เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : ชอง กะซอง และซัมเร
ชอง กะซอง และซัมเร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม บุคคลภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ชอง” ตั้งถิ่นฐานตามแนวเขาบรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ (ตำบลตะเคียนทอง ตำบลคองพลู ตำบลพลวง และตำบลซากไทย) อำเภอโป่างน้ำร้อน (ตำบลทับไทร) จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และอำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง) จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอศรีสวัสดิ์) รวมทั้งในจังหวัดไพลิน จังหวัดกัมปอด จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดโพธิสัตว์ของประเทศกัมพูชา ชาวชอง ชาวกะซอง และชาวซัมเรมีลักษณะทางกายภาพ ภาษา และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในรายละเอียด ภาษาที่ใช้คือ ภาษาชอง ภาษากะซองและภาษาซัมเร เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยเปียริก (Pearic language) เดิมภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ชาวชองในประเทศไทย นับถือศาสนาพุทธและผี มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่น ประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา ชาวกะซอง หรือ ชอง (จังหวัดตราด) ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา ตําบลด่านชุมพล อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ชาวซำเร หรือ สำเหร่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ บ้านมะม่วง บ้านคลองโอน และบ้านนนทรีย์ ตำบลนนทรีย์ เขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด นอกจากนี้ยังพบชาวซำเรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ( อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ) และจังหวัดกาญจนบุรี (บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ ชาวซำเรกลุ่มนี้เดินทางมาจากพระตะบอง ประเทศกัมพูชาเป็นเครือญาติกับคนชองซำเร ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด)
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Title
Author
ดำรงพล อินทร์จันทร์
Imprint
กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2559
Collection
SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- DS570.K36 ด64 2559
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
ชาวกะซอง หรือ ชาวชอง และชาวซำเร คือกลุ่มภาษากะซองและซำเร อาศัยอยู่บริเวณชุมชนขนาดเล็กในพื้นที่ 2 ตำบล คือบ้านคลองแสง ตำบลด่านชุมพล บ้านมะม่วงและบ้านคลองโอน ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ที่มีชายแดนทางตะวันออกติดต่อกับประเทศกัมพูชา บ้านคลองแสงนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร การทำสวน และ รับจ้าง มีสำนักสงฆ์คลองแสงเป็นจุดยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านที่จะมารวมตัวและให้ความร่วมมือกันในวันหยุด วันพระ วันสำคัญทางศาสนา และประเพณีต่าง ๆ ในส่วนของบ้านมะม่วงและบ้านคลองโอน จะมีลักษณะคล้ายกันคือเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (ปชด.) ชุมชนบ้านมะม่วงส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวน รับจ้าง และเก็บของป่า แต่ลักษณะเด่นของบ้านคลองโอนจะเป็นการจักสานที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย การแบ่งงานส่วนใหญ่ผู้ชายจะมีหน้าที่ทำงาน ทำไร่ ทำสวน เก็บของป่า และรับจ้าง ส่วนผู้หญิงจะรับผิดชอบงานบ้าน ทำกับข้าว ทั้งชาวกะซองและชาวซำเร นับถือภูตผีวิญญาณ จึงมีประเพณีที่เกี่ยวกับความตายและประเพณีไหว้ผี เช่น ประเพณีไหว้ผีแม่มด เป็นต้น
อ่านต่อ...Author
สุดารา สุจฉายา
Imprint
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 44, ฉบับที่ 1 (ม.ค./มี.ค. 2561), หน้า 44-59
Collection
Sac Journal
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
อ่านต่อ...
Author
ชัยณรงค์ เพ็ชรศิริ
Imprint
จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2560
Collection
ThaiLIS Digital Collection
Url ห้องสมุด ศมส.
Url อื่นๆ
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=491348&query=
Annotation
เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง โดยทำการศึกษาชาวชองเฉพาะในตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งยังมีวิธีการรักษาโรคแบบแผนโบราณหรือหมอพื้นบ้านโดยการใช้สมุนไพรในการรักษา เพราะลักษณะสภาพหมู่บ้านของชาวชองเป็นป่าทึบ หรือรักษาโรคโดยการใช้คาถาอาคม เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ชองยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องภูตผีปีศาจ ความเชื่อของชาวชองคือหมอแผนโบราณหรือหมอพื้นบ้านจะทำพิธีกรรมไหว้ครูทุกปี แต่เมื่อมีระบบการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาในชุมชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของชาวชอง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรกลับมาใช้ในทางสาธารณสุขมากขึ้น แม้จะพบปัญหาในการใช้สมุนไพรหลายประการ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการใช้สมุนไพรของประชาชนในการรักษาโรค ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง และเพื่อเป็นการคงดำรงไว้เป็นเอกลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยต่อไป
อ่านต่อ...Author
เจตน์จรรย์ อาจไธสง และนฤดล รัตนบุญส่ง
Imprint
ชลบุรี : สาขาวิชาการจัดการ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 2560
Collection
ThaiLIS Digital Collection
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
เป็นการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์วรรณาและการดำเนินการอนุรักษ์ของชาวชอง ตั้งอยู่ที่ตำบลวังแข้ม หรือเดิมมีชื่อว่า “ตำบลวังจะอ้าย” อาชีพหลักในอดีตของชาวชอง คือ การทำนา ประเพณี ได้แก่ สงกรานต์ ประเพณีเกี่ยวกับข้าว ลอยกระทง งานแต่ง งานบวช วิธีการเดินทาง คือ การเดินทางด้วยเท้า อาหารพื้นบ้าน คือ ขนมจีน อาหารหวาน คือ ลอดช่อง และมีวิธีในการรักษาโรค คือ การใช้หมอพื้นบ้านและไสยศาสตร์ วิถีปัจจุบันของชาวชอง คือ การเลี้ยงสัตว์ชันโรงในสวนผลไม้ และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนโดยการสร้างบ้านชอง ปลูกพืชสมุนไพร เลี้ยงชันโรง แต่ในปัจจุบันอาชีพของชาวชองได้เปลี่ยนไปจากการทำนาคือการหันไปทำสวนผลไม้มากขึ้น และสิ่งที่หายไปพร้อมกับอาชีพหลักในอดีต คือ เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชาวชอง แต่ยังพบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชาวชองที่ยังหลงเหลืออยู่ คือที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี คือ “ข้าวหอมแม่พญาทองดำ” หรือข้าวดำทำยา เดิมชาวบ้านเรียก “ข้าวญา” ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาวชอง จึงควรทำการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองนี้ให้อยู่คงคู่กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
อ่านต่อ...Title
Author
มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส)
Imprint
เชียงใหม่ : มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส),[ม.ป.ป.]
Collection
online download
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
กล่าวถึงประวัติของกลุ่มชนดั้งเดิมในจังหวัดจันทบุรี ตราด ระยองและฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวชอง โดยคำว่า “ชอง” แปลว่า “คน” พูดถึงความเป็นมาและหลักฐานที่ถูกค้นพบในประวัติศาสตร์ที่เป็นร่องรอยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ต่อมาได้ทราบถึงถิ่นกำเนิดของชาวชองจากบทกวีของนักปราญช์ บิดาประวัติศาสตร์ของไทย หรือนายแพทย์ ที่มีการค้นพบเกี่ยวกับชาวชองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษา ลักษณะรูปลักษณ์ทางกายภาพที่แสดงถึงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แม้ในปัจจุบันจะมีการกลืนกันระหว่างชองกับเชื้อสายอื่น ๆ ลักษณะโครงสร้าง รูปร่างหน้าตา นิสัย การตั้งถิ่นฐานของชอง ลักษณะของสภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมและสถานการณ์ปัจจุบัน
อ่านต่อ...ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ