banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทยวน

ชาติพันธุ์ / ไทยวน

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทยวน

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อรศิริ ปาณินท์.

Imprint

นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546

Collection

Research and Thesis NA7435.A1อ453 2546

Annotation

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเรือนพื้นถิ่นไทพวนในประเทศไทย เพื่อเน้นถึงลักษณะเด่นของเรือนความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีท้องถิ่นในเรือนซึ่งส่งผลถึงคุณลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนและสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมของเรือนไทพวน โดยการศึกษาในครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากสำรวจภาคสนามของเรือนไทพวน 12 หมู่บ้านในพื้นที่ 8 จังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกของประเทศไทย ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1) ลักษณะเดิมของเรือนพื้นถิ่นไทพวน มีรูปลักษณ์ของเรือนมี 2 ลักษณะ คือ เรือนจั่วแฝด มีเรือนครัวขวางด้านหลัง และเรือนไทพวนแบบโถงโปร่ง ลำหรับผังของหมู่บ้านกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติในแต่ละพื้นที่
2) พัฒนาการของเรือน มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของเรือนอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากเรือนไทยเดิมจั่วแฝด เป็นเรือนจั่วแฝดและเรือนแฝดแบบผสมจั่วปั้นหยา รูปแบบผังพื้นชั้นบนของเรือนมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย สำหรับพื้นที่ชั้นล่างมีการเพิ่มการใช้สอยบางประเภท เช่น ห้องน้ำ, ส้วม, ห้องเก็บของ เป็นต้น
3) แนวโน้มในอนาคต เรือนจั่วแฝดมีโอกาสเลือนหายไปกลายเป็นเรือนจั่วเดี่ยว เพราะสามารถสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดมากกว่า
 

อ่านต่อ...
image

Author

มยุรี ปาละอินทร์

Imprint

มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2543

Collection

Research and Thesis GT4877.ม47 2543

Annotation

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องคองสิบสี่ให้ชัดเจน และเพื่อศึกษาคองสิบสี่ในวิถีชีวิตของชาวไทพวน ต.บ้านผืด อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ผลการวิจัยพบว่าชาวไทยพวนยึดถือปฏิบัติตามคองสิบสี่ พร้อมทั้งนำไปอบรมสั่งสอนลูกหลานในรุ่นหลังต่อไป ในสังคมไทยพวนมี “คอง”เป็นข้อปฏิบัติและแนวทางที่นำมาปฏิบัติร่วมกับศาสนา เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ปกครองบ้างเมือง ข้าราชการ, ประชาชนทั่วไป และคนในครอบครัว ระบบเครือญาติ ดังนั้น “คอง”เป็นเหมือนกฏหมายที่กำหนดหน้าที่ให้ชาวไทพวน นอกจากนี้งานวิจัยยังพบอีกว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่นไม่รู้จัก “คอง”

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ