banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / จีน

ชาติพันธุ์ / จีน

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

จีน

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย รวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์มาสรุปสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยา โดยมีการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่เรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตัวเอง เทียบเคียงกับชื่อเรียกโดยคนอื่น และเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น


 

อ่านต่อ...
image

Author

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งถิ่นฐาน สภาพภายในหมู่บ้าน ลักษณะบ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ โดยใช้ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่คนในใช้เรียกตัวเองหรือต้องการให้สังคมเรียกในชื่อนี้ รวมถึงการค้นคว้าเนื้อหาที่แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สาธารณะมีความรับรู้และเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุไ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

http://www.ias.chula.ac.th/ias/th/Chinese-Studies-Center.php http://www.csc.ias.chula.ac.th/

Annotation

ศูนย์จีนศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับจีนในลักษณะสหสาขาวิชา ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม วัฒนธรรมและภาษา รมทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชาวจีนโพ้นทะเล โดยมุ่งหวังเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ สร้างฐานข้อมูลและองค์ความรู้เรื่องจีนศึกษาที่มีคุณภาพเป็นบริการให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนินความสัมพันธืกับจีนในระดับต่างๆ และเพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านจีนศึกษากับนักวิชาการทั่วโลก
 

อ่านต่อ...
image

Author

อภิญญา นนท์นาท

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 44, ฉบับที่ 2 (เม.ย./มิ.ย. 2561), หน้า 54-66

Annotation

โรงเรียนจีนเป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เป็นสถานที่หล่อหลอมและส่งเสริมอัตลักษณ์ให้แก่ลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเลให้มีความผูกพันกับแผ่นดินแม่และไม่ลืมวัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษ นอกจากนั้นยังมีการสอนภาษาจีน การบัญชี และความรู้ต่างๆ เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนมีทักษะในการประกอบกิจการค้าขาย ช่วยเหลืองานของครอบครัวได้ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาถือเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีผู้อพยพชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนฮกเกี้ยน มีโรงเรียน “เต้าหมิง” เป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกในอำเภอ โดยปรากฎหลักฐานในแบบแจ้งความจำนงตั้งโรงเรียนในปี พ.. 2463 การก่อตั้งโรงเรียนจีนในชุมชนดังกล่าวจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต บทบาททางเศรษฐกิจและสังคมของชาวจีนที่อยู่ในสังคม ผู้เขียนได้ค้นคว้าข้อมูลทั้งที่เป็นเอกสาร ภาพถ่าย และคำบอกเล่าเกี่ยวกับโรงเรียนเต้าหมิง เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในอำเภอตะกั่วป่าในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน
 

อ่านต่อ...
image

Author

สุดารา สุจฉายา

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

สารคดี. ปีที่ 30, ฉบับที่ 354 (ส.ค. 2557), หน้า 148-149

Annotation

บทความนี้เขียนโดยผู้แต่งที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนเซี่ยงไฮ้ เขียนในรูปแบบเรื่องเล่าจากประสบการณ์ชีวิตส่วนตัวและจากการสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใน “ตรอกเซี่ยงไฮ้” ซึ่งเป็นชุมชนเก่าในกรุงเทพฯ ที่ชาวจีนเซี่ยงไฮ้เคยอยู่อาศัย ชาวจีนเซี่ยงไฮ้ที่อพยพมายังประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกมาจากตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นปัญญาชนที่มีการศึกษาเดินทางมาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ส่วนอีกกลุ่มมาจากเมืองหลินโป ส่วนใหญ่มีฝีมือในการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในตรอกเซี่ยงไฮ้นั่นเอง ผู้เขียนยังได้บรรยายเกี่ยวกับอาหารเซี่ยงไฮ้ดั้งเดิมซึ่งอาจไม่คุ้นตาคนไทยในปัจจุบันมากนัก และได้ทิ้งท้ายเกี่ยวกับชาวจีนเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบันว่ามีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์กันไปมากแล้ว ที่เป็นชาวจีนเซี่ยงไฮ้แท้ๆ ก็มีเพียงกลุ่มที่เพิ่งอพยพย้ายถิ่นเข้ามาใหม่นั่นเอง
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ