เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
มอญ
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
สารคดี ปีที่ 27, ฉบับที่ 314 (เม.ย. 2554), หน้า 141-144 : ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
บทความนี้เล่าถึงถิ่นฐานดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมอญ การอพยพเข้ามาในประเทศพม่าตอนใต้ ก่อนที่จะมาก่อตั้งถิ่นฐานยังประเทศไทย ซึ่งชาวมอญที่อพยพเข้ามาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มมอญเก่า หมายถึงคนมอญที่เข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงก่อนรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ดูเหมือนกลุ่มมอญเหล่านี้ถูกผสมกลมกลืนกลายเป็นคนไทยไปหมดแล้ว และกลุ่มมอญใหม่ ซึ่งยังหลงเหลืออัตลักษณ์ความเป็นมอญอยู่บางพื้นที่ เช่น ชุมชนมอญในเขตนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
Year: 2554
Author
องค์ บรรจุน
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 39, ฉบับที่ 4 (ก.พ. 2561), หน้า 42-49 :ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
วัฒนธรรมทวารวดีซึ่งรับอิทธิพลมอญที่พบโดยทั่วไปในภาคกลางแล้ว ยังปรากฏอยู่ในภาคเหนือและใต้ของไทย แต่ที่หลายท่านอาจมองข้ามไป นั่นคือ การค้นพบแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคอีสานของไทยทุกจังหวัด และพบจังหวัดละมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป บางจังหวัดมีมากถึง 7 แห่ง และมีแนวโน้มว่าอาจจะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ในปัจจุบันทวารวดีจะกลืนกลายเป็นไทยร่วมสมัยอยู่โดยทั่วไปแล้ว แต่ยังคงพบร่องรอยอักษรและภาษามอญปะปนอยู่ในภาษาถิ่นอีสานจำนวนมาก
Author
องค์ บรรจุน
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 38, ฉบับที่ 9 (ก.ค. 2560), 44-53 หน้า : ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
คนมอญเชื่อว่าเกิดมาชีวิตหนึ่งควรจะสร้างพระพุทธรูปไว้ในพุทธศาสนาสักองค์ เมื่อเกิดใหม่ชาติหน้าฉันใดจะได้พบพระพุทธศาสนาทุกชาติไป แต่โดยมากแล้วคนที่ไม่ได้ร่ำรวยเงินทองก็มักจะไม่มีโอกาส หรือบ้างก็รีรอเวลาเหมาะสมที่จะได้สร้างและสมโภชให้เอิกเกริกสมฐานะ จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้สร้างหรือได้เพียงเริ่มไว้ทิ้งร้างค้างคากระทั่งตัวตาย จึงตกเป็นหน้าที่ของคนที่ยังอยู่ และกลายเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะต้องทำพิธี “เทาะกะโหย่งจย้าจก์” หมายถึง “ทอดเหรียญลงถาดในพิธีสมโภชพระพุทธรูป” อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพระพุทธรูปอุทิศถวายให้คนตายเพื่อสั่งสมบุญให้ได้พบพระนิพพานอย่างตั้งใจ
Author
องค์ บรรจุน
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (พ.ย. 2560), หน้า 20-27 : ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มหาราชแห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ นอกจากวัฒนธรรมหลักแล้ว ยังทรงตระหนักในความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย
ที่เป็นรากเหง้าสำคัญของภูมิภาคและสังคมไทยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน โดยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงมีรับสั่งให้อนุรักษ์วัฒนธรรมมอญไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลานมอญและชาติไทยสืบไป
Author
เขาบังภู
Imprint
ทางอีศาน ปีที่ 6, ฉบับที่ 68 (ธ.ค. 2560), หน้า 42-47 :ภาพประกอบ
Collection
http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068061
Annotation
บทความนี้เป็นบทความภูมินามวิทยา โดยกล่าวถึงสถานที่ 3 แห่ง คือ ดงบัง บ้านดุง และนาดูนโดยพยายามหาหลักฐานหลายมิติมาแสดง ได้แก่ นิทาน ตำนาน พงศาวดาร เทียบจากรึกโบราณ เทียบหลักฐานทางโบราณคดี เพื่อสนับสนุนร่องรอยชาติพันธุ์ภาษา พร้อมทั้งพิจารณากายภาพที่ตั้ง นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า นครรัฐก่อนสมัยสุโขทัยนั้น คนไทยสยามใช้อักษรมอญ – ภาษามอญในอารยธรรมทวาราวดีด้วย การศึกษา
ภูมินามวิทยานี้จะสามารถนำไปสู่ความจริงในอดีตได้
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ