banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเลิง

ชาติพันธุ์ / กะเลิง

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีชื่อที่ตนเองเรียก คือ "กะเลิง" และชื่อที่ผู้อื่นเรียก คือ ข่า, ข่าเลิง และข่ากะเลิง

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

Imprint

เชียงใหม่ : ร่วมเจริญปริ้น, 2562

Collection

Books GN495.6 .ค82 2562

Annotation

หนังสือเล่มนี้มีการเก็บรวมรวบลักษณะการแต่งกายของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย เพื่อแสดงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มตามการแต่งกายที่แตกต่างกัน ลวดลายและสีของเครื่องแต่งกายเป็นสิ่งที่สามารถจำแนกลักษณะเฉพาะของกลุ่ม ตามโทนสีของเสื้อผ้า ลวดลายการปัก อาทิ ชาวกะเลิงในประเทศไทยสวมเสื้อที่ทำจากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีครามผู้หญิงจะมีผ้าสไบทำจากผ้าฝ้ายสีขาวนุ่มผ้าซิ่นที่มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น มัดหมี่ย้อมคราม ลายนาคขอ นาคน้อย เป็นต้น มีการแต่งกายเพื่อไปร่วมพิธีที่สำคัญต่าง ๆ เช่น งานเลี้ยงผีปู่ตา งานเลี้ยงผีหมอเหยา เป็นต้น ผู้ชายของนุ่งกางเกงขายาวทรงกระบอกและมัดเอวด้วยผ้าขาวม้าลายสีขาวสลับดำ ผู้หญิงจะมีการมัดผมด้วยผ้าสีขาว และสวมใส่เครื่องประดับ คือ สร้อยลูกปัดสีขาว ตุ้มหู กำไลแขน

อ่านต่อ...
image

Author

สำนักกิจการชาติพันธุ์

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักกิจการชาติพันธุ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, [2555]

Collection

Books GN495.4.ค39

Annotation

กล่าวถึงความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิต ลักษณะ รูปร่าง ความเชื่อ พิธีกรรม ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ตระกูลภาษาไท-กะได เรียกว่า "กลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง" ซึ่งในอดีตนักสำรวจชาวฝรั่งเศสระบุว่า พบกลุ่มชาติพันธุ์นี้อาศัยอยู่ไม่ไกลจากเมืองแง่อานในเวียดนาม ลุ่มแม่น้ำตะโปน และบนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และในปัจจุบันได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเทือกเขาภูพานในจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ชาวกะเลิงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่ต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ คือ มีการเก็บอาหารจากป่ามาปรุงอาหาร ทำไร่นา หาสมุนไพร และชาวกะเลิงมีความเชื่อ และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผี คือ พิธีเหยา ผีฟ้า และผีน้ำ 

อ่านต่อ...
image

Author

วีระพงศ์ มีสถาน

Imprint

นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548

Collection

Books DS570.ก57ว64 2548

Annotation

เรื่องราวที่นำมาเสนอในสารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยฉบับนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาติพันธุ์กะเลิง 1 ใน 8 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้ดำเนินการวิจัยจากหลายพื้นที่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนำเสนอเรื่อราวของชาวกะเลิงผ่านสารานุกรมฉบับนี้ ชื่อเรียกขานว่า “ข่าเลิง” หรือ “ข้าเลิง” มีความหมายในเชิงดูแคลน ในเอกสารทางราชการจึงเรียกแทนว่า “ไทยกะเลิง” เพื่อสื่อว่ากลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในดินแดนสยามว่าเป็นคนไทย เรื่องราวของชาวกะเลิงโดยตรงไม่ค่อยปรากฏในเอกสารหลักของไทย แต่มีปรากฏในวรรณกรรมของชาวลาวอีสาน คือเรื่องย่าสอนหลาน และนอกจากนี้ในสารานุกรมยังในข้อมูลเกี่ยวกับชาวกะเลิงในด้านอื่น ๆ   อาทิ ประวัติความเป็นมา จำนวนประชากร ที่อยู่อาศัย ภาษา การแต่งกาย ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม เป็นต้น  
 

อ่านต่อ...
image

Author

สุวิไล เปรมศรีรัตน์

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2547

Collection

Research and Thesis P35.ท9อ72 2547

Annotation

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ความรู้สามด้านด้วยกันคือ 1.ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ มีการศึกษาโดยใช้ภาษาพูดของกลุ่มชนต่างๆเป็นเกณฑ์ โดยศึกษาทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน 2. ด้านฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศ 3. การทำแผนที่เพื่อแสดงข้อมูลการกระจายของกลุ่มภาษาต่างๆด้วยสีและสัญลักษณ์บนพื้นที่ นอกจากนั้นยังแสดงการกระจายของภาษาทั้งพื้นที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่ทางภูมิศาสตร์และการปกครองในระดับต่างๆ ว่าภาษานั้นๆมีการใช้มากหรือน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่นกะเลิ้ง โย้ยและพวนจากการสำรวจมีผู้ใช้ภาษานี้ไม่ถึงร้อยละ 1 นับว่าอยู่ในเกณฑ์ผู้ใช้น้อย มีการศึกษาโดยการเก็บข้อมูล การใช้แบบสอบถาม การนำวิทยาการคอมพิวเตอร์มาใช้ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Mr.Greg Lyons และ Mr.Philipp Dill จากสถาบันเอสไอแอล อินเตอร์เนชั่นแนลในการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้งานกับข้อมูลทางภาษาที่ได้ทำการสำรวจและวิจัย

อ่านต่อ...
image

Author

ชาติชาย มุกสง

Imprint

กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999, 2543

Collection

Books DS589.ส1ช63

Annotation

หนังสือสกลนครเล่มนี้ได้นำเสนอประวัติของจังหวัดสกลนครในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นมา ตราประจำจังหวัดและคำขวัญ สภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ การปกครองประชากรและการเมือง การศึกษา ศาสนา สาธารณูปโภคและการบริการ สภาพเศรษฐกิจและอาชีพ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 3 – 5 ได้มีการปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ทำให้ผู้คนจากฝั่งลาวอพยพเข้ามาที่ประเทศไทยเพิ่ม ดังนั้นประชากรชาวสกลนครนอกจากจะมีชาวไทยอีสานดั้งเดิม ในแถบอำเภอเมืองสกลนคร อำเภอพรรณานิคม และอำเภอวาริชภูมิยังมีชาวไทยเผ่าอื่นๆที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ด้วยเช่น กะเลิง ย้อ โย้ย จนเกิดเป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมเดิมกับวัฒนธรรมของชนเผ่าที่โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อยู่ควบคู่กันมาจนถึงปัจจุบัน

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ