banner image

Subject Guide

Home / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

2551

Imprint

เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2551

Collection

Books DS570.L3ค.94 2551

Annotation

กล่าวถึงการประมวลพิธีกรรมความเชื่อ และการพยากรณ์เกี่ยวกับการทำนายชีวิต การศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการทำนายที่ผ่านมาในอดีตผ่านตำราตัวเขียน และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจเรื่องบทบาทการทำนายเกี่ยวกับชีวิตในชีวิตประจำวัน มีการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง  พร้อมสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น ประเพณีพิธีกรรม และวัฒนธรรมต่าง ๆของลัวะ (ปลั้ง) บ้านห้วยน้ำขุ่น อีกทั้งยังมีข้อมูลการทำนายเกี่ยวกับชีวิตที่น่าสนใจของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ คือ ตำราการทำนายชีวิตด้วยกระดูกไก่ และยังมีการทำนายเกี่ยวกับชีวิตอื่น ๆ อีก เช่น การทำนายที่เรียกว่า "ตัวพึ่ง"
 

อ่านต่อ...
image

Author

วรพจน์ สิงหา

Imprint

-

Collection

Journal วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 36, ฉบับที่ 98 (พ.ค./ส.ค. 2558), หน้า 52-60

Annotation

บทความนี้ผู้เขียนต้องการบันทึกถึงเหตุการณ์การอพยพไปยังที่ต่าง ๆ ของพี่น้องเผ่าถิ่น และเผ่าลัวะ ก่อนที่จะมาอาศัยอยู่ที่บ้านหมันขาว และบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ หลังจากการได้รับสัญชาติไทย ซึ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชุมชนบ้านหมันขาว ยังมีการบันทึกเรื่องราวของการรื้อฟื้นประเพณี ความเชื่อ เพื่อรักษาวัฒนธรรมของชนเผ่า รวมถึงการร่วมกันแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ชาวบ้านทุกคน ทุกวัยร่วมใจกันแก้ปัญหาเกิดขึ้นในชุมชน การปรับตัวเตรียมรับมือท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชนเผ่า

อ่านต่อ...
image

Author

คณะทำงานโครงการคลังปัญญางานพัฒนาชาวเขา 53 ปี

Imprint

กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555

Collection

Books DS570.ล4ส73 2555

Annotation

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาเผ่าลัวะ โดยมีเนื้อหาทั้งหมดสามส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงเรื่องสภาพทางสังคมวัฒนธรรมของความเป็นลัวะ บุคคลสำคัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน มารยาททางสังคม ข้อห้ามที่สำคัญ ข้อนิยมกับปฏิทินกิจกรรมทางการเกษตรและสังคม และข้อแนะนำในการเข้าไปในชุมชน ส่วนที่สองกล่าวถึงเรื่องตำนานประวัติศาสตร์ เรื่องราวละว้าในอดีต และความรู้เกี่ยวกับลัวะ และส่วนที่สามกล่าวถึงเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรม ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรม ค่านิยม บทบาทของสตรีในสังคมชาวเผ่าลัวะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเทคนิคการปลูกข้าวไร่แบบใหม่ของลัวะ

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553]

Collection

Audio Visual Materials CDF 000760

Annotation

สื่อโสตทัศน์นี้กล่าวถึงชาวลัวะ หนองน่า ในเมืองน่าน ซึ่งสามารถพบในได้ทั่วไปเกือบทุกอำเภอของจังหวัดน่าน วิถีชีวิตของชาวลัวะส่วนมากมีความผูกพันกับธรรมชาติมากที่สุดและดำเนินชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรมมาตั้งแต่บรรพชน ชาวลัวะในจังหวัดน่านมีทั้งหมด 2 กลุ่มด้วยกันคือกลุ่มไปรและกลุ่มมัล มีลักษณะภาษาใช้สื่อสารกับคล้ายกับขมุและลบีในทางภาษาถือว่าเป็นชาวมอญ ชาวลัวะมีอัตลักษณ์ที่สำคัญมากมายโดยเฉพาะ “พิธีกินดอกแดง” คือพิธีที่เกิดขึ้นหลังจากการไหว้ผีแคว้นและการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นจะมีการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้พืชผลงอกงามซึ่งจะมีดอกไม้สีแดงเบ่งบานอยู่ในไร่ข้าวทำให้มีการนำดอกแดงมาถวายให้กับเจ้าป่าเจ้าเขาเพื่อเป็นการขอขมาและอันเชิญผีเจ้าที่มาสถิตที่ในหนองน่านอีกครั้ง  

อ่านต่อ...
image

Author

คริสตจักรสัมพันธ์ภาคละว้า

Imprint

แม่ฮ่องสอน : คริสตจักรสัมพันธ์ภาคละว้า, [2550]

Collection

Books BV397.ห36

Annotation

หนังสือ “นังซื เชีย จีวิต คริซเตียน ลปุง ลเวือะ (หนังสือเพลงชีวิตคริสเตียนภาษาละว้า)” จัดพิมพ์ที่ สถานอบรมคริสต์เตียนหนองแม่ละ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่อง หนังสือเพลงชีวิตคริสเตียนภาษาละว้าจัดทำเพื่อบันทึกเนื้อเพลง คำร้อง พร้อมด้วยคีย์เพลงประกอบการเล่นดนตรี ในแต่ละบทเพลง รวมทั้งสิ้น 213 บทเพลง อาทิ เยซู ตาว เอะ, ระ พาวม ไม่ พะเยซูจาว, ลปุ ซง่ะ ปัว ตาว เอะ, แปน เนอึม มวน รพาวม, เมอ เกียฮ พัก, ปะอัม ฆวต โปน เปอะ, พะเยซู ป ตึก นึง ไมจ แตะ, รโจะ ดิ รพาวม เป็นต้น
 

อ่านต่อ...

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre Library

20 Baromaratchachonnani Rd, Taling Chan, Bangkok 10170

Tel. +662-880-9429 Ext. 3702 - 4 Fax. +662-434-6254 E-mail. library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @SAC-library หรือคลิ๊กเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library

SAC Library (8th Floor)

Mon-Fri : 8:30 am – 4:30 pm

Saturday: 9:00 am – 4:00 pm

SukKaiChai Library

Mon-Fri : 8:00 am – 18:00 pm

Saturday: 8:00 am – 17:00 pm

The library will be closed on public holidays and on the dates announced by the government.