เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Title
Author
สุดาวดี เตชานันท์
Imprint
กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555
Collection
Book: DS570.ม8ส735 2555
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเรื่อง “แม้ว” เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ
ของไทย โดยรวบรวมเป็นชุดความรู้ทั้งหมด 4 เรื่อง คือ 1. สภาพทางสังคมวัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์ของความเป็นแม้ว ในเรื่องบุคคลสำคัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ข้อห้ามข้อนิยามสำคัญของกลุ่มชน 2. ตำนานเรื่องฝิ่น การรักษาโรค และพิธีกรรมเฉพาะกลุ่มเครือญาติ 3. คุณค่าทางวัฒนธรรมทางด้านความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างบ้าน การทำนาย การบำบัดรักษา เครื่องมือประกอบพิธีกรรม เพลง และการละเล่น 4. เกร็ดความรู้ความแตกต่างต้นกัญชงและต้นกัญชา ผู้นำแม้วระดับท้องถิ่น ซึ่งหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการอันเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาเผ่าแม้วเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รู้จักกลุ่มชน
บนพื้นที่สูงกลุ่มนี้
Author
สุภางค์ จันทวานิช
Imprint
กรุงเทพฯ : กรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย, 2554
Collection
Books: DS570.ม8ม24 2554
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการอพยพของชาวม้งลาวเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่ยุคสงครามเย็นจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ ลักษณะการอพยพของชาวม้งลาวได้เปลี่ยนจากการหลบหนีภัยสงครามมาเป็นการย้ายถิ่นฐานหลายรูปแบบปะปนกัน ทำให้มีประเด็นในเชิงสิทธิมนุษยชนที่มีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันในแง่สิทธิของคนกลุ่มนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ให้ความสนใจและติดตามนโยบายและการดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มม้งถ้ำกระบอก กลุ่มม้งห้วยน้ำขาว และกลุ่มม้งที่มีสถานะเป็นบุคคลที่ได้รับความห่วงใยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติที่อยู่ในอาคารควบคุมด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดหนองคาย แม้ชาวม้งทุกกลุ่มนี้จะไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย แต่ก็อยู่ในความสนใจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในหมู่ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ ตลอดจนผู้ที่สนใจประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
Title
Author
อุดม เจริญนิยมไพร
Imprint
เชียงใหม่ : สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT), 2549
Collection
Research and Thesis: DS570.ม8อ734 2549
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
งานวิจัยเล่มนี้เป็นการศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูงของประเทศไทย ซึ่งได้ศึกษาองค์ความรู้ จารีตประเพณี ความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชนเผ่าม้งและกะเหรี่ยง ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายชีวภาพที่ยั่งยืน การปรับตัวของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายข้อกฎหมายและกระบวนการพัฒนาที่เข้ามาในชุมชน โดยใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จากการศึกษาพบว่า ประวัติศาสตร์และโครงสร้างของชุมชน ผู้นำตามประเพณี มีความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ต่อการใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
(ดิน น้ำ ป่า สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) อย่างเป็นระบบ มีความคิด ความเชื่อ จารีตประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ
ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้มีปัจจัยที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนทำให้เกิดการกลืนกินวัฒนธรรมของชนเผ่าจนเกือบสูญหาย เกิดจากการพัฒนาที่มาจากภายนอกที่เน้นเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ ศาสนาใหม่ ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ และการเข้ามาสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ส่งผลกระทบทั้งสิ้นต่อการปรับตัวและการต่อต้านของชุมชนในอดีต
Author
มณเฑียร รุ่งหิรัญ
Imprint
[ม.ป.ท. : ม.ป.พ.,ม.ป.ป.]
Collection
Research and Thesis: ML541.ท9ม38 2549
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา "เค่ง" ซี่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทแคนของชาวม้ง โดยศึกษา ณ ตำบลเข็กน้อยอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเรื่องลักษณะทางกายภาพ ระบบเสียง
การสร้างและบทบาทหน้าที่เค่งในสังคมชาวม้ง ผลการศึกษาพบว่า "เค่ง" เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องลม
ที่มีระบบบันไดเสียง 6 เสียงซึ่งโน๊ตตัวที่ 1(F4) และโน๊ตตัวที่ 6 (F3) ห่าง 1 ช่วงเสียง (1 Octave) ลักษณะทางกายภาพของเค่งมี 3 ส่วน ได้แก่ เต้าเค่ง ท่อเสียงและลิ้นทองเหลือง การสร้างเค่งของลุงกะเปา คีรีกุลไพศาล
มีหลายขั้นตอนเริ่มจากการจัดหาวัสดุ เตรียมวัสดุ และสร้างเค่ง การสร้างเค่งต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญอย่างมาก โดยเฉพาะการแต่งลิ้นทองเหลืองเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ เสียงเค่งที่ดีหมายถึงการเป่าเพื่อเลียนเสียงคำพูดได้ชัดเจน บทบาทของเค่งต่อสังคมวัฒนธรรมม้งมี 10 ด้าน ดังนี้ เอกลักษณ์ความเป็นม้ง บทบาททางด้านศิลปะและสุนทรียศาสตร์ บทบาททางด้านพิธีกรรม บทบาทการรวมคนในสังคมม้งให้เป็นหนึ่งเดียวกัน บทบาททางด้านเศรษฐกิจ บทบาททางด้านระบบเครือญาติ บทบาททางด้านการศึกษาและการขัดเกลาทางสังคม บทบาททางด้านวรรณกรรม และการสื่อสาร บทบาททางด้านนันทนาการและการเกี้ยวพาราสี และเค่ง กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม
Author
อะภัย วาณิชประดิษฐ์
Imprint
[กรุงเทพฯ] : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, 2548
Collection
Research and Thesis: DS570.ม8อ646 2548
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
งานวิจัยเล่มนี้กล่าวถึงความเป็นมาในการประกอบพิธีกรรมถือติซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อของม้งบ้านแม่สาใหม่ หมู่ 6 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ –ปุย งานเขียนได้กล่าวถึงม้งในหมู่บ้านว่าเป็นกลุ่มที่เคยอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและย้ายไปอยู่พม่าก่อนที่จะกลับมาตั้งหมู่บ้านกับกลุ่มที่ยังอยู่ในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง สำหรับจุดมุ่งหมายของการทำพิธีถือติก็เพื่อขอให้เทพถือติหรือเทพที่เป็นเจ้าที่ผืนแผ่นดินให้ความคุ้มครองพืช สัตว์เลี้ยงและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติและมนุษย์ ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องการประกอบพิธีกรรมถือติได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
เช่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ม้งได้อาวุธปืนจากทหารญี่ปุ่น ทำให้ไม่กลัวอันตรายจากสัตว์ป่าเท่าเมื่อก่อน การเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ฯลฯ ทำให้พิธีกรรมถือติลดบทบาทสำคัญลง ปัจจุบันม้งบ้านแม่สาใหม่ได้นำความเชื่อเรื่องพิธีกรรมถือติมาปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัยเพื่อใช้ในการอนุรักษ์ป่าเขาต้นน้ำลำธาร
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ