ศิลปินถิ่นใต้ ใต้ร่มพระบารมี
อ.นครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ ได้เล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีต่อศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ โดยเฉพาะหนังตะลุง และโนรา รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ เช่น หนังขับ บ้านดีหลวง มีความดีด้านบทกลอน และลีลาการแสดง กรมหลวงลพบุรีราเมศ ได้ประทานนามให้ว่าหนังขับ ขุนลอยฟ้าโพยมหน ส่วนหนังกั้น ก็ประทานนามให้ว่า ขุนสุนทรโรจน์ ภายหลังปี ๒๕๐๐ สมเด็จย่าได้เสด็จโดยเรือหลวงจันทบุรี หนังกั้น ทองหล่อได้เข้าไปแสดงถวายในเรือ ซึ่งได้รับความชื่นชมอย่างมากจากสมเด็จย่า ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาสภาคใต้ และประทับที่ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทรงทราบว่าภาคใต้มีการแสดงหนังตะลุงหรือหนังเล็ก ทรงอยากทอดพระเนตรหนังตะลุงกล หนังนครินทร์และคณะจึงได้ไปสอนการเล่นหนังตะลุงกลให้กับข้าราชการที่ปัตตานี เพื่อซ้อมการแสดงเรื่อง ตะลุงสัมมนา เพื่อให้ทอดพระเนตร นอกจากนี้ อ.นครินทร์ ได้เล่าถึงการทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหนังตะลุงเชิงอนุรักษ์จังหวัดสงขลาและจัดประกวดหนังตะลุงเชิงอนุรักษ์ เพื่ออนุรักษ์การแสดงหนังตะลุงแบบดั้งเดิมสงขลา และเพื่อดำเนินรอยตามพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการแสดงหนังตะลุงแต่ละครั้ง และทุกปีในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาชมรมหนังตะลุงจังหวัดสงขลา เล่นหนังตะลุงเพื่อถวายในหลวง โดยนายหนังต่างๆร่วมแสดงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อศิลปินหนังตะลุงภาคใต้ ทำให้สมกับเป็นศิลปินของพระราชา
นายควน ทวนยก นายปี่(เป่าปี่) ได้เล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระพระบรมวงศานุวงศ์มีต่อตนเองว่า ตอนนั้นในหลวงเสด็จมาประทับที่พระตำหนักทักษิณ ตนเองได้ไปเป่าปี่โนราหน้าพระที่นั่ง และมีโอกาสแสดงหน้าพระที่นั่งให้กับพระราชวงศ์หลายพระองค์ การแสดงครั้งที่ทำให้มีความสุขมากที่สุดคือตอนไปรำที่บ้านไม้เกียง (ชายทะเล) เล่นไปแป๊บเดียวฝนตกลงมาแต่ก็ไม่มีใครลุกหนี พระองค์ก็ยังประทับอยู่ ทำให้ซาบซึ้งมาก ความประทับใจครั้งที่ ๒ คือสมเด็จพระเทพรัตฯ เสด็จมาที่จังหวดพัทลุง นายควนได้ไปเป่าปี่โนราหน้าพระที่นั่ง และได้เป่าเพลงที่ตัวเองประยุกต์ขึ้น สมเด็จพระเทพรัตฯ ก็ทรงถามว่าเพลงแต่งขึ้นมาใหม่ใช่ไหม ทรงสนพระทัยและโปรดมาก ครั้งหนึ่งไปแสดงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระราชินีนาถที่บนเขาตันหยง ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับทรงรับสั่งว่าให้กลับไปเป็นครูสอนคนเล่นต่อไป เป็นแรงบันดาลใจให้นายควนสอนคน ตอนนี้เปิดสอนโดยไม่คิดเงิน และรับเล่นหนังตะลุงในงานต่างๆโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
หนังผวน สำนวนทอง ได้กล่าวถึงข้อคิดที่ได้จากนายควน ว่า คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ คือ
๑. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
๒. การตั้งมั่นทำในสิ่งที่ตนเองทำอยู่
๓. ต้องเป็นผู้ให้
ผู้ร่วมเวทีเสวนา
![]() |
นายนครินทร์ ชาทองครูหนังตะลุง
|
![]() |
นายควน ทวนยกนักดนตรีไทยพื้นบ้าน
|
![]() |
นายวุฒิชัย เพชรสุวรรณสมาชิกของภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม |