เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวไทดำ หรือ ไทยทรงดำ ในประเทศไทย มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับความหลากหลายทางภาษาและชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ไทดำ วรรณกรรมพื้นบ้าน ประเพณี สังคม วัฒนธรรมและภาษา กลุ่มชาติพันธุ์
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Title
Author
ไม่ระบุ
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
DS563.5.ท9 ช32
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับชนชาติไท ได้แก่ ไทอาหม ไทอ่ายตอน
ไทพ่าเก ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทดำ ไทขาว ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เวียดนาม ลาว จีน และออสเตรเลีย
Title
Author
ยุกติ มุกดาวิจิตร
Imprint
กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2561
Collection
Books: GR312.ย72 2561
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
วรรณกรรมเรื่อง “ส่งชู้สอนสาว” เป็นวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไตดำในเวียดนาม ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของวรรณกรรมที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะในบริบทของวรรณกรรมไตดำที่มีต่อวงการวรรณกรรมเวียดนาม ความน่าสนใจของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ ผู้เขียนได้เสนอในความนำว่า “ในบรรดาวรรณกรรมไตดำทั้งหมด กล่าวได้ว่า “ส่งชู้สอนสาว” เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับชาวไตดำ ทั้งนี้ถ้าจะเป็นเพราะเนื้อเรื่องที่มีรายละเอียดของเนื้อหาที่ใกล้ชิดกับขีวิตความเป็นอยู่ของคนไตดำในอดีตเป็นอย่างยิ่ง”
Year: 2561
Title
Author
ล้อม เพ็งแก้ว
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 38, ฉบับที่ 10 (ส.ค. 2560), หน้า 76-77
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
บทความนี้ ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ของตนเอง โดยได้กล่าวถึงข้อห้ามของ
ชาวไทดำ คือ “อย่าเฮ็ดบาปแม่หม้าย อย่าย้ายคันนา อย่าป๋ะแม่ฮ้าง” พร้อมทั้งอธิบายความหมายของข้อห้าม
ทั้ง 3 ข้อ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
Author
องค์ บรรจุน
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 39, ฉบับที่ 10 (ส.ค. 2561), หน้า 34-45 : ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
บทความนี้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาและการแต่งกายของชาวไทยทรงดำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้กล่าวถึงลวดลายบนผืนผ้า ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงตัวตน หมู่เหล่า สถานะ และชนชั้นทางสังคม ผ่านความงดงามทางศิลปะที่เต็มไปด้วยจินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัดของชาวไทยทรงดำ
Title
Author
อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา
Imprint
พิษณุโลก : ร้านพิษณุโลกดอทคอม , 2559
Collection
Books: PL4191.N6 อ62 2559
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้เป็นผลการวิจัยส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “ภูมิปัญญาภาษาและการสืบสานภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทภาคเหนือตอนล่าง : กระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น” โดยแบ่งออกเป็น 9 บท ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของไทดำภูมิภาคเหนือตอนล่าง บทที่ 3 ระบบเสียง หน่วยคำ และการสร้างคำ บทที่ 4 คำศัพท์วัฒนธรรมและโลกทัศน์ บทที่ 5 ไวยากรณ์สื่อสาร บทที่ 6 วรรณกรรมสำคัญ บทที่ 7 สถานการณ์ภาษาและแนวทางการสร้างคาวมร่วมมือกับชุมชนในการสืบสานภูมิปัญญาภาษาไทดำ บทที่ 8 แนวทางกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทดำอย่างยั่งยืน และบทที่ 9 บทสรุปและอภิปรายผล
Year: 2559
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ