|
พิธีเปิด (ช่วงกล่าวต้อนรับ)
นายสมหมาย ขวัญทองยิ้ม
รองนายก อบจ. สงขลา
อขจ. สงขลา และ จ.สงขลา ยินดีต้อนรับทุกท่านที่ได้มาร่วมกัน ณ วัดคลองแหแห่งนี้ ถือว่าเป็นการร่วมกันนำวิถีชีวิตของคนภาคใต้ที่มีมาแต่ตั้งเดิม เพื่อถ่ายทอดให้กับอนุชนคนรุ่นหลังให้ได้ทราบ ให้ได้เห็น ให้ได้สืบทอดถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการรวมพลังและร่วมมือการอย่างแข็งขันในการที่จะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น
|
|
พิธีเปิด (ช่วงกล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน)
นายสุชล ชูเพ็ง
ประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้
วัตถุประสงค์การจัดงาน
- เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่มีต่อพสกนิกรชาวภาคใต้ทั้งมวลและทั้งประเทศ
- เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างสมาชิกเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ให้มีความแน่นแฟ้นมากยื่งขึ้น
- เพื่อนำเสนอผลงาน กิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแต่ละแห่งของภาคใต้ให้เป็นที่รู้จักต่อสังคมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
- เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างอิสระให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในแง่มุมต่างๆ
- เพื่อให้สังคมเห็นคุณค่า เกิดจิตสำนึก ตระหนักในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนอย่างยั่งยืนต่อไป
- เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยให้เป็นแนวคิดของประชาชนในการพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป
|
|
พิธีเปิด (ช่วงประธานกล่าวเปิดงาน)
นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
เดิมทีเดียวพอเรานึกถึงพิพิธภัณฑ์ เรานึกถึงภาพโบราณๆ เป็นเรื่องของที่รวบรวมของเก่าบ้างแต่ถึงวันนี้คงไม่ใช่ พิพิธภัณฑ์ที่สำคัญจริงๆที่มีความหมายจริงๆจะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต มีความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุที่อยู่ที่นั่นกับในส่วนของวิถีชีวิตของผู้คน เพราะฉะนั้นจำเป็นจะต้องเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆ และสิ่งหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้ความสำคัญมากๆก็คือเรื่องเด็กและเยาวชน เพราะเป็นโอกาสดีที่เด็กและเยาวชนจะได้มีสถานที่ ที่เอาไว้เรียนรู้รากเหง้าของตัวเอง
|
|
พิธีเปิด (ช่วงการแสดงโนรา)
โดยศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชคลองแห
การแสดงโนรา เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร่ายรำ บทร้องประกอบดนตรี บทเจรจา และบางทีก็มีการแสดงเรื่องด้วย เครื่องดนตรีของโนราคล้ายกับเครื่องดนตรีของหนังตะลุง คือมี ทับ กลอง ปี่ โหม่ง ฉิ่ง และแตระ เครื่องดนตรีเหล่านี้จะใช้ประกอบจังหวะและเสียงร้องให้เข้ากันกับการรำ
|
|
พิธีเปิด (ช่วงการแสดงออกพราน)
โดยศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชคลองแห
พรานเป็นตัวตลกของโนรา เมื่อออกรำจะต้องสวมหน้ากากเรียกว่า ” หน้าพราน ” ท่ารำของพรานนั้นจะเป็นท่ารำที่ตลก และแสดงออกถึงความมั่นคงในท่ารำ เครื่องดนตรีจะตีเตนื่องอย่างหนักแน่น ทำนองเสียงดนตรีการออกพราน เครื่องจะตีว่า ฉับ เทิง ฉัย ฉับ เทิง ไปเรื่อย ๆ ท่ารำของพรานไม่มีท่ารำที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความสามารถของพรานแต่ละคน แต่ขะต้องมีท่ารำพื้นฐาน ดังนี้ ย่อตัวรำ หลังแอ่น ยื่นอกไปด้านหน้ามาก ๆ นิ้วมือที่รำใช้ข่างละ ๑-๒ นิ้ว นิ้วอื่น ๆ ต้องกำไว้ให้หมด การเดินอย่างรีบร้อนต้องเดินไปข้างหน้า ๒ ก้าวและถอยหลัง ๑ ก้าว ท่ารำของพรานมีแปลก ๆ ออกไป เช่น ทำให้ท้องป่องผิดปกติ อาจจะป่องไปด้านซ้ายบ้าง ด้านขวาบ้าง หรือทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเคลื่อนไหวเป็นลอนคลื่น เป็นต้น
|