เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
โส้ หรือ โซ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตั้งหลักแหล่งกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร เมื่อเอ่ยถึง ชาวโส้ ที่อาศัยในประเทศไทยมีคำเรียกชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์นี้แตกต่างกัน เช่น “กะโซ่” หรือ “ข่ากะโซ่” มาจากคำว่า “ข่ากะโซ่” อันหมายถึง ข่าพวกหนึ่งในกลุ่มมอญ-เขมร มีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกับพวกข่า ภาษาจะคล้ายคลึงกับภาษาเขมรหรือภาษาส่วยในแถบสุรินทร์และศรีสะเกษ โดยชาวโส้นี้จะอาศัยปนอยู่กับชนพื้นเมืองกลุ่มต่าง ๆ เช่น ย้อ แสกกะเลิง ผู้ไทย ซึ่งมีภาษาพูดแต่ ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันชาวโส้อยู่ใกลัชิดกับคนไทยอีสานมาก ดังนั้นประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิต จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและเด็กรุ่นใหม่จะพูดภาษาไทย, ภาษาไทยถิ่นอีสานได้มากกว่าภาษาโส้
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์โส้ในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์โส้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร รวมทั้งสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์โส้
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ