Surrey : Curzon, 1999 | Books:DS731.M87 D55 1999 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00017497 | กล่าวถึงประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์หุย ซึ่งเป็นกลุ่มชาวมุสลิมในประเทศจีน โดยเล่าถึงที่มาของศาสนาอิสลามในแผ่นดินจีนก่อนสมัยราชวงศ์หมิง และการตั้งรกรากของชาวหุยในราชวงศ์หมิง ที่ต่อมาอยู่ภายใต้การปกครองโดยแมนจู หรือเหตุจราจลของชาวหุยที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ตลอดจนการก่อตัวของชาวหุยในต้นศตวรรษที่ 20 ทั้งนี้ ยังสะท้อนเรื่องของบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่ออัตลักษณ์ของชาวหุยบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ที่โดดเด่นด้านการศึกษาศาสนา และการใช้ภาษาอาหรับ เปอร์เซีย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และชาวหุย วิถีชีวิตของชาวหุยในสังคมจีนร่วมสมัย |
Muslim Chinese : ethnic nationalism in the People's Republic | Dru C. Gladney | Cambridge, Mass. : Council on East Asian Studies, Harvard University : Distributed by Harvard University Press, 1996 | Books: DS731.M87 G53 1996 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00042697 | นำเสนอ 7 ประเด็นหลักเกี่ยวกับชาวมุสลิมในจีน เริ่มจากความเป็นมาของกลุ่มมุสลิม หรือกลุ่มชาติพันธุ์หุยในประเทศจีน งานวิจัยด้านชาติพันธุ์และรัฐจีน การฟื้นคืนของศาสนาชาติพันธุ์ในชุมชนมุสลิมตะวันตกเฉียงเหนือ อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในความเป็นเมือง การแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ การประกอบสร้างของกลุ่มชาติพันธุ์ การแทรกแซงของรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ และการสรุปถึงอัตลักษณ์ของชาติจีน |
The architecture of memory : a Jewish-Muslim household in colonial Algeria, 1937-1962 | Joelle Bahloul ; translated from the French by Catherine du Peloux Menage | Cambridge [England] ; New York : Cambridge University Press, c1996 | Books: DS135.A3 B35 1996 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064453 | กล่าวถึงความทรงจำต่อบ้านเรือนที่ถูกจับจองโดยชาวยิว และครอบครัวชาวมุสลิมในช่วงประกาศอิสรภาพของแอลจีเรีย พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในเมืองเซทีฟทางตะวันออกของประเทศแอลจีเรีย โดยผ่านคำบอกเล่าของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวดาร์ เรฟายิล (Dar-Refayil) เพื่อเติมเต็มเรื่องต่างๆในสังคม ซึ่งเริ่มจากการสำรวจเหตุการณ์ที่ถูกคัดสรรจากเรื่องเล่าภายใน การถ่ายทอดควาทรงจำผ่านพื้นที่และสิ่งที่พื้นที่ต้องการบอกเล่าเกี่ยวกับอดีต ตลอดจนความทรงจำของเหล่าผู้คนในพื้นที่ต่อการเคลื่อนไหว ปฏิสัมพันธ์ และโชคชะตา |
Asian visions of authority : religion and the Modern states of West and Southeast Asia | edited by Chares F. Keyes, Laurel Kendall, Helen Hardacre | Honolulu : University of Hawaii Press, c1994 | Books: BL1055 .A87 1994 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000682 | กล่าวถึงธรรมชาติของศาสนาและสังคมในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 หรือยุคสมัยใหม่ (modernization) โดยทำการศึกษา และสำรวจในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของศาสนาในแง่มุมต่างๆ ได้แก่ อำนาจของรัฐกับศาสนา การปรับเปลี่ยนรูปแบบของศาสนาพิธี ความขัดแย้งทางศาสนาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ศาสนาในยุคใหม่ล้วนมีความเชื่อมโยงกับความแตกต่างทางความเชื่อ กลุ่มชาติพันธุ์ และรัฐอย่างแยกไม่ได้ |
The research of the Chinese Muslim society in Northern Thailand | Seiji Imanaga | Hiroshima : Hiroshima University in association with Keisui-sha, 1990 | Books: DS570.M85 I43 1990 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058791 | กล่าวถึงที่มาของชาวจีนฮ่อมุสลิมที่อาศัยในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยพบชุมชนชาวมุสลิมราวต้นศตวรรษที่ 20 ที่อำเภอเวียงพิง จังหวัดเชียงใหม่ เรียกว่าบ้านฮ่อ ซึ่งมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และมีจำนวนชาวมุสลิมประมาณ 600 คน และได้กระจายตัวไปยังพื้นที่สันป่าข่อย ที่มีชาวมุสลิมปากีสถานและบังคลาเทศเข้ามาอาศัยร่วมกัน อย่างไรก็ตามชาวจีนฮ่อมุสลิมได้มีการปรบตัวทางวัฒนธรรมกับชาวไทย เช่นการมีชื่ออิสลาม ชื่อไทย และชื่อจีน หรือการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน การสวมใส่เสื้อผ้าแบบชาวไทย หรือการแต่งงานข้ามศาสนา |
Muslim communities in Bangkok | Ryoko Nishii | [Kyoto, Japan : Kyoto University, 1989?] | Research and Thesis: DS570.M8 N57 1989 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056908 | งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาขอบเขตของชุมชนมุสลิมในกรุงเทพ และการปรับตัวของชาวมุสลิมในสังคมไทย ซึ่งพบว่ายังมีย่านมุสลิมเก่าแก่ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง และในพื้นที่เศรษฐกิจกลุ่มมุสลิมและชาวพุทธยังตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกัน สำหรับการปรับตัวของชาวมุสลิมในกรุงเทพมีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นการพูดภาษาไทย มีชื่อไทย แม้ว่าจะมีการแต่งงานระหว่างคนต่างศาสนา และคู่สมรสต้องเปลี่ยนศาสนาก็ตาม ความเป็นมุสลิมก็ยังคงอยู่ นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังได้รับโอกาสในการไปทำงานต่างประเทศ และการเข้าพิธีฮัจญ์เพื่อการติดต่อกับสังคมมุสลิมภายนอกได้อีกด้วย |
Readings on Islam in Southeast Asia | compiled by Ahmad Ibrahim, Sharon Siddique, Yasmin Hussain | Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 1985 | Books: BP63.A4 R43 1985 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059032 | สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้ทำการรวบรวมประเด็นทางสังคมต่างๆ ที่มีผลต่อสังคมสมัยใหม่ ศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญและน่าสนใจ หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความวิชาการเกี่ยวกับศาสนาอิสลามตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นยุคก่อตัวของรัฐชาติต่างๆ โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจที่มาของศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการมีบทบาทสำคัญของศาสนาอิสลามต่อการเมืองในภูมิภาคนี้ ที่มิอาจปฏิเสธได้ว่าศาสนาอิสลามเป็นพื้นฐานความเชื่อ และวิถีปฏิบัติของชีวิตอย่างแยกกันไม่ได้ ตลอดจนเป็นการศึกษาระบบคุณค่าของอิสลามต่อยุคทันสมัย(Modernization)และการพัฒนาต่างๆ |
Political integration policy in Thailand : the case of the Malay Muslim minority | Panomporn Anurugsa | Ann Arbor, MI. : University Microfilm International, 1984 | Research and Thesis: DS570.M3 P36 1984 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00067809 | ปริญญานิพนธ์นี้ต้องการศึกษาวิธีการ และกลยุทธ์ของรัฐบาลไทยในการปกครองแบบรวมอำนาจเพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อกลุ่มมาเลย์มุสลิม โดยมองผ่านประเด็นของการปรับตัว การตั้งถิ่นที่อยู่อาศัย และการสิทธิในการปกครองตนเองผ่านการศึกษาใน 4 ช่วงสมัย ตั้งแต่ปลายคริสตศักราช 1800 ที่มีการขยายการปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วงคริสตศักราช 1932-1959 ที่รัฐมีนโยบายการปรับตัวต่อความหลากหลาย และความขัดแย้งภายในกลุ่มชาติพันธุ์จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มมาเลย์มุสลิม และการปราบปรามของรัฐ รวมทั้งช่วงการขยายอำนาจของรัฐต่อกลุ่มมาเลย์มุสลิม ในช่วงคริสตศักราช 1960-1979 ตลอดจนการทบทวนนโยบายต่างๆของรัฐตั้งแต่คริสตศักราช 1980 เป็นต้นมา |
The role of women in maintaining ethnic identity and boundaries : a case of Thai-Muslims (The Malay speaking group) in Southern Thailand | ChavivunPrachuabmoh | [s.l. :s.n.], 1980 | Research and Thesis: HQ1170 .C53 1980 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036118 | กล่าวถึงการศึกษาบทบาททางเพศของกลุ่มชาวไทยมุสลิมจากมุมมองทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งพบว่าบทบาทของเพศหญิงจะโดดเด่นในสถาบันทางสังคมแบบไม่เป็นทางการ เช่น ในสถาบันครอบครัว โดยเพศหญิงจะสะท้อนบทบาทของความเป็นแม่ในการขัดเกลาทางสังคมและการปลูกฝังอัตลักษณ์แก่เด็ก การแต่งกาย การใช้ภาษา หรือการไม่แต่งงานข้ามศาสนา สำหรับบทบาททางเพศของชายมุสลิมจะมีบทบาทสำคัญในสถาบันทางสังคมที่เป็นทางการ เช่น โรงเรียนสอนศาสนา อย่างไรก็ตาม บทบาททั้งสองต่างสะท้อนอัตลักษณ์ของตนได้เป็นอย่างดี |
Muslim Religious Architecture | Dogan kuban | Leiden : Brill,1974-. | Book: NA4610.K83 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00002616 | กล่าวถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมของมัสยิด อันเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นศูนย์กลางทางสังคมของชาวมุสลิม ในการเป็นแหล่งศึกษา การรวมกลุ่มของชุมชน ที่หลบภัยของนักท่องเที่ยว หรือสถานที่แจกจ่ายอาหารให้ผู้ยากไร้ โดยนำเสนอเรื่องราวของมัสยิดผ่านมุมมองทางประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในยุคต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาทางสถาปัตยกรรมของมัสยิดในอียิปต์ และอินเดีย แต่อย่างไรก็ตามพิธีกรรมและวิถีชีวิตของชาวมุสลิมยังคงมีอยู่ไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตาม |