เผยแพร่ 07 ก.ย. 2563
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Title
Author
มูลนิธิกระจกเงา
Imprint
[เชียงราย : มูลนิธิกระจกเงา, ม.ป.ป.]
Collection
Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - VCD 000873
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หมู่บ้านจะแลเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลาหู่ที่ตั้งอยู่ในชุมชนห้วยแม่ทราย ชาวบ้านมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ มีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความเชื่อเรื่องการนับถือบรรพบุรุษและจิตวิญญาณแบบดั้งเดิม เดิมทีหมู่บ้านจะแลตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ภายหลังได้มีการโยกย้ายลงมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันเนื่องจากการจัดสรรที่ดินใหม่ของกรมป่าไม้ ภายในหมู่บ้านจะมีสถานที่เรียกว่า “หอเย่” ตั้งอยู่ใกล้บ้านของผู้นำหมู่บ้าน เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นอกจากพิธีกรรมเกี่ยวกับจิตวิญญาณแล้ว ชาวลาหู่ยังมีพิธีที่แสดงความเคารพต่อผู้เฒ่าผู้แก่ภายในหมู่บ้านนั่นคือพิธีรดน้ำดำหัว ความสามารถที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของชาวลาหู่คือการเป็นนายพราน เนื่องจากชาวลาหู่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันและหากินล่าสัตว์อยู่กับป่า ภายในหมู่บ้านยังมีพิพิธภัณฑ์ชาวเขาที่ศูนย์กระจกเงาร่วมกับชาวบ้านจะแลสร้างขึ้น มีการจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านในอดีต ถือเป็นสถานที่ที่บันทึกและบอกเล่าเรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบันของชาวหมู่บ้านจะแล
อ่านต่อ...Author
สนิท วงศ์ประเสริฐ. กระทรวงมหาดไทย. กรมประชาสงเคราะห์. ศูนย์วิจัยชาวเขา
Imprint
เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยชาวเขา, [25--?]
Collection
SAC Library-Research DS 570.ม7ส37 2522
Url ห้องสมุด ศมส.
Url อื่นๆ
https://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=315
Annotation
การศึกษาถึงสภาพทางสังคมของมูเซอและเศรษฐกิจ การผลิตทางการเกษตร ในหมู่บ้านมูเซอ นายจะนู จะแก ตำบลแม่ตืน อำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มูเซอนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขาสูง มีอาชีพทำการเกษตร ล่าสัตว์ป่า เน้นเพื่อการบริโภค และอาศัยอยู่กันแบบกึ่งหลักแหล่ง - กึ่งเร่ร่อน ลักษณะหมู่บ้านของมูเซอจะแบ่งแยกพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเป็นสัดเป็นส่วน แยกพื้นที่ทำกินออกจากตัวบ้าน มีความเชื่อถือทางศาสนาแบบชาวเขา นับถือผีฟ้า ผีบรรพบุรุษ ผีป่า ผีดอย และผีอื่นๆ เชื่อว่า ผีเหล่านี้เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลก ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น และก็สามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ทั้งโลก รวมถึงคนที่ตายไปแล้ว สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของชาวเขาเผ่ามูเซอ ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรมทั้งสิ้น และค่านิยมในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคม และศาสนาที่ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า การรู้พื้นฐานทางสังคม เป็นแนวทางที่จะพัฒนาการวางแผนโครงการพัฒนาชาวเขา ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
อ่านต่อ...Author
ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 24
Imprint
[พระนคร : โรงพิมพ์ภูไท, 2475]
Collection
Sac Library -- Cremation Books (8th floor) -- DS569.ล63 2475
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
แม้ว่าไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผู้เขียนหนังสือฉบับนี้คือใคร แต่ราชบัณฑิตยสภาได้อนุญาตให้ตีพิมพ์หนังสือฉบับนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นข้อมูลที่ได้รวบรวมและให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมของกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือ ได้แก่ แม้วหรือม้ง เย้าหรือเมี่ยน มูเซอร์หรือลาหู่ ในส่วนของชาวมูเซอร์มีการกล่าวถึงประวัติโดยสังเขปของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ได้แก่ รูปร่างลักษณะ ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร การคมนาคม การประกอบอาชีพ ลัทธิความเชื่อ รวมทั้งภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
อ่านต่อ...Author
อารีรัตน์ จีนะบุญเรือง
Imprint
วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 2560
Collection
ThaiLIS Digital Collection
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของชุมชนและนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของชุมชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำคำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จากการศึกษาพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศพม่าเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบสองฝั่งแม่น้ำคำ ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ ลีซอ อาข่า ลาหู่ จีนฮ่อ จีนยนูนาน ไทยแดง ไทยลื้อ ไทยใหญ่ และม้ง ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตนเอง ชุมชนในบริเวณนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ แม่น้ำ และดินตั้งแต่อดีต โดยอาศัยไม้ในป่าเพื่อนำมาใช้สร้างบ้านเรือน และอาศัยที่ดินในการก่อสร้างบ้านเรือน รวมไปถึงการประกอบอาชีพ และใช้ประโยชน์จากแม่น้ำคำในการอุปโภคบริโภค
อ่านต่อ...Author
สมบัติ บุญคำเยือง
Imprint
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2560
Collection
ThaiLIS Digital Collection
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับชาวนาจีนชนชาติลาหู่ เพื่อวิเคราะห์สถานภาพของกลุ่มในยุคหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ประเด็นแรกได้แก่ การกลายเป็นจีนและชนชาติลาหู่ แต่เดิมชนชาติลาหู่ถูกเรียกว่าชนชาติหลัวเฮย ต่อมาหลัวเฮยถูกยึดครองโดยกองทัพฮั่น เกิดการต่อสู้และพ่ายแพ้จนต้องอพยพไปจัดตั้งรัฐอิสระปกครองตนเอง ในขณะเดียวกัน สังคมวัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเชื่อพุทธศาสนาของชนชาติฮั่น ก็ค่อยๆผสมผสานกับชนชาติหลัวเฮย จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนที่เรียกว่าชนชาติลาหู่ ประเด็นที่สองเรื่อง ระบบไร่นารวมหมู่และชาวนาชนชาติจีนลาหู่ หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 การตั้งถิ่นฐานแบบกึ่งเร่ร่อนของชนชาติลาหู่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นแบบชุมชน มีการบุกเบิกที่ราบกลางหุบเขาเป็นพื้นที่นา จนเรียกได้ว่าชาวนาจีนลาหู่ ประเด็นที่สามคือเรื่องชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีนชนชาติลาหู่ ที่งานวิจัยนี้ใช้เรียกชนชาติลาหู่ที่ถูกผนวกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตามนโยบายสร้างสังคมนิยมใหม่ในชนบท
อ่านต่อ...Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre Library
20 Baromaratchachonnani Rd, Taling Chan, Bangkok 10170
Tel. +662-880-9429 Ext. 3702 - 4 Fax. +662-434-6254 E-mail. library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @SAC-library หรือคลิ๊กเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
SAC Library (8th Floor)
Mon-Fri : 8:30 am – 4:30 pm
Saturday: 9:00 am – 4:00 pm
SukKaiChai Library
Mon-Fri : 8:00 am – 18:00 pm
Saturday: 8:00 am – 17:00 pm
The library will be closed on public holidays and on the dates announced by the government.