เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มลาบรี กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี คนในเรียกตัวเองว่า ยุมบรี, มลาบรี, มละบริ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ ผีตองเหลือง/ผีป่า ข่าตองเหลือง (Kha Tong Luang)/ข่าป่า (Kaa Paa) ม้ากู่/จันเก้ม ตองเหลือง/คนตองเหลือง คนป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ชาวมลาบรี เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสายยะบุรี ประเทศลาว ต่อมาเริ่มอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ ตามแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีตามฤดูกาลเช่น แถบภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แถบภูกระดึง จังหวัดเลย และตามป่าบนดอยสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีชุมชนเป็นของตนเองในพื้นที่ 2 จังหวัด หมู่บ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และบ้านทะวะ อำเภอสอง และบ้านห้วยฮ่อม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ “มละบริ” คือคนที่อยู่กับป่า ผู้มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการยังชีพในป่า อาศัยป่าเลี้ยงตัวเอง พวกเขามีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ด้วยการแลกเปลี่ยนของป่ากับของจำเป็นที่ใช้ดำรงชีวิต เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เกลือ เป็นต้น ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี ทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
สารคดี
Imprint
กรุงเทพฯ : สารคดี, [254?]
Collection
SAC library- Books (7th floor) - D843.ส64
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
มลาบรี หรือเป็นที่เข้าใจกันผิดว่าชื่อ ผีตองเหลืองนั้น เป็นอิสระชนที่ในปัจจุบันมีจำนวน 180 คน โดยอยู่กระจัดกระจายกันเป็น 3-4 กลุ่ม ในเขตอำเภอเวียงสา กิ่งอำเภอเมืองหลวง จังหวัดน่าน และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากประเทศลาว มีลักษณะทั่วไปและภาษาใกล้เคียงกับชาวเขมร ขมุหรือลั๊วะ เดิมพวกเขาจะนุ่งผ้าเตี่ยวหรือไม่ใส่เสื้อผ้า พวกเขาจะย้ายที่อยู่อาศัยไปเรื่อยๆและสร้างบ้านอย่างง่ายจากวัสดุที่หาได้ตามสภาพแวดล้อมทั่วไป พวกเขามีความสามารถในการหาหัวเผือกและกลอยอาหารเหล่านี้จึงเป็นอาหารของพวกเขา ต่อมาพวกเขาได้รับจ้างทำไร่เพื่อแลกกับที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม อีกทั้งวิถีชีวิตของพวกเขานั้นอยู่กันอย่างเรียบง่ายทั้งการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ไม่ต้องจัดพิธีให้ยุ่งยาก การรักษาอาการเจ็บป่วยจากสมุนไพรที่หาได้ตามธรรมชาติเมื่อมีคนตายก็เพียงขุดหลุมฝังแบบธรรมดาๆ แต่เคร่งครัดอย่างมากในการปฏิบัติตัวของผู้หญิงและต่อผู้หญิง รวมไปถึงการนับถือผีที่ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ และเซ่นผีที่พวกเขานับถืออย่างเคร่งครัด ในปัจจุบันวิถีชีวิตของพวกเขาต้องปรับเปลี่ยนไป เช่น สร้างบ้านพักพิงอย่างถาวร หรือยอมรับสภาพการเป็นลูกจ้างอย่างเคยชิน
อ่านต่อ...Title
Author
สุรินทร์ ภู่ขจร ภัทรวดี กุลแก้ว, ชนัญ วงษ์วิภาค
Imprint
[ม.ป.ท., ม.ป.พ.], [252-?]
Collection
SAC Library--Books (7th floor)--DS570.ผ6ส75
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
ผีตองเหลือง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามภาคเหนือของประเทศไทย มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น ข่าตองเหลือง ยุมบรี มราบรี และมลาบรี ภายในกลุ่มมักจะเรียกแทนตัวเองด้วยคำว่า มลาบรี ที่แปล่า คนป่า ใช้ภาษาม้งหรือแม้วในการติดต่อสื่อสารระหว่างชนเผ่า มีลักษณะเฉพาะ การแต่งกายมักใช้ใบไม้และเปลือกไม้มาปกปิดร่างกาย คำว่า ผีตองเหลือง เป็นคำเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้โดยบุคคลนอกที่ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปในที่อาหารเพียงพอสำหรับกลุ่มและมักจะเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาเช้า การสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะที่เรียบง่าย ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มผีตองเหลืองมักจะเป็นไปในลักษณะการหาของป่าล่าสัตว์ ความรู้ในการนำพืชพันธุ์ไม้ป่ามาใช้เป็นยารักษาโรค กล่าวถึงสังคมที่เป็นไปในลักษณะเครือญาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อ อันได้แก่ การเกิด การตั้งชื่อ การแต่งงาน การหย่าร้าง และการตาย รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับจากสังคมภายนอกที่กลุ่มผีตองเหลืองจำต้องปรับเปลี่ยนมีการติดต่อกับคนภายนอกมาขึ้น
อ่านต่อ...Author
วิภู กุตะนันท์, ดาวรุ่ง กังวานพงศ์, Mark Stoneking
Imprint
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2559
Collection
Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
โครงการประวัติการสืบเชื้อสายของกลุ่มประชากรเก็บของป่าล่าสัตว์ในประเทศไทย เป็นการศึกษาความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่ม คือกลุ่มมานิและกลุ่มมลาบรี ผ่านการศึกษาจากรหัสทางพันธุกรรมของทั้ง 2 กลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรเก็บของป่าล่าสัตว์เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างพบว่า กลุ่มของมานิมีความหลากหลายทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอและโครโมโซมวายมีความแตกต่างกันโดยมีดีเอ็นเอสูงกว่าโคโมโซมวาย เป็นลักษณะที่พบได้ในประชากรนิโกรโตในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับชาวมานิซึ่งเป็นประชากรดั้งเดิมที่มีการผสมผสานกับประชากรกลุ่มอื่น ในขณะที่กลุ่มของประชากรชาวมลาบรีจะมีโครโมโซมวายจะสูงกว่าดีเอ็นเอ และมีชุดดีเอ็นเอเพียง 2 ชนิดซึ่งน้อยกว่ากลุ่มมานิ จากการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบได้ว่ากลุ่มชาวมลาบรีมีพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับชาวถิ่นและขมุที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของไทยและสรุปได้ว่ากลุ่มมลาบรีไม่ใช่ประชากรนิกริโตแต่น่าจะเป็นกลุ่มที่ทำเกษตรกรรมและมีเกิดการลดลงของจำนวนประชากรภายในกลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากลักษณะทางพันธุกรรมดีเอ็นเอและโครโมโซมวายที่มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มของชาวมานิ
อ่านต่อ...Author
เชษฐ์ นิมมาทพัฒน์
Imprint
น่าน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2558
Collection
ThaiLIS Digital Collection
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
การบังคับใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีความสุขอย่างยั่งยืน แผนพัฒนาดังกล่าวจึงส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของชนเผ่ามลาบรีมีการเปลี่ยนแปลงไป พบว่าการเรียนรู้ของชนเผ่ามลาบรีมีรูปแบบการเรียนรู้แบบสั่งสมประสบการณ์ และการเรียนรู้แบบรูปแบบการทดลองการประยุกต์แนวคิด ดังนั้นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นไปในลักษณะของการเป็นการมีส่วนร่วม และการให้อิสระแก่ชุมชนในการปกครองกันเองโดยองค์กรการปกครองจะคอยให้คำปรึกษา ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ถือเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
อ่านต่อ...Title
Author
Nimonjiya Shu
Imprint
วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 38, ฉบับที่ 1(2558), หน้า 137-170 : ill
Collection
วารสารวิจัยสังคม. ปีที่ 38, ฉบับที่ 1(2558), หน้า 137-170 : ill
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
ภายใต้โครงการพัฒนาจากภาครัฐต่อกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี หรือที่รู้จักกันว่า “ผีตองเหลือง” ในพื้นที่บ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวในหลายด้านๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างมลาบรีกับป่า ซึ่งจากการที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2555-2557 (ค.ศ. 2012-2014) วิถีชีวิตแบบใหม่ตามโครงการพัฒนาจากภาครัฐ เช่น การตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร การทำงานรับจ้างเพาะปลูกพืชเชิงพาณิชย์และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แม้จะทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีมีโอกาสในดำรงชีวิตตามวิถีสมัยใหม่แต่ก็ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับป่าอย่างแนบแน่นตามวิถีดั้งเดิมนั้นหายไป ซึ่งอย่างไรก็ตามวิถีบรรพบุรุษที่ป่าคือบ้าน ถือเป็นอัตลักษณ์ที่ยังคงถูกรำลึกถึงอยู่เสมอผ่านรุ่นสู่รุ่น
อ่านต่อ...ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ