เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
ไทในอินเดีย
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Title
Author
ทีวีไทย
Imprint
กรุงเทพฯ : องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, 2552
Collection
Audio Visual Materials : CDF 000505
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
กล่าวถึงเรื่องราวของการกลับไปเยี่ยมเยือนในดินแดนอัสสัมของหนึ่งในคนรุ่นใหม่อย่างดำรงพล อินทร์จันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและทีมงาน Spirit of ASIA มีการบอกเล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ เช่น พระราชวัง และมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมสถาบันประวัติศาสตร์และโบราณคดีศึกษา ในเมืองสิพชาการ์ รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย มีการสำรวจพบว่ามีเอกสารต่าง ๆ อย่างเอกสารคัดลอก 300 ฉบับ และหนังสือหายาก 5,000 เล่ม และได้พบกับผู้เชี่ยวชาญเอกสารไทยแปลเป็นภาษาอัสสัมมิส เย หอม บุราโกฮายน์ ชาวไทผ่าเก ผู้เชี่ยวชาญแผนกไทศึกษา ในสถาบันประวัติศาสตร์และโบราณคดีศึกษา รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
Title
Author
ไม่ระบุ
Imprint
[ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 25--]
Collection
Books : DS563.5.ท9ช32
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
กล่าวถึงบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนชาติไท ดังนี้ ขอบฟ้าใหม่ในการบ่งชี้ความเป็นชาติ, เยือนถิ่นไทอาหม ร่วมฉลอง 770 ปี เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า, สิพสาคร เมืองหลวงเก่าของราชอาณาจักรอาหม, กาเลหม่านไต 1999, สถานภาพการวิจัยพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ่, การศึกษาเรื่อง ชนชาติไท ในออสเตรเลีย, งานวิจัยเชิงมานุษยวิทยา ของญี่ปุ่นในเรื่องชนเผ่าไท, ชาวลื้อ คือใคร ย้อนอดีตชาวลื้อในประเทศลาว ไทย และจีน, ไปเยี่ยม ไปยามไทดำ-ไทยขาวเมืองแถน(เดียนเบียนฟู), ปู้ยี, พิธีศพ ชาวไทขาว ณ เมืองลา, สรุปคำบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์และเอกสารไทดำในเวียดนาม, การตั้งชื่อและความหมายทางสังคมสำหรับชื่อที่ตั้งนั้นของเผ่าไตในสิบสิงพันนาของจีน, คนไทในเวียดนาม, ระบบเมืองไทยในเวียดนาม, รีตบ้าน 12 คลองเมือง 14, กวามโตเมือง, อักขระไทดำ, วิวัฒนาการของไท
Author
ทองแถม นาถจำนง
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
Journal : ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 75 (ก.ค. 2561), หน้า 33-38
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
กล่าวถึงคติความเชื่อเรื่อง “แถน” (ของชาวไทสายตะวันออก) กับเรื่อง “ฟ้า” (ของชาวไทสายตะวันออก) เป็นรากเง้าความเชื่อเดียวกัน เมื่อเทียบกับความเชื่อดึกดำบรรพ์เรื่อง “ตัวฟ้า” (ตัวผ่า) ของเจ้าจ้วงเหนือ ในกวางสี ก็มีรากเหง้าเดียวกัน แต่ชาวจ้วงใต้กลับนิยมเรียกว่า “ตัวฟ้า” ว่า “แถน” และในกลุ่มลาว – ไท ที่รับอิทธิพลพุทธศาสนา ส่วนของไทอาหมนั้น แม้จะมีอิทธิพลฮินดูเข้ามาแทรกปะปน แต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่า บูชา “ฟ้า” หรือ “ฟ้าตือจึ้ง” เป็นสิ่งสูงสุด
Author
ทองแถม นาถจำนง
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
Journal : ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 70 (ก.พ. 2561), หน้า 64-69
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
อธิบายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับแถนคำ, แลงดอน, ขุนตุงคำ (ซึ่งน่าจะตรงกับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” ในพงศาวดารล้านช้าง) ที่ส่งคนลงมาปกครองเมืองลุ่ม ตามเอกสารของ ไทมาว ไทใหญ่ ไทอาหมที่ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา สรุปเนื้อความไว้ในบทความวิชาการเรื่อง “ไก่แสง : ไก่เสี่ยงทายตัวแรกในตำนานปรัมปราของชนชาติไท” วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่ง “แถน” เป็นหนึ่งในแก่นวัฒนธรรมไทดึกดำบรรพ์ก่อนรับอิทธิพลพุทธ-พราหมณ์ งานวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของตำนานในฐานะที่เป็นข้อมูลที่ใช้ศึกษาเรื่องชนชาติไท ทั้งในเรื่องความคิด ความเชื่อ การกระจายของไท และความสัมพันธ์ของคนไทกลุ่มต่าง ๆ
Author
ทองแถม นาถจำนง
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
Journal : ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 76 (ส.ค. 2561), หน้า 28-32
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
กล่าวถึงพิธีการสวดบูชา “พูราหลวง” หรือบางครั้งเรียกว่า “พร้าหลวง” ซึ่งนักวิชาการชาวไทยด้านอาหม คิดว่าคือ “ฟ้าหลวง” โดย “หมอหลวง” มีหน้าที่เป็นผู้นำในการดำเนินพิธีกรรม ภายในบทความมีการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดพิธีการสวดบูชา เครื่องที่ใช้ประกอบพิธีการสวดบูชาและลำดับขั้นตอนการสวดบูชาพิธีพูราหลวงหรือพิธีฟ้าหลวงของชาวไทอาหม และเนื่องจากพิธีฟ้าหลวงหรือแถน มีความคล้ายคลึงกับการนับถือผี จึงมีการกล่าวถึง พิธีเมด้ำเมผี โดยอธิบายถึงที่มา และความหมายของพีธีเมด้ำเมผี ตั้งแต่ในอดีตจนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแถน ที่ชาวไทอาหมสืบทอด และอนุรักษ์ไว้ถึงปัจจุบัน
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ