เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564
“มรดกทางวัฒนธรรม” มีความเป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม มีการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติและกฎหมายประเทศต่างๆ ทั้งในแถบทวีปยุโรปและเอเชีย ได้แบ่งประเภทของวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible Cultural Heritage) เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) เช่น ประเพณี ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านมรดกทางวัฒนธรรม Subject Guide ชุดนี้ รวบรวมหนังสือ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ บทความในประเด็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีให้บริการในห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สรุปเนื้อหาเพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัย นักศึกษาได้ทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้ประโยชน์ต่อไป
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
โกมล พานิชพันธ์ และ เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ
Imprint
พะเยา : นครนิวส์การพิมพ์, 2563
Collection
Books GT1520 .ก94 2563
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือ “ลายโบราณผ้าเมืองลอง” เล่มนี้ ได้รวบรวมสาระครอบคลุมในเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลอง วิถีชีวิตชุมชน ขั้นตอนการผลิตผ้า การสร้างสรรค์ลายผ้าเมืองลอง โดยจะไม่เน้นถึงเทคนิคหรือกรรมวิธีต่าง ๆ ในการทอ แต่จะเป็นหนังสือที่เน้นเล่าเรื่อง “ลายโบราณผ้าเมืองลอง” ซึ่งจะแบ่งตามประเภทต่าง ๆ เช่น ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าตุ๊ม ผ้าปกสะลี และผ้าพิเศษ ผ้าที่ได้รับรางวัลในระดับชาติและระดับอาเซียนในพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ รวมทั้งยังกล่าวถึงประวัติของโกมล พานิชพันธ์ และพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ
Author
พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
Imprint
กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2563
Collection
Books AM71 .พ646 2563
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
โครงการประชุมวิชาการพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสให้นักศึกษา อาจารย์ นักปฏิบัติการ ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการกับบุคลากรต่างจังหวัด และเป็นการเปิดพื้นที่การศึกษาเรื่องพิพิธภัณฑ์ศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสือพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรมเล่มนี้ โดยภายในเล่มจะประกอบด้วย 7 บทความ ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในเรื่องพิพิธภัณฑ์ศึกษาและมรดกวัฒนธรรมศึกษา
Author
อนุสรณ์ ติปยานนท์
Imprint
นนทบุรี : อินี่เครือข่ายนวัตกรรมสากล, 2563
Collection
Books TX724.5.ท9 อ372 2563
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของอาหารที่ไม่เคยถูกบันทึกไว้เป็นตำราและไม่เคยนำมาถ่ายทอดผ่านการศึกษา ไม่เคยมีการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอาหาร ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่องของอาหารน้อยมาก หนังสือได้กล่าวถึงนวัตกรรมซึ่งคือการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหรือออกแบบอาหารในแต่ละภูมิภาคได้ เพียงเข้าใจในวัตถุดิบของแต่ละฤดูกาลและภูมิภาค ก็จะสามารถรังสรรค์เมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย
อ่านต่อ...Author
อนุกูล ศิริพันธ์, นวลพรรณ บุญธรรม และ รุ่งตะวัน อ่วมอินทร์.
Imprint
กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2562
Collection
Books DS588.ห7 อ472 2562
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือ “ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีล้านนา” เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาจากการจัดกิจกรรมโดยให้สมาชิกเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือได้นำเอาของดีของตนเองมาจัดแสดง พร้อมกับการบรรยายเรื่องราวพิพิธภัณฑ์ การเสวนา การแสดงที่หลากหลายประเด็น ได้แก่ วิถีล้านนา ศรัทธาเหนือธรรมชาติ ปราดเปรื่องเรื่องพิธีกรรม และเลิศล้ำศรัทธา
Author
โสภา ศรีสำราญ
Imprint
นนทบุรี : อินี่เครือข่ายนวัตกรรมสากล, 2562
Collection
Books TX557 .ส94 2562
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความตระหนักว่าการกินทุกวันนี้ นิยมบริโภคอาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูปซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคเส้นเลือดอุดตัน รวมเรียกว่าโรคจากการใช้ชีวิต (Non-Communicable disease) ด้วยเหตุนี้การสํารวจพืชผักทั้งสี่ภาคจึงเกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้เป็นการเดินทางสํารวจระบบนิเวศอาหารของสังคม เพื่อแสดงให้เห็นว่าพืชผักบ้านๆ ที่มีคุณค่าสารอาหารและความหลากหลายของพืชผักยังมีอยู่แม้จะลดน้อยลงตามสภาพการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม
อ่านต่อ...ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ