เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
โชติมา จตุรวงศ์
Imprint
กรุงเทพฯ : อีที พับลิชชิ่ง, 2554
Collection
Books: NA6012.ช93 2554
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมพุทธสถาปัตยกรรมวัดมอญในพม่าตอนล่าง ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมจากอินเดียและตะวันตก ในทางกลับกันมอญส่งอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมและศิลปะในทางพระพุทธศาสนาแก่พม่าตอนบน รวมไปถึงสยามด้วย โดยมีรายละเอียดเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับ วัดมอญในเมาะละแหม่ง สถาปัตยกรรมสังฆิกวิหารมอญ สถาปัตยกรรมวิหาร อุโบสถ หอไตรปิฎก และเจดีย์มอญ สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในเมาะละแหม่งและพม่าตอนล่าง ระหว่างคริสศตวรรษที่ 19 ถึงต้น
คริสศตวรรษที่ 20 (พุทธศตวรรษที่ 24 ถึง 25)
Author
ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
สารคดี ปีที่ 27, ฉบับที่ 314 (เม.ย. 2554), หน้า 141-144 : ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
บทความนี้เล่าถึงถิ่นฐานดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมอญ การอพยพเข้ามาในประเทศพม่าตอนใต้ ก่อนที่จะมาก่อตั้งถิ่นฐานยังประเทศไทย ซึ่งชาวมอญที่อพยพเข้ามาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มมอญเก่า หมายถึงคนมอญที่เข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงก่อนรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ดูเหมือนกลุ่มมอญเหล่านี้ถูกผสมกลมกลืนกลายเป็นคนไทยไปหมดแล้ว และกลุ่มมอญใหม่ ซึ่งยังหลงเหลืออัตลักษณ์ความเป็นมอญอยู่บางพื้นที่ เช่น ชุมชนมอญในเขตนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
Year: 2554
Author
องค์ บรรจุน
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 39, ฉบับที่ 4 (ก.พ. 2561), หน้า 42-49 :ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
วัฒนธรรมทวารวดีซึ่งรับอิทธิพลมอญที่พบโดยทั่วไปในภาคกลางแล้ว ยังปรากฏอยู่ในภาคเหนือและใต้ของไทย แต่ที่หลายท่านอาจมองข้ามไป นั่นคือ การค้นพบแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคอีสานของไทยทุกจังหวัด และพบจังหวัดละมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป บางจังหวัดมีมากถึง 7 แห่ง และมีแนวโน้มว่าอาจจะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ในปัจจุบันทวารวดีจะกลืนกลายเป็นไทยร่วมสมัยอยู่โดยทั่วไปแล้ว แต่ยังคงพบร่องรอยอักษรและภาษามอญปะปนอยู่ในภาษาถิ่นอีสานจำนวนมาก
Author
องค์ บรรจุน
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 38, ฉบับที่ 9 (ก.ค. 2560), 44-53 หน้า : ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
คนมอญเชื่อว่าเกิดมาชีวิตหนึ่งควรจะสร้างพระพุทธรูปไว้ในพุทธศาสนาสักองค์ เมื่อเกิดใหม่ชาติหน้าฉันใดจะได้พบพระพุทธศาสนาทุกชาติไป แต่โดยมากแล้วคนที่ไม่ได้ร่ำรวยเงินทองก็มักจะไม่มีโอกาส หรือบ้างก็รีรอเวลาเหมาะสมที่จะได้สร้างและสมโภชให้เอิกเกริกสมฐานะ จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้สร้างหรือได้เพียงเริ่มไว้ทิ้งร้างค้างคากระทั่งตัวตาย จึงตกเป็นหน้าที่ของคนที่ยังอยู่ และกลายเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะต้องทำพิธี “เทาะกะโหย่งจย้าจก์” หมายถึง “ทอดเหรียญลงถาดในพิธีสมโภชพระพุทธรูป” อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพระพุทธรูปอุทิศถวายให้คนตายเพื่อสั่งสมบุญให้ได้พบพระนิพพานอย่างตั้งใจ
Author
องค์ บรรจุน
Imprint
ไม่ระบุ
Collection
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (พ.ย. 2560), หน้า 20-27 : ภาพประกอบ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มหาราชแห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ นอกจากวัฒนธรรมหลักแล้ว ยังทรงตระหนักในความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย
ที่เป็นรากเหง้าสำคัญของภูมิภาคและสังคมไทยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน โดยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงมีรับสั่งให้อนุรักษ์วัฒนธรรมมอญไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลานมอญและชาติไทยสืบไป
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre Library
20 Baromaratchachonnani Rd, Taling Chan, Bangkok 10170
Tel. +662-880-9429 Ext. 3702 - 4 Fax. +662-434-6254 E-mail. library@sac.or.th
Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library |
Line@ : @SAC-library หรือคลิ๊กเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library |
SAC Library (8th Floor)
Mon-Fri : 8:30 am – 4:30 pm
Saturday: 9:00 am – 4:00 pm
SukKaiChai Library
Mon-Fri : 8:00 am – 18:00 pm
Saturday: 8:00 am – 17:00 pm
The library will be closed on public holidays and on the dates announced by the government.