เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564
สมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง[1] มิติของการพัฒนาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นแนวคิดการพัฒนาที่สามารถให้ชุมชนท้องถิ่นใช้ศักยภาพของตนเองมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนและสิทธิทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ บทความในหนังสือ วารสาร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิทธิชุมชน สิทธิทางวัฒนธรรมและการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจค้นคว้าในประเด็นดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้ต่อไป
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
เอกรินทร์ พึ่งประชา...[และคนอื่นๆ].
Imprint
กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 2562
Collection
Book: S494.5.S86 ด63 2562
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากการทำวิจัยเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรในหมู่บ้านก้างปลาและบ้านนาหมูม่น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในการทำเกษตรทางเลือกด้วยระบบเกษตรปลอดภัยควบคู่กับการปลูกไม้ผลยืนต้น การให้ความรู้ในการจัดการผลิต รวมถึงพัฒนาระบบตลาดพืชผักปลอดภัยมาตรฐานด่านซ้ายกรีนเนท โดยระบบประกันอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งจากผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างการทำงานเชิงบูรณาการในท้องถิ่นผ่านตลาดสีเขียวด่านซ้าย และบทบาทของผู้หญิงในการขับเคลื่อนชุมชนผ่านกระบวนการจัดการตลาดพืชผักปลอดภัย ท้ายที่สุด คณะผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะจากการวิจัยปฏิบัติการเพื่อให้ชาวบ้านสามารถทำการเกษตรและพัฒนาผลผลิตได้อย่างยั่งยืน
อ่านต่อ...Author
สุนทรชัย ชอบยศ
Imprint
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, วิทยาลัยการเมืองการปกครอง, โครงการผลิตและเผยแพร่ตำราและผลงานวิชาการ , 2562
Collection
Book: DS589.พ65 ส73 2562
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและแนวทางการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน โดยกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นใน 3 รูปแบบ ได้แก่
1. การสร้างความตระหนักและสำนึกรักท้องถิ่น และการต่อสู้กับอำนาจรัฐและทุนภายนอก
2. การใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในการเสริมสร้างการท่องเที่ยวท้องถิ่น
3. การใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในการเสริมสร้างการศึกษาของคนในท้องถิ่น
Author
สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Imprint
กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2561
Collection
Book: S602.87 .ส46 2561
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวของอาหารที่เกิดขึ้นในไร่หมุนเวียนของชาวปกาเกอะญอ 3 ชุมชน ได้แก่ หมู่บ้านห้วยหินลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านแดลอ - เขล่อคี (แม่ลายเหนือ) อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหมู่บ้านแม่เหยาะคี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนำเสนอเมนูอาหารโดยคนทำอาหารทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน รวมถึงนำเสนอความรู้ในการทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นการทำเกษตรกรรมรูปแบบหนึ่งที่ยั่งยืนและเกื้อกูลต่อระบบนิเวศตามความเชื่อของชาวปกาเกอะญอ ฤดูกาลในไร่หมุนเวียนนั้นจะสัมพันธ์กับฤดูกาลอาหารและฤดูกาลเพาะปลูกตามธรรมชาติ รวมถึงพิธีกรรมที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของธรรมชาติ อาหารในไร่หมุนเวียนจึงเป็นวัตถุดิบที่เสาะหาได้จากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบท้องถิ่นที่หาได้ตามฤดูกาล
Author
เอกรินทร์ พึ่งประชา.
Imprint
กรุงเทพฯ : บจก.รุ่งแสงธุรกิจการพิมพ์, 2560
Collection
Book: S544.5.ท9 อ72 2560
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากการทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างศักยภาพของครัวเรือนในระบบการผลิตอาหารทางการเกษตร ตั้งแต่การออกแบบชีวิตในการทำการเกษตร การวางแผนเพาะปลูก การจัดการกับผลผลิตทางการเกษตร การกระจายสินค้าเกษตรและแนวทางการทำการตลาดที่เป็นธรรม ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อหาข้อสรุปเป็นเครื่องมือชี้วีดปัจจัยและเงื่อนไขของครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ก่อนพัฒนาสู่หมู่บ้านเกษตรต้นแบบ และการสร้างสมาร์ทฟาร์มเมอร์ โดยเลือกหมู่บ้านก้างปลา ตำบลด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นพื้นที่ในปฏิบัติการ
Author
เอกรินทร์ พึ่งประชา...[และคนอื่น ๆ].
Imprint
กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2560
Collection
Book: TC513.ท9 อ72 2560
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
“ลุ่มน้ำหมัน” เป็นพื้นที่สำคัญทางการเกษตรและอุปโภคบริโภคของชาวบ้านในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยมีพื้นที่ราว 600 ตารางกิโลเมตร การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำหมันโดยเครือข่ายทางสังคมจึงจำเป็นต้องศึกษาความสำคัญของลุ่มน้ำหมัน ระบบนิเวศของลุ่มน้ำหมัน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำหมัน ทั้งนี้ จากการประชุมเพื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำซึ่งสถานการณ์น้ำนั้นมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของป่าต้นน้ำ และเชื่อมโยงกับระบบนิเวศอื่น รวมถึงศักยภาพของชุมชนด้านการจัดการฐานทรัพยากรอาหารที่มีความสัมพันธ์กับวิธีคิดเรื่องการจัดการลุ่มน้ำในชุมชน ตลอดจนการจัดการป่านและป่าต้นน้ำที่มีส่วนสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารของชุมชนอีกด้วย
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ