เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
ไทลื้อ
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
ธัญจิรา ศรีคำ
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ไม่ระบุ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพของสื่อพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่และเปลี่ยนแปลงของพิธีสามปีสี่รวงข้าว 3) ศึกษาบทบาทหน้าที่ทางการสื่อสารของพิธีสามปีสี่รวงข้าวที่มีต่อปัจเจกและชุมชนในอดีตและปัจจุบัน 4) ศึกษาถึงกระบวนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของพิธีสามปีสี่รวงข้าว และ 5) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในกระบวนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดพิธีสามปีสี่รวงข้าว โดยใช้แนวคิดเรื่องสื่อพิธีกรรม แนวคิดเรื่องการสือสารกับการผลิตและผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม ทฤษฎีหน้าที่นิยมและแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ในการศึกษาวิจัยพิธีสามปีสี่รวงข้าวแบ่งออกเป็น 3 ยุค โดยสถานภาพของพิธีสามปีสี่รวงข้าวในยุคอดีต เป็นสื่อพิธีกรรมที่มีความเข้มแข็ง โดยมีความสมบูรณ์ทั้งรูปแบบ เนื้อหา คุณค่าและความหมายอย่างแท้จริง ต่อมาในยุค พ.ศ. 2539 – 2544 ทำการศึกษาที่บ้านหนองบัว จังหวัดน่าน พบว่าพิธีสามปีสี่รวงข้าวอยู่ในสภาพที่เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ เนื่องจากสภาพสังคมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และในยุค พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน ทำการศึกษาที่บ้านล้า อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สถานภาพของสื่อพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวในยุคนี้จึงอยู่ในสภาพที่ข้างนอกเข้มแข็งแต่ข้างในกลวง เนื่องจากรูปแบบและเนื้อหาภายนอกของพิธีกรรมถูกปรับเปลี่ยนไปหลายอย่างตามสภาพสังคม ส่งผลต่อคุณค่าภายในที่ลดลงตามไปด้วย ด้านปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคงอยู่และความเปลี่ยนแปลงของพิธีสามปีสี่รวงข้าว หากพิจารณาจากเกณฑ์ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมแล้ว สามารถจำแนกได้เป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ ความเชื่อ / ความศรัทธาและความรู้ 2) ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชนและการสื่อสารภายในชุมชน และ 3) ปัจจัยายนอกชุมชน ด้านบทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวมีทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ยุค โดยในแต่ละยุคพิธีสามปีสี่รวงข้าวได้ทำหน้าที่ต่อระดับปัจเจกชนที่เหมือนกัน ได้แก่ หน้าที่ในการสร้างอัตลักษณ์ศักดิ์ศรี หน้าที่ในการสร้างความสามัคคีและหน้าที่ในการสร้างความกตัญญูรู้คุณ แต่อย่างไรก็ตามด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้คุณค่าต่าง ๆ ดังกล่าวในแต่ละยุคมีความเข้มข้นลดลง กระบวนการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของพิธีสามปีสี่รวงข้าวและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในกระบวนการผลิตซ้ำฯ ในแต่ละยุคนั้นจะใช้รูปแบบการสื่อสารแบบปากต่อปากในการถ่ายทอดข้อมูลชุมชน รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบันทึกข้อมูลไว้บ้าง ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากการสื่อสารแบบปากต่อปากยุคก่อน ๆ ส่งผลทำให้ผู้รับสารในยุคนี้มีความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมน้อยมาก และตระหนักถึงคุณค่าของพิธีกรรมน้อยลง และจะยิ่งส่งผลต่อการสืบทอดพิธีกรรมในรูปแบบที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไปในอนาคต
Author
มาริ ซากาโมโต
Imprint
book
Collection
Books: ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (Jan./Jun. 2557), หน้า 67-124 : ภาพประกอบสี
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
บทความนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ ตลอดจนวิเคราะห์การใช้ความหมายทางวัฒนธรรมของผ้าทอไทลื้อเพื่อแสดงและสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อเมืองเงินเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในกระบวนการผลิตผ้าทอ และการเลือกสรรผ้าทอที่เป็นเครื่องแต่งกาย เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ โดยเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกันทั้งในด้านสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ สู่ความสัมพันธ์แบบมุ่งเน้นปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการกำหนดนโยบายของรัฐด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์พื้นที่แนวชายแดนไทย – ลาว ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบันผ้าทอไทลื้อกลายเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ทางความคิดของทั้งชาวขมุและไทลื้อ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องช่วงชิงความหมายทางวัฒนธรรมจากใคร
Author
เจษฎ์สุดา ปิ่นศักดิ์
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
book
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดของธุรกิจผ้าทอไทลื้อ
และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทางการตลาดของธุรกิจผ้าทอไทลื้อ ณ ตลาดชายแดนบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการผ้าทอไทลื้อ ณ ตลาดชายแดนบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา จำนวน 37 ราย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง (Structured interview) โดยบูรณาการจากกรอบแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมีวิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อสังเกตพฤติกรรมและเหตุการณ์ เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์และความหมายของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผลจากการวิจัยพบว่า การตลาดของธุรกิจผ้าทอไทลื้อ สามารถวิเคราะห์ได้ตามส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน
คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการผ้าทอไทลื้อ ได้กำหนดกลยุทธ์ ด้วยการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
โดยการสร้างเอกลักษณ์ ลวดลาย ความประณีต และสีสันที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนกับจังหวัดอื่น มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กับผ้าทอมากขึ้น 2) ด้านราคา ผู้ประกอบการมีการกำหนดราคาที่แตกต่างกันไปตามคุณภาพและลวดลายของผ้า 3) ด้านการสถานที่ / ช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ประกอบการกำหนดช่องทางการจัดจำหน่ายไว้ 2 ช่องทาง คือ ช่องทางการจำหน่ายตรงจากผู้ประกอบการสู่ผู้บริโภค และช่องทางที่ผ่านพ่อค้าคนกลางไปยังผู้บริโภค 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีการส่งเสริมการตลาด นอกจากการส่งเสริมในหน่วยงานของรัฐ เช่น การจัดศูนย์การแสดงสินค้า OTOP และงานกาชาดจังหวัด
Author
ธนพงศ์ เด็ดแก้ว
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
Book
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการบทบาทและความเชื่อในกลองปูจาที่ปรากฏ
ในวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ พร้อมทั้งศึกษารูปแบบวงกลองปูจา 3 หมู่บ้าน ในตำบลหย่วน ซึ่งประกอบไปด้วยบ้านธาตุสบแวน บ้านดอนไชยและบ้านหย่วน พบว่า รูปแบบจังหวะและวิธีการบรรเลงยังคงรูปแบบดั้งเดิมสืบทอดต่อกันมา ประกอบด้วย 1) จังหวะปูจา ซึ่งเป็นจังหวะที่มีทำนองช้า มีลีลาการตีนุ่มนวลแต่แฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่ง
มีการประคบเสียงกลองด้วยการใช้ไม้กลองลูบหน้ากลอง ก่อเกิดเป็นลีลา ท่วงท่าในการแสดง 2) จังหวะสะบัดชัย เป็นจังหวะที่มีความเร็วและกระชับกว่าจังหวะปูจา มีลีลาการตีที่สนุกสนาน เพิ่มสีสันของจังหวะด้วยการเคาะขอบกลองก่อให้เกิดเสียงพิเศษขึ้น การตีในลักษณะเช่นนี้ พบได้เฉพาะที่ บ้านธาตุสบแวน ซึ่งเน้นการเคาะขอบกลองปูจา ในจังหวะเบา และบ้านดอนไทย ซึ่งเน้นการเคาะขอบกลองปูจาในจังหวะหนัก ในขณะที่บ้านหย่วนนั้นไม่พบกลวิธีพิเศษดังกล่าว และจากการศึกษายังพบว่า พัฒนาการบทบาทกลองปูจาที่มีต่อสังคมไทลื้อได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในอดีตใช้เพื่อการศึกสงคราม แต่ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่องานประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและประเพณีท้องถิ่นของไทลื้อ
Title
Author
วิชุลดา มาตันบุญ
Imprint
กรุงเทพฯ : นันทพันธ์พริ้นติ้ง, [2560-]
Collection
TX355 .ว62 ล.2
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
“อาหาร unseen ไตลื้อ เล่ม 2 : ตำ ยำ ส้า แอ็บ นึ่ง ลาบ และข้าวบ่ายข้าวโฟ่” ถือได้ว่าเป็นผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติพันธุ์ไตลื้อที่รวมเอาอาหารหายากเข้าไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ จนสามารถนำไปทดลองปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ เพราะวัตถุดิบสำหรับนำมาปรุงอาหารส่วนใหญ่หาง่าย เป็นอาหารและเป็นยาไปในตัว นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ คือมีรูปภาพวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารแต่ละชนิดและวิธีการทำอาหารที่เต็มไปด้วยสีสันดูเสมือนของจริง ช่วยให้ผู้อ่านจดจำและเข้าใจพืชผักแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง และยังเห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทลื้อในด้านการทำอาหารและการแต่งกายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ